Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 CAT หวัง จะขอปรับปรุงคลื่น 1800 MHz 20 MHz ในสัมปทานดีแทค ให้ กสทช.พิจารณาและให้มีสิทธิ์ใช้ถึงปี 2568 ทั้งพัฒนารูปแบบเช่าใช้โครงข่าย MVNO ปรับปรุงการทำตลาดบริการ my และบริการหลังการขาย โดยผลประกอบการ 8 เดือนปีนี้ มีกำไร 2,400 ล้านบาท ในสิ้นปีน่าจะได้ 3,600 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


แคทหวังรายได้ MVNO

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันท์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผยว่า การมีคลื่น 4G สำคัญกับแคทมาก จึงจะขอปรับปรุงคลื่น 1800 MHz 20 MHz ในสัมปทานดีแทค ให้ กสทช.พิจารณาและให้มีสิทธิ์ใช้ถึงปี 2568 ทั้งพัฒนารูปแบบเช่าใช้โครงข่าย MVNO ปรับปรุงการทำตลาดบริการ my และบริการหลังการขาย โดยผลประกอบการ 8 เดือนปีนี้ มีกำไร 2,400 ล้านบาท ในสิ้นปีน่าจะได้ 3,600 ล้านบาท




_________________________________________



"ทีโอที-แคท"พลิกสินทรัพย์สร้างรายได้หนีขาดทุนบักโกรก



"ทีโอที-แคท" พลิกตำราหนีขาดทุนบักโกรก หาทางสร้างรายได้จากสินทรัพย์ในมือ "ทีโอที" ไฟลนก้นปิดดีลพันธมิตร ฟาก "แคท" ขออัพเกรด 1800 MHz ยื้อใช้คลื่น-ฟื้นรายได้ธุรกิจมือถือ

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เปิดเผยว่าจากการวิเคราะห์สถานะการดำเนินงานของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ทั้งคู่จัดอยู่ในกลุ่มขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถแข่งขันได้ โดยรายได้ต่อจำนวนพนักงานพบว่า พนักงานทีโอทีสร้างรายได้ 2 ล้านบาท/คน/ปี แคท 6 ล้านบาท/คน/ปี ต่างจากเอกชน เช่น เอไอเอสสร้างรายได้สูงสุด 14 ล้านบาท/คน/ปี ดีแทค 12 ล้านบาท/คน/ปี และทรู 6 ล้านบาท/คน/ปี ในทางกลับกัน ค่าใช้จ่ายพนักงานทีโอทีสูงถึง 14 ล้านบาท/คน/ปี แคท 13 ล้านบาท/คน/ปี เอไอเอส 12 ล้านบาท/คน/ปีดีแทคราว 11 ล้านบาท/คน/ปี ทรูราว 9 ล้านบาท/คน/ปี

คนล้นงาน-ปรับตัวไม่ทัน

"ทีโอทีหนักกว่า เพราะมีบุคลากรกว่า 16,000 คน แคทมี 6,000 คน ทั้งอายุเฉลี่ยก็สูงสุดในอุตสาหกรรม วัฒนธรรมองค์กรปรับเปลี่ยนยาก กระบวนการทำงานที่มีหลายขั้นตอน กฎระเบียบมากทำให้อุ้ยอ้าย แต่ยังมีโอกาสพลิกฟื้นได้ เพราะมีทรัพย์สินในมือเยอะ"

ขณะที่รายได้จากสัมปทานลดลงต่อเนื่อง โดยทีโอทีมีรายได้สัมปทานปี 2557 เหลือ 29,387 ล้านบาท ลดลง 46.64% จากปี 2556 แคทเหลือ 20,617 ล้านบาท ลด 48.3% จากปี 2556 และตั้งแต่ ธ.ค. 2557 ทั้งคู่ต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้สัมปทานให้ กสทช.โดยทีโอทีจัดอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่การแข่งขันรุนแรงโดยเฉพาะตลาดบรอดแบนด์ จำเป็นต้องเร่งวางแผนยุทธศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ลดธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาใช้ให้มีประสิทธิภาพ

ด้านแคทสถานะการดำเนินงานอยู่ในกลุ่มต้องระมัดระวัง จากรายได้ที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งปัญหาข้อพิพาทและการฟ้องร้องทางกฎหมาย

เร่งหารายได้จากทรัพย์สินที่มี

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่าทรัพยากรที่ทั้ง2 องค์กรมีเป็นแต้มต่อทางธุรกิจได้ เช่น ทีโอทีมีคลื่นหลายย่าน ขณะที่แคทมีเคเบิลใต้น้ำ และอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ ไม่รวมเคเบิลใยแก้ว สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั่วประเทศ แต่ปัญหาอยู่ที่การบริหารจัดการ

ที่ผ่านมาทีโอทีลงทุน 3G คลื่น 2100 MHzใช้เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท แต่สร้างได้แค่ 5,320 สถานีฐาน มีลูกค้าไม่ถึง 5 แสนราย เช่นกันกับการดำเนินโครงการของแคททำได้ช้า

และการประมูล 4G ทำให้ข้อได้เปรียบโครงข่ายของทีโอทีและแคท ลดความสำคัญลง จาก 4G ทดแทนฟิกซ์บรอดแบนด์ได้

เส้นตายทีโอที Q3 ปี′59

แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า กำลังเร่งเจรจายุติข้อพิพาทและพันธมิตรธุรกิจโมบาย หากได้ข้อยุติ เอไอเอส จะโอนเสาตามสัมปทาน 13,000 ต้นมาให้ พร้อมถอนคดีที่พิพาทกัน และกลับมาเช่าโครงข่ายคาดว่าจะได้ค่าเช่าปีละ 3,000 ล้านบาท และนำอุปกรณ์มาติดตั้งเพื่อขยายโครงข่าย 2300 MHz ที่ กสทช.อนุมัติให้อัพเกรด ส่วน 3G คลื่น 2100 MHz พันธมิตรจะเข้ามาสร้างสถานีฐานเพิ่มอีก 10,000 กว่าแห่ง รวมเป็น 16,000 เพื่อให้ทีโอทีเช่าแล้วนำไปใช้กับคลื่น 15 MHz

"จากการประเมินสถานะการเงินทีโอทีพบว่าหากไตรมาส 3 ปีหน้ายังไม่สามารถสร้างรายได้ใหม่ตามโมเดลนี้ได้จะกระทบกระแสเงินสด และการจ่ายเงินเดือน"

ขณะที่ผลประกอบการ 8 เดือนปี 2558 ทีโอทีขาดทุนจากการดำเนินงาน 6,656 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 2,743 ล้านบาท หรือ 70% แต่ถ้าหักรายการปรับปรุงบัญชีต่าง ๆ แล้วจะขาดทุนสุทธิ 1,294 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 86% จากปีที่แล้วที่ขาดทุนสุทธิ 694 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้จากการดำเนินงาน 23,204 ล้านบาท ลดลง 23% จากการลดลงของส่วนแบ่งรายได้ของเอไอเอส และอินเทอร์เน็ต ADSL ที่ลดลง และมีรายได้อื่น ๆ ราว 2,654 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่าย (ไม่รวมค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ย) อยู่ที่ 24,225 ล้านบาท ลด 11%

แคทหวังรายได้ MVNO

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันท์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผยว่า การมีคลื่น 4G สำคัญกับแคทมาก จึงจะขอปรับปรุงคลื่น 1800 MHz 20 MHz ในสัมปทานดีแทค ให้ กสทช.พิจารณาและให้มีสิทธิ์ใช้ถึงปี 2568 ทั้งพัฒนารูปแบบเช่าใช้โครงข่าย MVNO ปรับปรุงการทำตลาดบริการ my และบริการหลังการขาย โดยผลประกอบการ 8 เดือนปีนี้ มีกำไร 2,400 ล้านบาท ในสิ้นปีน่าจะได้ 3,600 ล้านบาท

เร่งเคลียร์ข้อพิพาท

ปัญหาข้อพิพาทในส่วนของดีแทคได้ข้อยุติแล้ว และเสนอให้กระทรวงไอซีทีนำโมเดลร่วมทุนให้ที่ประชุม ครม.อนุมัติ ส่วนข้อพิพาทกับกลุ่มทรูเริ่มเจรจาจะให้ได้ข้อยุติในสิ้นปีนี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447303706

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.