Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2558 Nexus 6P นั้น GOOGLE เองก็ได้ประโยชน์จากการจับมือกับหัวเว่ยไม่ใช่น้อย เพราะหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ความต้องการหลายๆ อย่างของกูเกิลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการรุกคืบในตลาดจีน

ประเด็นหลัก








 ข่าวลือเรื่องการให้บริษัทสัญชาติจีนอย่างหัวเว่ยรับหน้าที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Nexus ของกูเกิลเริ่มดังขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคำถามว่า ทำไมต้องเป็นหัวเว่ยนั้น อาจเป็นผลมาจากความสำเร็จของการพัฒนาสมาร์ทโฟน Mate และ P Series ที่เข้าไปเจาะตลาดยุโรปได้สำเร็จ และทำให้หัวเว่ยเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไฮ-เอนด์จากซีกโลกตะวันตก และมีแต้มต่อมากพอที่จะต่อกรกับซัมซุง (Samsung) แบรนด์จากเกาหลีใต้ชื่อดัง
     
       นอกจากนี้ การรับผลิตสมาร์ทโฟนให้แก่กูเกิลยังทำให้หัวเว่ยมีโอกาสรุกคืบเข้าตลาดสหรัฐอเมริกาได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ชื่อของหัวเว่ยในระดับโลกได้รับการการันตีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
     
       เพราะหากย้อนกลับไปดู Nexus 6 ตัวก่อนหน้า Nexus 6P นั้น มีการวางจำหน่ายใน 28 ประเทศทั่วโลก ทั้งในสหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย-แปซิฟิก และอินเดีย
     
       ส่วนกูเกิลเองก็ได้ประโยชน์จากการจับมือกับหัวเว่ยไม่ใช่น้อย เพราะหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ความต้องการหลายๆ อย่างของกูเกิลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการรุกคืบในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่กูเกิล และบริษัทไอทีสัญชาติสหรัฐอเมริกาหลายๆ แห่งต้องเจอต่อการปิดกั้นอย่างหนัก
     
       การจับมือกับหัวเว่ย ไม่เพียงแต่ทำให้กูเกิลสามารถนำบริการของตนเอง เช่น จีเมล (Gmail) กูเกิลแมปส์ (Google Maps) ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถใช้งานได้บนแผ่นดินจีนกลับเข้าไปตีตลาดได้เท่านั้น แต่ยังทำให้ลูกค้าชาวจีนสามารถเข้าถึงแอปตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานด้วย งานนี้จึงอาจสรุปได้ว่า วิน-วินทั้งสองฝ่ายเลยก็ว่าได้








_____________________________________________



วิเคราะห์ Nexus 6P วิน-วิน ทั้งหัวเว่ย และกูเกิล



        หลังการเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ยอดเยี่ยมอีกงานหนึ่งของกูเกิล (Google) กับ Nexus 5X และ 6P รวมถึงแอนดรอยด์เวอร์ชัน 6.0 มาร์ชเมลโล เมื่อวันอังคารที่ 29 กันยายนที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐอเมริกา สิ่งที่น่าจับตามองเบื้องหลังภาพความสำเร็จในงานดังกล่าวก็คือ ชื่อของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่รับหน้าที่ผลิตสมาร์ทโฟนให้แก่กูเกิลในครั้งนี้อย่าง “หัวเว่ย” (Huawei) และ “แอลจี” (LG)
     
       แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานนี้เป้าสายตาตกอยู่ที่ “หัวเว่ย” ในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Flagship อย่าง Nexus 6P มากกว่าแอลจี ซึ่งปัจจุบันหัวเว่ยเป็น แบรนด์สมาร์ทโฟนจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งอันดับ 4 ของโลก และมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก
     
       โดยภายในงานแถลงข่าวเปิดตัว จะพบว่า กูเกิลค่อนข้างใช้เวลาสำหรับการ “โชว์ออฟ” เทคโนโลยีจากกล้องของ Nexus 6P ผลงานการผลิตของหัวเว่ย มากเป็นพิเศษว่ามันสามารถถ่ายภาพในที่ร่ม รวมถึงภาพในที่มีแสงน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีการระบุว่า เป็นกล้องที่ดีที่สุดที่เคยใส่เข้ามาในสมาร์ทโฟนของ Nexus เลยทีเดียว (สำหรับกล้องที่มาใน Nexus 6P นั้น กล้องหน้าถ่ายภาพได้ที่ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลังอยู่ที่ 12 ล้านพิกเซล)
     
       นอกจากนั้น ยังมีการเปรียบเทียบคุณภาพภาพถ่ายระหว่าง Nexus 6 ตัวเก่า, ไอโฟน 6s และ Nexus 6P ด้วย

วิเคราะห์ Nexus 6P วิน-วิน ทั้งหัวเว่ย และกูเกิล
ภาพจากกูเกิล

        ข่าวลือเรื่องการให้บริษัทสัญชาติจีนอย่างหัวเว่ยรับหน้าที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Nexus ของกูเกิลเริ่มดังขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคำถามว่า ทำไมต้องเป็นหัวเว่ยนั้น อาจเป็นผลมาจากความสำเร็จของการพัฒนาสมาร์ทโฟน Mate และ P Series ที่เข้าไปเจาะตลาดยุโรปได้สำเร็จ และทำให้หัวเว่ยเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไฮ-เอนด์จากซีกโลกตะวันตก และมีแต้มต่อมากพอที่จะต่อกรกับซัมซุง (Samsung) แบรนด์จากเกาหลีใต้ชื่อดัง
     
       นอกจากนี้ การรับผลิตสมาร์ทโฟนให้แก่กูเกิลยังทำให้หัวเว่ยมีโอกาสรุกคืบเข้าตลาดสหรัฐอเมริกาได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ชื่อของหัวเว่ยในระดับโลกได้รับการการันตีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
     
       เพราะหากย้อนกลับไปดู Nexus 6 ตัวก่อนหน้า Nexus 6P นั้น มีการวางจำหน่ายใน 28 ประเทศทั่วโลก ทั้งในสหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย-แปซิฟิก และอินเดีย
     
       ส่วนกูเกิลเองก็ได้ประโยชน์จากการจับมือกับหัวเว่ยไม่ใช่น้อย เพราะหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ความต้องการหลายๆ อย่างของกูเกิลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการรุกคืบในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่กูเกิล และบริษัทไอทีสัญชาติสหรัฐอเมริกาหลายๆ แห่งต้องเจอต่อการปิดกั้นอย่างหนัก
     
       การจับมือกับหัวเว่ย ไม่เพียงแต่ทำให้กูเกิลสามารถนำบริการของตนเอง เช่น จีเมล (Gmail) กูเกิลแมปส์ (Google Maps) ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถใช้งานได้บนแผ่นดินจีนกลับเข้าไปตีตลาดได้เท่านั้น แต่ยังทำให้ลูกค้าชาวจีนสามารถเข้าถึงแอปตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานด้วย งานนี้จึงอาจสรุปได้ว่า วิน-วินทั้งสองฝ่ายเลยก็ว่าได้

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000110268&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+2-10-58&utm_campaign=20151002_m127620278_Manager+Morning+Brief+2-10-58&utm_term=_E0_B8_A7_E0_B8_B4_E0_B9_80_E0_B8_84_E0_B8_A3_E0_B8_B2_E0_B8_B0_E0_B8_AB_E0_B9_8C+Nexus+6P+_E0_B8_A7_E0_B8_B4_E0_B8_99-_E0_B8_A7_E0_B8_B4_E0_B8_99+_E0_B8_97_E0_B8_B1_E0_B9_89_E0_B8_87_E0_B8_AB_E0_B8_B1_E0_B8_A7_E0_B9_80_E0_B8_A7_E0_B9_88_E0_B8_A2+_E0_B9_8
     

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.