Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 กสทช.ทราบว่า ก่อนจะประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 11 พ.ย.นั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน เพราะคลื่น 1800 MHz ยังเป็นคดีอยู่ในชั้นศาลที่ กสท ฟ้องร้องไปเมื่อช่วงปลายปี 2556 ดังนั้น กสทช.ต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประมูลทราบข้อเท็จจริงตรงนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นกระบวนการประมูลจะมีความเสี่ยง

ประเด็นหลัก





พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด กล่าวว่า ในวันที่ 5 พ.ย.นี้ กสท จะยื่นหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเตือนให้ กสทช.ทราบว่า ก่อนจะประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 11 พ.ย.นั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน เพราะคลื่น 1800 MHz ยังเป็นคดีอยู่ในชั้นศาลที่ กสท ฟ้องร้องไปเมื่อช่วงปลายปี 2556 ดังนั้น กสทช.ต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประมูลทราบข้อเท็จจริงตรงนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นกระบวนการประมูลจะมีความเสี่ยง
     
       สำหรับประเด็นหลักๆ ที่ กสท ฟ้องต่อศาลปกครองในครั้งนั้นคือ การขอรักษาสิทธิในการเป็นเจ้าของคลื่นจากที่ได้ใบอนุญาตมาจากคณะกรรมการบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.) จนถึงปี 2561 รวมถึงการฟ้องการประกาศมาตรการเยียวยาคลื่น 1800 MHz ของ กสทช.ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา กสท ยังไม่ได้ถอนฟ้อง เพราะไม่มีเหตุผลในการถอนฟ้องตราบใดที่ กสท ยังยืนยันว่าคลื่น 1800 MHz ที่ได้มาจาก กบถ.นั้นถูกต้อง
     
       ที่ผ่านมา กสท ได้ส่งจดหมายถึง กสทช.มาตลอดตั้งแต่ปี 2556 ถึงคดีที่ค้างอยู่ดังกล่าว แต่ประเด็นนี้กลับไม่ถูกนำเสนอไปที่ผู้ใหญ่ระดับบน กสท จึงต้องดำเนินการส่งหนังสือถึงอีกรอบหนึ่ง และต้องการให้ กสทช.ตอบกลับมาให้ชัดเจนภายในวันที่ 6 พ.ย.นี้ จากนั้นฝ่ายบริหารจะพิจารณาคำตอบของ กสทช.อีกครั้งหนึ่งว่าจะนำเรื่องการฟ้อง หรือไม่ฟ้องบรรจุเข้าวาระการประชุมในวันที่ 9 พ.ย.นี้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง แต่ยืนยันว่าไม่ต้องการขัดขวางการประมูลคลื่นความถี่
     
       อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กสท มีความพยายามมากว่า 3 เดือนในการขอขยายระยะเวลาคลื่น 1800 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 20 MHz ไปถึงปี 2568 ต่อผู้ใหญ่หลายคน แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ และขอยืนยันว่า คลื่นจำนวน 5 MHz ที่กสท ยอมนำให้ไปประมูลกับ กสทช.นั้น มีเงื่อนไขในการขอขยายระยะเวลาคลื่นจำนวน 20 MHz ดังกล่าว แต่หนังสือที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ส่งให้ กสทช.นั้น กลับไม่ระบุถึงเงื่อนไขที่ กสท ต้องการ








______________________________






ลุ้น “กสท” ฟ้องล้มประมูล 1800 MHz



ไม่รู้จะได้ประมูล 4G หรือไม่ ฝ่ายบริหาร กสท ออกโรงทำหนังสือเตือน กสทช.หวั่นประมูล 1800 MHz มีความเสี่ยง เพราะยังมีคดีค้างอยู่ในชั้นศาลตั้งแต่ปี 2556 ขีดเส้นหาข้อสรุปร่วมกัน 6 พ.ย. ก่อนนำเรื่องเข้าบอร์ด 9 พ.ย.นี้ ลุ้นฟ้อง-ไม่ฟ้อง
     
       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด กล่าวว่า ในวันที่ 5 พ.ย.นี้ กสท จะยื่นหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเตือนให้ กสทช.ทราบว่า ก่อนจะประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 11 พ.ย.นั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน เพราะคลื่น 1800 MHz ยังเป็นคดีอยู่ในชั้นศาลที่ กสท ฟ้องร้องไปเมื่อช่วงปลายปี 2556 ดังนั้น กสทช.ต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประมูลทราบข้อเท็จจริงตรงนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นกระบวนการประมูลจะมีความเสี่ยง
     
       สำหรับประเด็นหลักๆ ที่ กสท ฟ้องต่อศาลปกครองในครั้งนั้นคือ การขอรักษาสิทธิในการเป็นเจ้าของคลื่นจากที่ได้ใบอนุญาตมาจากคณะกรรมการบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.) จนถึงปี 2561 รวมถึงการฟ้องการประกาศมาตรการเยียวยาคลื่น 1800 MHz ของ กสทช.ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา กสท ยังไม่ได้ถอนฟ้อง เพราะไม่มีเหตุผลในการถอนฟ้องตราบใดที่ กสท ยังยืนยันว่าคลื่น 1800 MHz ที่ได้มาจาก กบถ.นั้นถูกต้อง
     
       ที่ผ่านมา กสท ได้ส่งจดหมายถึง กสทช.มาตลอดตั้งแต่ปี 2556 ถึงคดีที่ค้างอยู่ดังกล่าว แต่ประเด็นนี้กลับไม่ถูกนำเสนอไปที่ผู้ใหญ่ระดับบน กสท จึงต้องดำเนินการส่งหนังสือถึงอีกรอบหนึ่ง และต้องการให้ กสทช.ตอบกลับมาให้ชัดเจนภายในวันที่ 6 พ.ย.นี้ จากนั้นฝ่ายบริหารจะพิจารณาคำตอบของ กสทช.อีกครั้งหนึ่งว่าจะนำเรื่องการฟ้อง หรือไม่ฟ้องบรรจุเข้าวาระการประชุมในวันที่ 9 พ.ย.นี้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง แต่ยืนยันว่าไม่ต้องการขัดขวางการประมูลคลื่นความถี่
     
       อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กสท มีความพยายามมากว่า 3 เดือนในการขอขยายระยะเวลาคลื่น 1800 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 20 MHz ไปถึงปี 2568 ต่อผู้ใหญ่หลายคน แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ และขอยืนยันว่า คลื่นจำนวน 5 MHz ที่กสท ยอมนำให้ไปประมูลกับ กสทช.นั้น มีเงื่อนไขในการขอขยายระยะเวลาคลื่นจำนวน 20 MHz ดังกล่าว แต่หนังสือที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ส่งให้ กสทช.นั้น กลับไม่ระบุถึงเงื่อนไขที่ กสท ต้องการ
     
       “ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กสท จึงออกมาแสดงบทบาทคัดค้าน เพราะเขาเห็นว่า กสท เป็นเด็กดีมาโดยตลอดแต่กลับไม่ได้อะไร ไม่เหมือนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ออกมาคัดค้านจนได้คลื่น 2300 MHz มาอัปเกรดเทคโนโลยีให้ใช้ถึงปี 2568”
     
       พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 4 พ.ย. สหภาพฯ ได้มายื่นหนังสือต่อฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการบริษัทแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถามว่าหากไม่ทำตามที่สหภาพฯ ต้องการจะถูกฟ้องโทษฐานละเลยการปฎิบัติหน้าที่ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามองได้ 2 มุม มุมหนึ่งคือ ไม่รักษาผลประโยชน์ขององค์กร ก็มองได้ แต่อีกมุมหนึ่ง หากมีประชาชนมาร้องเรียน กสท ว่าขัดขวางการประมูล ทำให้ 4G ไม่เกิดในประเทศไทยก็มองได้เช่นกัน
     
       ทั้งนี้ อยากให้สังคมลองมองในมุมกลับกัน ตามที่ กสทช.ระบุว่าหากเกิดการประมูลจะมีเงินส่งเข้ารัฐมากกว่า 75,000 ล้านบาท จากการประมูลใบอนุญาต 4G 2ย่านความถี่คือ 1800 และ 900 MHz ก็อยากให้มองว่า ที่ผ่านมา กสท ได้ให้สัมปทานแก่เอกชนมา 15 ปี ก็สามารถนำส่งเงินเข้ารัฐผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 30,000 ล้านบาท แต่การประมูลของ กสทช.จะมีรายได้เข้ารัฐเพียงครั้งเดียวคือ จากการประมูล ต่างจากที่มาจากรัฐวิสาหกิจจะได้เงินในระยะยาว


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000123225&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+5-11-58&utm_campaign=20151104_m128109204_Manager+Morning+Brief+5-11-58&utm_term=_E0_B8_A5_E0_B8_B8_E0_B9_89_E0_B8_99+_27_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_27+_E0_B8_9F_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_87_E0_B8_A5_E0_B9_89_E0_B8_A1_E0_B8_9B_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_A1_E0_B8_B9_E0_B8_A5+1800+MHz

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.