Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤศจิกายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่ายมือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G

ประเด็นหลัก






"พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ด้วยคุณภาพของคลื่นและสถานการณ์ในการประมูลที่ต่างกัน ส่งผลให้ราคาต่างกัน

"แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่ายมือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G"


__________________




ประมูลกันยังไง ทำไม? 4G แพงแต่ 3G แสนถูก


ยังเป็นที่จดจำสำหรับผลการประมูล 3G คลื่น 2.1 GHz โดย "กสทช." เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (16 ต.ค. 2555) เมื่อ 3 ค่ายมือถือคว้าไลเซนส์ไปแบบแทบไม่สามารถเรียกได้ว่า "แข่งขัน" เพราะบางบริษัทไม่ได้เคาะราคาเลยสักครั้ง ได้เงินเข้ารัฐรวมกัน 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้นประมูลแค่ 2.78% ช่างแตกต่างกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจบลงไป เพราะแข่งกันดุเดือดเลือดสาด ปั่นราคาคลื่นทะลุราคาตั้งต้นไปกว่า 157.58% ได้เงินเบ็ดเสร็จกว่า 80,000 ล้านบาท

ทำไมและอะไรทำให้ราคาการประมูลคลื่น 2.1 GHz ของ 3G ถึงถูกกว่า 1800 MHz ของ 4G ราวฟ้ากับเหว





"พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ด้วยคุณภาพของคลื่นและสถานการณ์ในการประมูลที่ต่างกัน ส่งผลให้ราคาต่างกัน

"แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่ายมือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G"

ทั้งอย่างน้อยอีก 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่านใหม่

"เวลานี้ถ้าประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ เท่ากับขาดโอกาสทางธุรกิจไปอีกหลายปี ถือว่าพลาดแล้วพลาดยาว ยุคนี้ธุรกิจต่างมองหาทรัพยากรที่จะนำไปต่อยอดได้ และกำลังอยู่ในช่วงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเสนอราคาจึงไม่ใช่แค่แสวงหากำไร แต่เป็นการสกัดไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงทรัพยากรด้วย ในสายตาคนนอกอาจมองว่าประมูลแพงมาก ราคาสูง แต่ในทางธุรกิจย่อมวิเคราะห์ความคุ้มค่าและไม่ได้มองว่าเป็นราคาที่โอเว่อร์เกินไป"

ขณะที่ "กทค." ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" มองว่า การแข่งเสนอราคาชิงคลื่น 1800 MHz มากกว่าตอนประมูล 3G เนื่องจาก 1. ประสบการณ์จากการประมูล 3G ทำ กสทช.ทราบถึงพฤติกรรมของผู้เข้าประมูลจึงออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าประมูลได้ ด้วยการให้ใบอนุญาตมีจำนวนน้อยกว่าโอเปอเรเตอร์ เพื่อบีบให้ผู้เข้าประมูลต้องแข่งกัน

2. ผู้ประกอบการที่เคยเป็นผู้รับสัมปทานใช้คลื่นที่ กสทช.จะนำออกประมูลในขณะนี้ล้วนต้องการรักษาพื้นที่ของตนเองให้มีคลื่นใช้ได้ตามเดิม และเนื่องจากเอไอเอสอยู่ในจุดที่จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าจึงเกิดการแข่งขันเพื่อชิงคลื่นไปไว้ในมือมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดมากกว่าครั้งก่อน

จากนี้คงต้องจับตาว่า ความดุเดือดในการชิงคลื่น 1800 MHz จะส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้หรือไม่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447859615

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.