Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz กสทช.จะมีการประมูลทั้งหมด 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz อายุใบอนุญาต 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 12,864 ล้านบาท หรือ 80% ของมูลค่าคลื่น

ประเด็นหลัก






ส่วนกรณีที่บมจ.ทีโอที และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที เตรียมจะยื่นฟ้องระงับการประมูลคลื่นนั้น ทางเลขาธิการ กสทช. ยืนยันว่า จะยังเดินหน้าจัดประมูลต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำสั่งใดๆ ออกมา เพราะตามกฎหมายระบุชัดว่า คลื่นความถี่เมื่อหมดสัมปทานจะต้องส่งคืนกลับมาจัดสรรใหม่

สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz กสทช.จะมีการประมูลทั้งหมด 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz อายุใบอนุญาต 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 12,864 ล้านบาท หรือ 80% ของมูลค่าคลื่น ซึ่งในการประมูลแต่ละครั้งจะกำหนดให้มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 644 ล้านบาทหรือ 5% ของมูลค่าคลื่น ทั้งนี้คาดว่า จะทำให้รัฐมีรายได้จากการประมูลไม่ต่ำกว่า 27,016 ล้านบาท












________________________________






กสทช.ห้าม 4ค่ายสื่อสารเผยข้อมูลศึกชิงคลื่น 900MHz -ไม่หวั่นทีโอทีฟ้องล้มประมูล


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูล พร้อมชำระเงินค่าพิจารณาคำขอรับใบอนุญาต 535,000 บาท และเช็คธนาคารเพื่อวางหลักประกันการประมูลจำนวน 644 ล้านบาท เมื่อ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า เอกชนยื่นเอกสาร 4 ราย ได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด(DTN) 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) 4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ กล่าวว่า จากนี้จะถือว่าเข้าสู่ช่วง "ไซเลนต์ พีเรียด" ห้ามทั้ง 4 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลคลื่นเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมูลคลื่น 900 MHz จนกว่า กสทช. จะประกาศผู้ชนะการประมูล เพื่อป้องกันการฮั้วราคา



"แม้ว่าการประมูลคลื่น 900 MHz จะถูกเลื่อนให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 12 พ.ย. นี้ แต่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขล็อกป้องกันการฮั้วไว้ทุกชั้นแล้ว ทั้งยังได้ทำหนังสือเชิญเชิญหน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ตัวแทนจากสถานฑูตสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ และจีน เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมในการประมูล"

ส่วนกรณีที่บมจ.ทีโอที และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที เตรียมจะยื่นฟ้องระงับการประมูลคลื่นนั้น ทางเลขาธิการ กสทช. ยืนยันว่า จะยังเดินหน้าจัดประมูลต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำสั่งใดๆ ออกมา เพราะตามกฎหมายระบุชัดว่า คลื่นความถี่เมื่อหมดสัมปทานจะต้องส่งคืนกลับมาจัดสรรใหม่

สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz กสทช.จะมีการประมูลทั้งหมด 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz อายุใบอนุญาต 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 12,864 ล้านบาท หรือ 80% ของมูลค่าคลื่น ซึ่งในการประมูลแต่ละครั้งจะกำหนดให้มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 644 ล้านบาทหรือ 5% ของมูลค่าคลื่น ทั้งนี้คาดว่า จะทำให้รัฐมีรายได้จากการประมูลไม่ต่ำกว่า 27,016 ล้านบาท

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445517198

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.