Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2558 TOT จับมือ AIS อนุมัติในขั้นตอนของบอร์ด คือเห็นชอบในหลักการให้เข้าไปทำสัญญาร่วมกัน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะให้รายละเอียดการเป็นพันธมิตรทั้งโมเดลและผลตอบแทน แต่โดยคร่าว ๆ คือไม่ตั้งบริษัทร่วมกัน และจะมีสถานีฐานเพิ่มขึ้นอีกหมื่นสถานีฐาน จากที่ทีโอทีมีอยู่ราว 5,320 สถานีฐาน ครอบคลุมทั่วประเทศ

ประเด็นหลัก


"เป็นการอนุมัติในขั้นตอนของบอร์ด คือเห็นชอบในหลักการให้เข้าไปทำสัญญาร่วมกัน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะให้รายละเอียดการเป็นพันธมิตรทั้งโมเดลและผลตอบแทน แต่โดยคร่าว ๆ คือไม่ตั้งบริษัทร่วมกัน และจะมีสถานีฐานเพิ่มขึ้นอีกหมื่นสถานีฐาน จากที่ทีโอทีมีอยู่ราว 5,320 สถานีฐาน ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ไม่เกี่ยวกับคลื่น 900 MHz เป็นการร่วมกันบนคลื่น 2100 MHz จะปรับย้ายสถานีฐานเดิมของทีโอทีบางส่วนด้วย"

เมื่อได้ข้อยุติเรื่องร่างสัญญาก็จะต้องส่งให้บอร์ดพิจารณาและส่งต่อให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาซึ่งจะต้องทำให้เสร็จใน ธ.ค.นี้ จากนี้กำลังให้ฝ่ายบริหารศึกษาว่าจะต้องนำเสนอไปยังหน่วยงานอื่นหรือไม่

"บอร์ดพิจารณาเรื่องพันธมิตรมาหลายครั้งแล้วไม่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นของกสทช. แม้ราคาประมูลจะเกินความคาดหมาย เป็นการพิจารณาตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของทีโอทีที่จะใช้ทรัพย์สินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งให้บริการเอง ให้ผู้อื่นเช่า"

ธุรกิจโมบายจากนี้ต้องทำความเข้าใจกับผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) เดิม ที่มี 4 ราย ได้แก่ บริษัท เอ็มคอนซัลท์ เอเชีย จำกัด ภายใต้แบรนด์ MOJO3G บริษัท ล็อกซเล่ย์ โมบาย จำกัด ในเครือ บมจ.ล็อกซเล่ย์ ภายใต้แบรนด์ TuneTalk บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ในเครือ บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง (ไออีซี) ภายใต้แบรนด์ IEC 3G หลังจากบรรลุข้อตกลงเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับเอไอเอส แต่ยืนยันว่าจะยังเปิดให้ MVNO ดำเนินการต่อไป ทั้งยังจะมีส่วนที่ทีโอทีให้บริการเองด้วย




__________________




"ทีโอที"ผนึก"เอไอเอส"ฟื้นรายได้พลิกสถานะธุรกิจมือถือ


บอร์ดทีโอทีไฟเขียวจับมือ "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรธุรกิจโมบาย เร่งยกร่างลงนามในสัญญาได้สิ้นปีนี้ ก่อนลุยขยายโครงข่าย 3G 2100 MHz ร่วมกันแบบด่วนจี๋ ทั้งเดินหน้าตั้งกองทุนท่อร้อยสาย ปักธงเปิดขายหน่วยลงทุนต้นไตรมาส 4 ปี"59 หวังสร้างรายได้ปีละพันล้านบาท

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีล่าสุด (13 พ.ย. 58) ให้ความเห็นชอบให้ทีโอทีเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะทำธุรกิจบนคลื่น 2100 MHzร่วมกัน ตามนโยบาย คนร. ที่จะใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และฟื้นฟูสถานการณ์ทางการเงินให้ดีขึ้น

"ถ้าเราไม่สามารถทำอะไรต่อกับโครงข่าย3G 2100 MHz ซึ่งมีรายได้น้อยกว่าเงินที่ลงทุนไป จะกลายเป็นทรัพย์สินด้อยค่า ฉุดผลกำไรให้แย่ลงไป"

จากนี้จะเข้ากระบวนการทำสัญญาที่ทั้ง 2 รายจะทำธุรกิจร่วมกัน คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1 เดือน แต่จะเร่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้รายได้เข้ามาให้มากที่สุด

"เป็นการอนุมัติในขั้นตอนของบอร์ด คือเห็นชอบในหลักการให้เข้าไปทำสัญญาร่วมกัน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะให้รายละเอียดการเป็นพันธมิตรทั้งโมเดลและผลตอบแทน แต่โดยคร่าว ๆ คือไม่ตั้งบริษัทร่วมกัน และจะมีสถานีฐานเพิ่มขึ้นอีกหมื่นสถานีฐาน จากที่ทีโอทีมีอยู่ราว 5,320 สถานีฐาน ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ไม่เกี่ยวกับคลื่น 900 MHz เป็นการร่วมกันบนคลื่น 2100 MHz จะปรับย้ายสถานีฐานเดิมของทีโอทีบางส่วนด้วย"

เมื่อได้ข้อยุติเรื่องร่างสัญญาก็จะต้องส่งให้บอร์ดพิจารณาและส่งต่อให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาซึ่งจะต้องทำให้เสร็จใน ธ.ค.นี้ จากนี้กำลังให้ฝ่ายบริหารศึกษาว่าจะต้องนำเสนอไปยังหน่วยงานอื่นหรือไม่

"บอร์ดพิจารณาเรื่องพันธมิตรมาหลายครั้งแล้วไม่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นของกสทช. แม้ราคาประมูลจะเกินความคาดหมาย เป็นการพิจารณาตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของทีโอทีที่จะใช้ทรัพย์สินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งให้บริการเอง ให้ผู้อื่นเช่า"

ธุรกิจโมบายจากนี้ต้องทำความเข้าใจกับผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) เดิม ที่มี 4 ราย ได้แก่ บริษัท เอ็มคอนซัลท์ เอเชีย จำกัด ภายใต้แบรนด์ MOJO3G บริษัท ล็อกซเล่ย์ โมบาย จำกัด ในเครือ บมจ.ล็อกซเล่ย์ ภายใต้แบรนด์ TuneTalk บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ในเครือ บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง (ไออีซี) ภายใต้แบรนด์ IEC 3G หลังจากบรรลุข้อตกลงเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับเอไอเอส แต่ยืนยันว่าจะยังเปิดให้ MVNO ดำเนินการต่อไป ทั้งยังจะมีส่วนที่ทีโอทีให้บริการเองด้วย

สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ มองว่ายังไม่ค่อยมีความจำเป็นต้องมีพันธมิตร อย่างกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และกลุ่มงานธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดร่วมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม และมีแนวคิดจะใช้ทรัพยากรร่วมกันอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เป็นจุดแข็งที่ทีโอทียังดำเนินการเองได้อยู่ และกลุ่มบริการด้านไอที ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี)และคลาวด์คอมพิวติ้ง กำลังรอความชัดเจนจากโครงการของภาครัฐ

ขณะที่ความคืบหน้าในการระงับข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมกับเอไอเอสกำลังเร่งเจรจาให้ได้ข้อยุติภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้

นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ดยังได้อนุมัติให้ตั้งที่ปรึกษาสำหรับโครงการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานท่อร้อยสายคาดว่าจะใช้เวลาราว3 เดือน ที่จะได้ข้อสรุปของโครงการ ผลวิเคราะห์ทางการเงิน จากนั้นจะเข้ากระบวนการเสนอโครงการให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยตั้งเป้าจะเปิดขายหน่วยลงทุนให้ได้ต้นไตรมาส 4 ปี 2559 คาดว่าแต่ละปีจะสร้างรายได้ให้ทีโอทีราวพันล้านบาท

และอนุมัติแผนการพัฒนาการใช้คลื่น 2300 MHz เพื่อให้บริการฟิกซ์ไวร์เลสบรอดแบนด์ และการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง (USO)

ทั้งยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กร ให้เป็นแบบกลุ่มธุรกิจ 100% เพราะที่ผ่านมายังมีหน่วยงานบางส่วนที่ยังไม่ถูกจัดเข้าโครงสร้างที่ คนร.ให้แบ่งเป็นสายงานกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม, กลุ่มเสาโทรคมนาคม, กลุ่มงานธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และกลุ่มบริการด้านไอที ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และคลาวด์คอมพิวติ้ง

"ต้องเร่งปรับ เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจน สามารถวัดผลกำไรขาดทุนของแต่ละกลุ่มธุรกิจได้อย่างชัดเจน ว่าประกอบกิจการแล้วได้ผลอย่างไรบ้าง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ ม.ค. 2559"

โดยจะครอบคลุมถึงการปรับเพื่อรองรับการทำธุรกิจใหม่ อาทิ โครงการจะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานท่อร้อยสาย การรับรองการยุติข้อพิพาทด้านเสาโทรคมนาคม การพัฒนาคลื่น 2300 MHz และการเป็นพันธมิตรในธุรกิจโมบายกับเอไอเอส

"การปรับโครงสร้างองค์กรก็ต้องให้สอดคล้องกับสัญญาพันธมิตรที่จะมีความชัดเจนว่าใครทำอะไร ดังนั้นในส่วนธุรกิจด้านโมบายก็ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาที่จะทำกับเอไอเอสด้วย ส่วนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องให้สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งกองทุนท่อร้อยสาย"

ทั้งยังนำเสนอแผนการลดต้นทุนการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับความจำเป็นจากเดิมที่มีบางส่วนงาน คนขาดและคนเกินจำนวนงาน รวมถึงการยกระดับเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงาน สอดคล้องกับโครงการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะมีการประเมินผลการดำเนินงาน

ส่วนแผนฟื้นฟูกิจการตามที่รัฐบาลได้เร่งให้ส่งรายละเอียดมาให้พิจารณานั้นคาดว่าจะเสนอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) พิจารณาได้ทัน ม.ค. 2559 เนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของบอร์ด


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447911290

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.