Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 ด้านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่า สรอ. เจ้าภาพหลักในการรวบรวมและจัดการข้อมูลโอเพ่นดาต้า มีชุดข้อมูลจำนวนมากที่รวบรวมพร้อมใช้สำหรับนักพัฒนาและภาคเอกชน

ประเด็นหลัก




นายแพทย์พินิจ ฟ้าอำนวยผล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารข้อมูลสุขภาพ hiso.or.th มีการรวบรวมข้อมูลสถานะสุขภาพคนไทยโดยการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ในไทย และไฟล์เอ็กซ์เซลจากองค์การอนามัยโลก ในรูปแบบสถิติเพื่อใช้เปรียบเทียบแนวโน้มต่าง ๆ และมีการอัพเดตข้อมูลต่อเนื่อง เช่นข้อมูลการตาย การเปรียบเทียบการจมน้ำตายของเด็ก ซึ่งจะพบมากในช่วงเดือนเมษายนต้นฤดูร้อน และช่วงกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเสียชีวิตในช่วงฤดูฝน การดูสถิติการตายด้วยอุบัติเหตุจราจร ส่วนมากเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ 15-19 ปี รวมทั้งการใช้กราฟในการพยากรณ์ล่วงหน้า การเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง ทำให้เห็นภาพ วางแผนกำลังคน ทรัพยากรในการที่เราจะแก้ปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ

คุณหมอดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกล่าวว่า บทบาทของสำนักคือการส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดี ทางกรมจะมีข้อมูลของการสำรวจวิจัยเป็น PDF ไฟล์จำนวนมาก และอยู่ในระหว่างการประสานงานกับหลายๆ หน่วยงาน

แต่ทั้งนี้ ที่เห็นภาพชัดเจนก็คือ การทำแอปพลิเคชั่น การรายงานผลสุขภาพนักเรียนทั่วประเทศของกรมอนามัย ที่จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงสุขภาพของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ

ด้านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่า สรอ. เจ้าภาพหลักในการรวบรวมและจัดการข้อมูลโอเพ่นดาต้า มีชุดข้อมูลจำนวนมากที่รวบรวมพร้อมใช้สำหรับนักพัฒนาและภาคเอกชนแล้ว ในอนาคตก็ยังจะมีโครงการที่จะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ และนำไปใช้ได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย














________________________________






OPEN DATA สาธารณสุข พร้อมเปิดสู่แอปฯ บริการ-สุขภาพ



มีการพูดถึงเรื่องของ Open Data ภาครัฐ ที่จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นเข้าถึงและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเมื่อไม่นานมานี้เองเพิ่งจะมีการพูดถึงข้อมูลด้านสาธารณสุขใน 3 หน่วยงาน คือ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ และสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ ที่มีการนำเสนอข้อมูลจากหลายๆ หน่วยงานนำมาเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการใช้งานสาธารณะมากขึ้น

สำหรับการนำข้อมูลที่เป็นรูปแบบของ Open Data มาใช้นั้น มีทั้งข้อมูลสำเร็จรูป สถิติ เอ็กซ์เซล ที่พร้อมนำไปแปลงเป็นข้อมูลชนิดต่าง ๆ กับข้อมูลรูปแบบ PDF ไฟล์ที่หน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์กระทรวง กรม กองต่าง ๆ เป็นข้อมูลให้ฟรี และข้อมูลที่มีเงื่อนไขในการนำไปใช้ที่นักพัฒนาจะต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ เสียก่อน

ไอเดียจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีการริเริ่มเป็นโครงการนำร่องในการเชื่อมโยงและพัฒนากลุ่มข้อมูลของแต่ ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน มีอยู่หลากหลายโครงการ เช่น การพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จากเดิมเมื่อมีการโทร.ฉุกเฉินเข้ามา ศูนย์จะทำการบันทึกข้อมูลแล้วสั่งการด้วยวิทยุสื่อสารไปยังรถพยาบาล และรถของมูลนิธิต่าง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ

นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า มีการทำเป็นโครงการนำร่องไปแล้วในจังหวัดพิษณุโลกกับโรงพยาบาลบางแห่งก็คือ เมื่อมีคนโทร.เข้ามาระบบจะเชื่อมโยงไปสู่รถพยาบาลคันที่ประจำการและใกล้ที่ สุดในเวลานั้น เพื่อออกไปนำผู้ป่วย คนเจ็บส่งโรงพยาบาล ซึ่งระบบหลังบ้านจะมีระบบลงทะเบียนรถพยาบาล รถมูลนิธิ ในแต่ละช่วงกะเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถที่ประจำการกี่คัน และสามารถตรวจสอบได้ว่า มีคันไหนใกล้ที่สุด ใช้เวลาเดินทางเท่าไหร่ ผู้ป่วยคือใคร และพร้อมที่จะนำส่งผู้ป่วยไปยังห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะเป็นการรายงานผลได้อย่างเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างจัดทำ เช่น การทำแอปพลิเคชั่นฉุกเฉิน สำหรับผู้พิการทางหู และสำหรับชาวต่างชาติ รวมทั้งการรายงานอุบัติเหตุจากมูลนิธิต่างๆ ที่ผู้บริโภคสามารถติดตามได้อย่างรวดเร็วจากแอปพลิเคชั่น มีการรายงานสถานการณ์รวมทั้งรูปถ่ายที่มีการเซ็นเซอร์แล้ว ซึ่งจะเร็วกว่าสื่ออื่นๆ และอีกหลาย ๆ โครงการที่อยู่ระหว่างการแปลงจากระบบ แอนะล็อกสู่ระบบดิจิทัล

"ความสำคัญอยู่ที่ระบบจะต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วที่สุด เพื่อความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ในการออกไปช่วยผู้ประสบเหตุ และต้องคำนึงถึงด้วยว่าข้อมูลต่างๆ การอัพเดตข้อมูลต่างๆ ใครจะเป็นคนที่จะรับผิดชอบต่อเนื่อง"

นายแพทย์พินิจ ฟ้าอำนวยผล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารข้อมูลสุขภาพ hiso.or.th มีการรวบรวมข้อมูลสถานะสุขภาพคนไทยโดยการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ในไทย และไฟล์เอ็กซ์เซลจากองค์การอนามัยโลก ในรูปแบบสถิติเพื่อใช้เปรียบเทียบแนวโน้มต่าง ๆ และมีการอัพเดตข้อมูลต่อเนื่อง เช่นข้อมูลการตาย การเปรียบเทียบการจมน้ำตายของเด็ก ซึ่งจะพบมากในช่วงเดือนเมษายนต้นฤดูร้อน และช่วงกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเสียชีวิตในช่วงฤดูฝน การดูสถิติการตายด้วยอุบัติเหตุจราจร ส่วนมากเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ 15-19 ปี รวมทั้งการใช้กราฟในการพยากรณ์ล่วงหน้า การเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง ทำให้เห็นภาพ วางแผนกำลังคน ทรัพยากรในการที่เราจะแก้ปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ

คุณหมอดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกล่าวว่า บทบาทของสำนักคือการส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดี ทางกรมจะมีข้อมูลของการสำรวจวิจัยเป็น PDF ไฟล์จำนวนมาก และอยู่ในระหว่างการประสานงานกับหลายๆ หน่วยงาน

แต่ทั้งนี้ ที่เห็นภาพชัดเจนก็คือ การทำแอปพลิเคชั่น การรายงานผลสุขภาพนักเรียนทั่วประเทศของกรมอนามัย ที่จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงสุขภาพของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ

ด้านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่า สรอ. เจ้าภาพหลักในการรวบรวมและจัดการข้อมูลโอเพ่นดาต้า มีชุดข้อมูลจำนวนมากที่รวบรวมพร้อมใช้สำหรับนักพัฒนาและภาคเอกชนแล้ว ในอนาคตก็ยังจะมีโครงการที่จะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ และนำไปใช้ได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445508591

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.