Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 ปัจจุบันมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกกว่า 2,000 ล้านคน ทั้งปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ทอป เฉพาะในไทยมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน คาดว่าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,100 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า

ประเด็นหลัก








ความต้องการในการใช้งานของผู้บริโภคเปลี่ยนไปก้าวเข้าสู่ยุค 3.0 ตามแนวคิด "โมบายเฟิรสต์" ที่ออกแบบให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง

"เราผ่านยุคโมบาย 1.0 ที่เป็นยุคแรกในการสร้างแอปพลิเคชั่น จนถึงยุคโมบาย 2.0 ที่ช่องทางโมบายถูกใช้สร้างการรับรู้ในแบรนด์ สร้างฐานลูกค้า แต่ปีหน้าเป็นต้นไปเทรนด์มาร์เก็ตติ้งก้าวสู่ยุคโมบาย 3.0 แล้ว เป็นยุคที่ต้องสร้าง Personalize ในการสื่อสารกับลูกค้า ในต่างประเทศเริ่มนำมาใช้แล้ว อาทิ แอปพลิเคชั่นของลาซาด้าอาลีบาบา เฟซบุ๊ก ที่มีการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลส่งตรงไปถึงลูกค้า โดยการนำข้อมูลการใช้งานของแต่ละคนมาวิเคราะห์ เพื่อทำโปรโมชั่นให้แตกต่างตามพฤติกรรมการใช้และความชอบ และเป็นยุคที่หากธุรกิจใดไม่อยู่บนโมบายโอกาสตายมีสูง"

หัวใจสำคัญยุคโมบาย 3.0 คือมุ่งโฟกัสความต้องการของลูกค้า ต้องเข้าใจว่า ลูกค้าเป้าหมายคือใคร มีพฤติกรรมอย่างไร แล้วหาเครื่องมือที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองและหาทางให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้มากที่สุด และสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง ซึ่งทำได้ทั้งแบบ "แมนวล" คือใช้บุคลากรขององค์กรมาเป็นผู้ให้บริการและบริหารจัดการเอง หรือลงทุนใช้เทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยทำงานแบบครบวงจร ซึ่งแม้แต่ SMEs รายเล็กก็ทำได้ เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือสำเร็จรูป มีแพลตฟอร์มในการสร้างแอปพลิเคชั่นได้ฟรี แล้วนำมาประยุกต์กับการใช้คลาวด์และโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีอยู่ เพียงแต่ต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสม




_______________________________





เมกะเทรนด์ "โมบาย 3.0" เสริมจุดแข็งการตลาดออนไลน์


ปัจจุบันมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกกว่า 2,000 ล้านคน ทั้งปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ทอป เฉพาะในไทยมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน คาดว่าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,100 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า

สัดส่วนรายได้ผ่านมือถือพุ่ง

"ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทู ทรี เปอร์สเปกทีฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ "เฟซบุ๊ก" และ "อาลีบาบา" พบว่ามีตัวเลขรายได้ที่เกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือมากถึง 70% และ 51% ของรายได้ทั้งหมดตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าบริการผ่านโมบาย กลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ ภาคธุรกิจจึงต้องตระหนักและปรับกลยุทธ์สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ

ทั้งนี้ "โมบาย" เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ด้านโมบิลิตี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของ "เมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยี" ที่ประกอบไปด้วย 1.โมบิลิตี้2.โซเชียลเทคโนโลยี 3.คลาวด์ และ 4.บิ๊กดาต้าที่สำคัญคือเทรนด์โมบายส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอื่นด้วย เช่น การโฆษณาผ่านมือถือ โมบายเพย์เมนต์ โมบายคอมเมิร์ซ

"ตัวเลขพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้งานสมาร์ทโฟน เมื่อจะเข้าสู่โลกออนไลน์ อาทิ จะเข้าใช้งานอีเมล์ เฟซบุ๊ก 80% ใช้งานผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น มีเพียงแค่ 20% ใช้งานผ่านโมบายบราวเซอร์"

ตอบโจทย์ลูกค้าเป็นรายบุคคล


ความต้องการในการใช้งานของผู้บริโภคเปลี่ยนไปก้าวเข้าสู่ยุค 3.0 ตามแนวคิด "โมบายเฟิรสต์" ที่ออกแบบให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง

"เราผ่านยุคโมบาย 1.0 ที่เป็นยุคแรกในการสร้างแอปพลิเคชั่น จนถึงยุคโมบาย 2.0 ที่ช่องทางโมบายถูกใช้สร้างการรับรู้ในแบรนด์ สร้างฐานลูกค้า แต่ปีหน้าเป็นต้นไปเทรนด์มาร์เก็ตติ้งก้าวสู่ยุคโมบาย 3.0 แล้ว เป็นยุคที่ต้องสร้าง Personalize ในการสื่อสารกับลูกค้า ในต่างประเทศเริ่มนำมาใช้แล้ว อาทิ แอปพลิเคชั่นของลาซาด้าอาลีบาบา เฟซบุ๊ก ที่มีการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลส่งตรงไปถึงลูกค้า โดยการนำข้อมูลการใช้งานของแต่ละคนมาวิเคราะห์ เพื่อทำโปรโมชั่นให้แตกต่างตามพฤติกรรมการใช้และความชอบ และเป็นยุคที่หากธุรกิจใดไม่อยู่บนโมบายโอกาสตายมีสูง"

หัวใจสำคัญยุคโมบาย 3.0 คือมุ่งโฟกัสความต้องการของลูกค้า ต้องเข้าใจว่า ลูกค้าเป้าหมายคือใคร มีพฤติกรรมอย่างไร แล้วหาเครื่องมือที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองและหาทางให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้มากที่สุด และสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง ซึ่งทำได้ทั้งแบบ "แมนวล" คือใช้บุคลากรขององค์กรมาเป็นผู้ให้บริการและบริหารจัดการเอง หรือลงทุนใช้เทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยทำงานแบบครบวงจร ซึ่งแม้แต่ SMEs รายเล็กก็ทำได้ เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือสำเร็จรูป มีแพลตฟอร์มในการสร้างแอปพลิเคชั่นได้ฟรี แล้วนำมาประยุกต์กับการใช้คลาวด์และโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีอยู่ เพียงแต่ต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสม


กระตุ้นให้เข้ามาใช้ซ้ำ

"สิ่งสำคัญการทำแอปบนมือถือคือต้องทำให้ลูกค้าใช้แล้วเข้ามาใช้อีก แล้วนำยอดการใช้เปลี่ยนเป็นรายได้ ทั้งจากการขายหรือหารายได้จากโฆษณา ซึ่งช่องทางนี้สามาถทำให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ได้มากกว่าช่องทางอื่น แต่ปัญหาตอนนี้ที่พบคือ มีหลายหมื่นแอปพลิเคชั่นในไทยที่สร้างขึ้นมาแล้ว ไม่มีคนใช้งานหรือถูกลบทิ้งหลังดาวน์โหลดไว้แล้ว เพราะผู้บริโภคใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง เจ้าของธุรกิจจึงต้องพัฒนาในจุดนี้ แต่ต้องว่าไม่ลืมโมบายแอปฯ เป็นแค่เครื่องมือเสริมในการทำตลาดออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่การทดแทนช่องทางอื่นๆ"

โดยธุรกิจบริการ รีเทล และ มีเดียเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่ต้องปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าตลอดเวลาจะได้ประโยชน์มาก ทั้งยังผลักดันให้การโฆษณาออนไลน์เติบโตขึ้นจากปัจจุบันมีไม่ถึง 1% ของภาพรวมการโฆษณาทั้งหมด ขณะที่ต่างประเทศที่มีถึง 20-30% และเติบโต 40-50% ทุกปี



ปรับให้ทันพฤติกรรมยุคใหม่

ด้าน "วฤตดา วรอาคม" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และสื่อโซเชียล บริษัท แฮริสัน แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า ไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 33 ล้านบัญชี มากติดอันดับ 9 ของโลก แสดงถึงความนิยมในการใช้งานสื่อโซเชียล ขณะที่การใช้งานแอปพลิเคชั่น LINE ก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นมีโอกาสที่จะแซงเฟซบุ๊ก ขึ้นเป็นโซเชียลอันดับ 1 ของไทยได้ ทำให้เห็นว่า โลกโซเชียลเปลี่ยนแปลงตลอด ดังนั้นธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์ตามให้ทัน

โฟกัสตรงจุดแต่ไม่ยัดเยียด

"โซเชียลมีเดียสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการสื่อมากโดยเฉพาะเรื่องโฆษณา ขณะที่ลูกค้าก็ต้องการเห็นเฉพาะสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ อย่างอัลกอริทึ่มใหม่ของเฟซบุ๊กก็จะปรับการนำเสนอข้อมูลที่ตรงใจลูกค้าด้วย จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ที่เก็บไว้ ธุรกิจจึงต้องมองว่า สินค้าหรือบริการของเราช่วยอะไรผู้บริโภคได้บ้าง แล้วให้ข้อมูลเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาให้ได้มากที่สุด"

สื่อออนไลน์มีจุดแข็งคือสามารถวางแผนตลาดไว้ว่า จะให้ผู้รับสารคือใคร และดีไซน์ให้ถูกกับจริตผู้รับสารได้ เทคนิคการทำตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กให้ตรงใจผู้บริโภค โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก คือ 1.เข้าใจกลุ่มตลาดที่ต้องการ 2.สร้างคอนเท้นต์เฉพาะที่จะสื่อในช่องทางนี้ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุด 3.ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นธรรมชาติ เพื่อสร้างความผูกพันกับลูกค้า และให้ความเป็นส่วนตัวกับลูกค้า โดยต้องปรับให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคตลอดเวลา รวมถึงต้องมีทีมงานคอยดูแลลูกค้าบนช่องทางโซเชียลให้มากขึ้น เพราะทุกวันนี้ลูกค้าจำนวนมาก นิยมสอบถามหรือโพสต์ร้องเรียนผ่านทางเฟซบุ๊กหรือเว็บบอร์ดสาธารณะมากขึ้น จนคอลเซ็นเตอร์มีบทบาทน้อยลง

"สิ่งที่น่าจับตามองคือการสร้างไอเดียการสร้างคอนเทนต์วิดีโอและภาพเคลื่อนไหวที่เป็นการโฆษณาแบบไม่ยัดเยียด ซึ่งต้องอาศัยการคิดที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม เพราะหากผู้บริโภครู้สึกว่าถูกยัดเยียดข้อมูลจะกลายเป็นผลเสียแทน โดยแต่ละแบรนด์ต้องหมั่นสร้างคอนเทนต์เพื่อเรียกคนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ เช่น การสร้าง Engagement ที่ดี คือ คัดเลือกภาพที่ดูดีเพียงภาพเดียว ที่ต้องสื่อในสิ่งที่คนเห็นแล้วชอบ แล้วแชร์ต่อให้กับเพื่อน ๆ ของเขา"




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441613357

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.