Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2558 (บทความ) หากประเทศไทยมีทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียว (Single Internet Gateway) // หากมีการตรวจดักข้อมูลตรงกลางผ่าน Gateway การจะอ่านข้อความได้ ย่อมต้องอาศัยการประมวลผลเพื่อถอดรหัส ซึ่งมักจะมีค่า ใช้จ่ายสูงตามมา

ประเด็นหลัก








 หากแต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้งานในปัจจุบันมักจะมีการเข้ารหัสเพื่อให้ปลายทางสามารถอ่านออกได้เท่านั้น หากมีการตรวจดักข้อมูลตรงกลางผ่าน Gateway การจะอ่านข้อความได้ ย่อมต้องอาศัยการประมวลผลเพื่อถอดรหัส ซึ่งมักจะมีค่า ใช้จ่ายสูงตามมา ดังนั้นประเด็นนี้ คงจะขึ้นอยู่กับการลงทุน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย และไม่ว่าจะมีระบบ Single Gateway หรือไม่การดักฟังก็เป็นสิ่งที่กระทำได้อยู่แล้ว มิติด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และความเร็วของระบบเครือข่าย อันนี้คงจะเป็น อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนกังวลกันว่า การนำเทคโนโลยีหรือระบบนี้มาใช้ จะทำให้ระบบเครือข่ายช้าลงจนทำให้เกิดปัญหาของเศรษฐกิจใน ยุคดิจิตอลที่พึ่งพาอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมากหรือไม่ เช่นเดียวกันกับด้านอื่น ในมิตินี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ แม้จะเป็นการรวมศูนย์ทางเข้าออกทางเดียว แต่ในทางปฏิบัติ ทางเข้าออกนี้อาจจะมีขนาดใหญ่มาก เหมือนประตูขนาดใหญ่ที่มีผู้คนผ่านเข้าออกได้เป็นล้านล้านคนพร้อมกัน ย่อมจะไม่ช้าอย่างแน่นอน แต่การลงทุนเพื่อสร้างและดูแลประตูเข้าออกขนาดใหญ่นี้ ย่อมจะสูงตามไปด้วย









_______________________________________




หากประเทศไทยมีทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียว (Single Internet Gateway)


„หากประเทศไทยมีทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียว (Single Internet Gateway) อยากจะเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่าน มาลองทำความเข้าใจกันว่า Single Gateway คืออะไร หากประเทศไทยมีการนำแนวคิดนี้มาใช้ จะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 2:25 น. ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ กระแสการต่อต้านการรวมศูนย์ระบบอินเทอร์เน็ตประเทศไทย หรือ Single Gateway ค่อนข้างมีการแสดงออกที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นัดรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังโดยพร้อมใจกันไปเข้าเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เว็บไซต์เหล่านั้นถูกโจมตีจากการติดต่อเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถใช้งานไปชั่วขณะหนึ่ง จากพฤติกรรมดังกล่าว คงจะเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีความหวาดกลัวว่า หากประเทศไทยมีการรวมศูนย์ทางออกอินเทอร์เน็ต โลกออนไลน์ของเราอาจจะไม่น่าอยู่อีกต่อไป สิ่งที่เคยทำในปัจจุบัน อาจจะทำไม่ได้อีกต่อไปหรือไม่ ในวันนี้ผมจึงอยากจะเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่าน มาลองทำความเข้าใจกันว่า Single Gateway คืออะไร หากประเทศไทยมีการนำแนวคิดนี้มาใช้ จะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Gateway คืออะไร หากแปลตามคำศัพท์ Gateway ก็คือประตูทางออกของบ้านเรา เมื่อใช้รวมกับคำว่า Single ซึ่งมีนัยว่าหนึ่งเดียว ก็จะมีความหมายว่า การรวมศูนย์ให้เข้าออกได้เพียงทางเดียว ในกรณีของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การรวมศูนย์เข้าออกระหว่างระบบเครือข่ายภายในประเทศกับระบบเครือข่ายภายนอก (อินเทอร์เน็ต) ให้ต้องทำผ่านช่องทางที่กำหนดหรือควบคุมเท่านั้น ซึ่งแนวคิดนี้มีวิธีการดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบแล้วแต่เทคโนโลยีที่จะเลือกใช้ ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงวิธีการในเชิงเทคนิค แต่จะขอกล่าวถึงผลที่อาจเกิดขึ้นได้ในมุมมองต่าง ๆ ดังนี้ มิติด้านความมั่นคง คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการรวมศูนย์ทางเข้าออกนั้น จะทำให้การควบคุมหรือตรวจตราทำได้ง่าย เปรียบเหมือนกับการที่มีทางเข้าออกทางเดียว การติดตั้งกล้องวงจรปิดหรือการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอด ภัยมาคอยเฝ้าระวัง ก็ย่อมสะดวกกว่าการที่มีทางเข้าออกหลายทาง อย่างน้อยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องย่อมจะทำงานได้ง่ายขึ้น ในแง่ของอินเทอร์เน็ต การจะปิดกั้นไม่ให้มีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ย่อมจะทำได้สะดวกขึ้น และการจะตรวจจับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการป้องปรามเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นก็ทำได้ง่ายกว่าการมีหลากหลายเส้นทางเข้าออกอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็มีการมองต่างมุมในเชิงเปรียบเทียบว่า หากถนนทุกเส้นมีการตั้งด่านตรวจแล้วผู้ร้ายอาจจะไม่วิ่งผ่านถนนโดยตรงให้ถูกตรวจ หากคิดว่าคนไทยสักครึ่งประเทศ (30 ล้านคนโดยประมาณ) ต้องผ่าน การตรวจนี้ ในขณะที่ผู้ร้ายซึ่งคงจะเป็นคนส่วนน้อยอาจจะไม่ผ่านมาให้ตรวจ จะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าหรือไม่ มิติด้านความเป็นส่วนตัว หลายคน กลัวว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถดักฟังข้อมูลของเราที่วิ่งเข้าออกอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และวิธีการที่เลือกใช้ การจะดักฟังข้อมูลทุกอย่างเป็นสิ่งที่กระทำ ได้ หากแต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้งานในปัจจุบันมักจะมีการเข้ารหัสเพื่อให้ปลายทางสามารถอ่านออกได้เท่านั้น หากมีการตรวจดักข้อมูลตรงกลางผ่าน Gateway การจะอ่านข้อความได้ ย่อมต้องอาศัยการประมวลผลเพื่อถอดรหัส ซึ่งมักจะมีค่า ใช้จ่ายสูงตามมา ดังนั้นประเด็นนี้ คงจะขึ้นอยู่กับการลงทุน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย และไม่ว่าจะมีระบบ Single Gateway หรือไม่การดักฟังก็เป็นสิ่งที่กระทำได้อยู่แล้ว มิติด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และความเร็วของระบบเครือข่าย อันนี้คงจะเป็น อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนกังวลกันว่า การนำเทคโนโลยีหรือระบบนี้มาใช้ จะทำให้ระบบเครือข่ายช้าลงจนทำให้เกิดปัญหาของเศรษฐกิจใน ยุคดิจิตอลที่พึ่งพาอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมากหรือไม่ เช่นเดียวกันกับด้านอื่น ในมิตินี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ แม้จะเป็นการรวมศูนย์ทางเข้าออกทางเดียว แต่ในทางปฏิบัติ ทางเข้าออกนี้อาจจะมีขนาดใหญ่มาก เหมือนประตูขนาดใหญ่ที่มีผู้คนผ่านเข้าออกได้เป็นล้านล้านคนพร้อมกัน ย่อมจะไม่ช้าอย่างแน่นอน แต่การลงทุนเพื่อสร้างและดูแลประตูเข้าออกขนาดใหญ่นี้ ย่อมจะสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการสังเกตและพยากรณ์ว่าความต้องการความเร็วอินเทอร์ เน็ตนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกหกเดือน หากเป็นไปตามนี้ หมายความว่าประเทศเราอาจจะต้องขยายประตูเข้าออกนี้เป็นสองเท่าทุกหกเดือนด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวคิดบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้ออกมาอธิบายถึงเทคโนโลยีที่จะใช้หรือวิธีการดำเนินการที่ชัดเจน เราคงจะยังสรุปไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์ที่ 1001Academy (โดยการ scan QR code ที่แนบมานี้). ผศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/353066

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.