Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 ขณะที่จำนวนสติ๊กเกอร์ที่ผู้ประกอบการซื้อจากสำนักงาน กสทช. เพื่อนำไปติดที่กล่องรับสัญญาณ (เซตท็อปบ็อกซ์) ณ วันที่18 ต.ค. 2558 มีทั้งสิ้น 15,439,012 ดวง เมื่อหักยอดคูปองที่ประชาชนนำมาใช้สิทธิ์แล้ว เท่ากับมีเซตท็อปบ็อกซ์ค้างสต๊อกในมือผู้ขายถึง 7,247,873 กล่อง

ประเด็นหลัก





แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบประมาณในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลที่ได้รับอนุมัติมาอยู่ที่ 15,800 ล้านบาท สำหรับแจกคูปองส่วนลดเพื่อแลกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิทัล มูลค่า 690 บาท 22 ล้านครัวเรือน แต่มีครัวเรือนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน 13.72 ล้านครัวเรือน มีผู้นำคูปองมาใช้สิทธิ์ 8.19 ล้านฉบับ โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2558 มีคูปองที่หมดอายุ 7.67 ล้านใบคงเหลือที่ยังใช้สิทธิ์ได้อีก 6.04 ล้านใบ




ขณะที่จำนวนสติ๊กเกอร์ที่ผู้ประกอบการซื้อจากสำนักงาน กสทช. เพื่อนำไปติดที่กล่องรับสัญญาณ (เซตท็อปบ็อกซ์) ณ วันที่18 ต.ค. 2558 มีทั้งสิ้น 15,439,012 ดวง เมื่อหักยอดคูปองที่ประชาชนนำมาใช้สิทธิ์แล้ว เท่ากับมีเซตท็อปบ็อกซ์ค้างสต๊อกในมือผู้ขายถึง 7,247,873 กล่อง

ด้านนายฉันทพัทธ์ ขำโคกกรวด ผู้อำนวยการสำนักการพัสดุและบริหารทรัพย์สิน สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า การจ่ายเงินค่าคูปองเข้าระบบแล้ว 7.4 ล้านฉบับ จากกว่า 8 ล้านฉบับที่มีการนำมาใช้สิทธิ์ ซึ่งได้เร่งตรวจสอบจนเบิกจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการได้เกือบครบแล้ว มีค้างจ่าย 7-8 แสนฉบับเท่านั้นที่ต้องส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม













________________________________






ผู้ค้าเซตท็อปบ็อกซ์ดิ้นเคลียร์สต๊อก ลงขันแชร์ค่าขนส่ง-แบ่งพื้นที่แลกคูปองทีวีดิจิทัล


ผู้ค้า "เซตท็อปบ็อกซ์" ดิ้นอีกเฮือก แก้ปัญหาสินค้าค้างสต๊อกบานเบอะ ยอดซื้อสติ๊กเกอร์โครงการแจกคูปองทะลุ 15 ล้านกล่อง แต่แลกซื้อจริง 8.19 ล้าน หมดอายุแล้ว 7.6 ล้านฉบับ "กสทช." ชงแจกคูปองอีก 10 ล้าน เพิ่ม "บ้านสร้างใหม่-บ้านพักข้าราชการ-ชุมชนแออัด" ฟาก "ชมรมผู้ประกอบการ" รับลูกผนึกกำลังลงขันค่าขนส่งเอง-แบ่งพื้นที่ทำตลาด

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบประมาณในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลที่ได้รับอนุมัติมาอยู่ที่ 15,800 ล้านบาท สำหรับแจกคูปองส่วนลดเพื่อแลกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิทัล มูลค่า 690 บาท 22 ล้านครัวเรือน แต่มีครัวเรือนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน 13.72 ล้านครัวเรือน มีผู้นำคูปองมาใช้สิทธิ์ 8.19 ล้านฉบับ โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2558 มีคูปองที่หมดอายุ 7.67 ล้านใบคงเหลือที่ยังใช้สิทธิ์ได้อีก 6.04 ล้านใบ




ขณะที่จำนวนสติ๊กเกอร์ที่ผู้ประกอบการซื้อจากสำนักงาน กสทช. เพื่อนำไปติดที่กล่องรับสัญญาณ (เซตท็อปบ็อกซ์) ณ วันที่18 ต.ค. 2558 มีทั้งสิ้น 15,439,012 ดวง เมื่อหักยอดคูปองที่ประชาชนนำมาใช้สิทธิ์แล้ว เท่ากับมีเซตท็อปบ็อกซ์ค้างสต๊อกในมือผู้ขายถึง 7,247,873 กล่อง

ด้านนายฉันทพัทธ์ ขำโคกกรวด ผู้อำนวยการสำนักการพัสดุและบริหารทรัพย์สิน สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า การจ่ายเงินค่าคูปองเข้าระบบแล้ว 7.4 ล้านฉบับ จากกว่า 8 ล้านฉบับที่มีการนำมาใช้สิทธิ์ ซึ่งได้เร่งตรวจสอบจนเบิกจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการได้เกือบครบแล้ว มีค้างจ่าย 7-8 แสนฉบับเท่านั้นที่ต้องส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม

ชงแจกคูปองเพิ่ม 10 ล.ฉบับ

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กำลังรวบรวมแนวทางการแจกคูปองส่วนลดรอบใหม่เข้าที่ประชุม กสทช. เดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้เริ่มเตรียมกระบวนการแจกภายในสิ้นปี โดยมูลค่ายังอยู่ที่ 690 บาท/ครัวเรือน และใช้วงเงินที่เหลือ ซึ่งสำนักงาน กสทช.ประเมินว่าจะเหลือประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นจะแจกเพิ่ม คือ 1.กลุ่มรักษาสิทธิ์และคืนสิทธิ์ เป็นกลุ่มที่อยู่ในข่ายได้รับแจกคูปองรอบก่อน แต่คูปองไม่ถึงมือ มีการชำรุดสูญหายหรือค้างที่ไปรษณีย์มี 1.45 ล้านครัวเรือน 2.กลุ่มที่ได้รับสิทธิ์เพิ่ม คือกลุ่มที่มีทะเบียนบ้านหลัง 16 ก.ย. 2557 หรือมีทะเบียนบ้านแต่ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของบ้าน รวม 3.62 ล้านครัวเรือน และ 3.กลุ่มบ้านเช่า ชุมชนแออัดที่ไม่มีทะเบียนราษฎร และต้องลงทะเบียนแสดงตนยืนยันสิทธิ์มี 6.92 ล้านครัวเรือน

และในการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอให้แจกเพิ่มกลุ่มที่ 4 คือ ผู้ด้อยโอกาส, องค์กรสาธารณะ รวมการเยียวยาครัวเรือนแอนะล็อกที่ตกค้างก่อนการยุติทีวีแอนะล็อกด้วย

"กลุ่ม 1 และ 2 มีฐานข้อมูลน่าจะดำเนินการได้ก่อน ส่วนกลุ่ม 3 และ 4 ต้องขอจากหน่วยงานอื่นและสำรวจเพิ่มเติม ซึ่งการแจกรอบนี้เน้นให้คนที่ต้องการใช้สิทธิ์ ซึ่งบางกลุ่มอาจต้องมีกระบวนการยืนยันความต้องการใช้สิทธิ์ก่อน"

ผู้ประกอบการจับมือบุกตลาดเอง

ด้านนายสมชายเปรื่องวิริยะกรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟมิลี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และประธานชมรมผู้ประกอบการกล่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีภาคพื้นดิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เริ่มชัดเจนว่ากสทช.จะแจกคูปองลอตใหม่ เพื่อกระจายให้ครบทั้ง 22 ล้านครัวเรือนทำให้ผู้ประกอบการกว่า 10 ราย ในชมรมร่วมกันวางแผนการนำเซตท็อปบ็อกซ์ไปถึงผู้บริโภคให้ง่ายที่สุดได้อย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาคูปองส่งไม่ถึง หรือสถานที่แลกกล่องอยู่ห่างไกล

โดยในเบื้องต้นชมรมจะให้สมาชิกร่วมกันลงทุน เพื่อตั้งเป็นงบประมาณในการขนส่งกล่องทีวีดิจิทัล เมื่อคูปองเริ่มแจกก็จะเจาะไปที่กลุ่มบ้านข้าราชการกว่า 1 แสนหลังคาเรือนทั่วประเทศเป็นกลุ่มแรก เพราะที่อยู่ชัดเจนที่สุด โดยผู้ประกอบการจะนำกล่องที่มีกระจายส่งไปตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้งบประมาณกลาง และมีคณะกรรมการเป็นผู้จัดเส้นทางขนส่งเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ก่อนขยายไปในกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มบ้านเช่า และชุมชนแออัด ตามแผนของ กสทช.

"เพื่อไม่ให้มีปัญหาเหมือนครั้งที่แล้ว ชมรมจึงประชุมกันเพื่อหาทางออก และเสนอขอเป็นตัวช่วยให้คูปองทีวีดิจิทัลแลกได้ง่ายขึ้นไปยัง กสทช. เพราะผู้ประกอบการแต่ละรายมีของค้างสต๊อกเยอะ รวมแล้วน่าจะกว่า 3 ล้านกล่อง เท่าจำนวนคูปองที่หมดอายุ รวมกับที่ยังส่งไม่ถึงผู้รับ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของพวกเรา โดยเรายินดีร่วมมือกับ กสทช.เต็มที่ ตอนนี้ข่าวที่ว่า กสทช.จะแจกคูปองลอตใหม่ดังไปถึงจีนแล้ว จึงมีความกังวลว่าจะมีผู้ประกอบการนำเข้ากล่องมาเยอะจนค้างสต๊อกอีก"

อย่างไรก็ตาม ชมรมต้องการให้ กสทช.เร่งประชาสัมพันธ์เรื่องการยุติการแพร่ภาพของทีวีแอนะล็อก เพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมถึงจูงใจให้ประชาชนแลกกล่องทีวีดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีเพียงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) รายเดียวที่ประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ทำให้ประชาชนไม่ตื่นตัว ทั้งควรเร่งให้ช่องแอนะล็อกอื่น ๆขยับเวลายุติการออกอากาศให้เร็วขึ้น และเร่งเบิกจ่ายเงินตามคูปองที่ประชาชนนำไปใช้สิทธิ์ให้ผู้ประกอบการภายในไม่เกิน 1 เดือน เพื่อไม่ให้กระทบกระแสเงินสดของผู้ประกอบการ

รอตลาดฟื้นกลางปีหน้า

นายทวี อุดมกิจโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลแบรนด์ "สามารถ" กล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้ตลาดกล่องทีวีดิจิทัลกลับมาคึกคักอีกครั้งคือการแข่งขันกีฬาระดับโลกในกลางปีหน้า ทั้งโอลิมปิก และฟุตบอลยูโร ทั้งสองรายการนี้จะแพร่ภาพทางทีวีดิจิทัลแน่นอน ทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อกล่องอีกครั้ง แต่ถ้ามีการแจกคูปองจาก กสทช. และการประกาศยุติทีวีแอนะล็อกชัดเจน ก็จะส่งเสริมให้มีการแลกซื้อมากกว่านี้

"ปัญหาคือตอนนี้ไม่มีคอนเทนต์ที่จูงใจให้ผู้บริโภคซื้อหรือนำคูปองไปใช้เราจึงยังไม่มีการทำกิจกรรมการตลาดใดๆ เพราะทำไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น แต่ในกลางปีหน้าจะรุกอีกครั้งเพื่อทำให้คนที่ยังไม่มีมาซื้อ เพราะมีคอนเทนต์ทั้งโอลิมปิก และฟุตบอลยูโรจูงใจ ที่สำคัญรายการเหล่านี้ยังฉายกลางดึกถึงรุ่งเช้า ไม่กระทบการออกอากาศของรายการปกติ จึงน่าจะมีสักช่องนำมาแพร่ภาพกระตุ้นผู้ชม และสร้างรายได้จากโฆษณา ช่วงนั้นตลาดน่าจะตื่นตัวกับการรับชมทีวีดิจิทัลอีกครั้ง ประกอบกับโครงข่ายน่าจะขยายไปทั่วประเทศ แต่กว่าจะถึงตอนนั้นผู้ประกอบการรายเล็กที่มีปัญหาทางการเงินอาจไม่รอด ซึ่งการแจกคูปองลอตใหม่น่าจะช่วยได้บ้าง"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445488422

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.