Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤศจิกายน 2558 (บทความ) ชีวิตของสเตตัสบนเฟซบุ๊ก // ไม่ว่าจะเริ่มโพสต์สเตตัสในเวลาใด ปริมาณการ กดไลค์จากผู้ใช้คนอื่น ๆ จะลดลงเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา โดยระยะแรก ๆ จะลดลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การกดไลค์จะเริ่มน้อยลง จนแทบจะไม่มีการกดไลค์อีก

ประเด็นหลัก

 ท่านผู้อ่านจะเห็นภาพของสเตตัสที่มีไลค์จำนวนน้อย ๆ บ้าง จากกราฟทั้งหมด ท่านผู้อ่านคงพอมองเห็นรูปแบบร่วมกันบางอย่างนะครับ ว่า ไม่ว่าจะเริ่มโพสต์สเตตัสในเวลาใด ปริมาณการ กดไลค์จากผู้ใช้คนอื่น ๆ จะลดลงเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา โดยระยะแรก ๆ จะลดลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การกดไลค์จะเริ่มน้อยลง จนแทบจะไม่มีการกดไลค์อีก เมื่อเวลาผ่านไประยะเวลาหนึ่ง อาจกินเวลาสองสามชั่วโมง ไปจนกระทั่งถึงหนึ่งวัน คำถามต่อมาที่เราสามารถมองเห็นและตั้งคำถามได้จากผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ตรงนี้ ก็มีได้หลายแบบครับ เช่น จะมีการเพิ่มขึ้นบ้างไหม ในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงเช้า ช่วงเย็นหลังเลิกงาน และเราจะสามารถทำนายเวลาช่วงชีวิตของสเตตัสอันหนึ่งได้บ้างไหม





__________________




ชีวิตของสเตตัสบนเฟซบุ๊ก


„ชีวิตของสเตตัสบนเฟซบุ๊ก วันนี้ ผมหยิบเรื่องราวของความพยายามในการหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมการกดไลค์ของคน เอาเฉพาะคนไทยเป็นหลักนี่แหละครับ วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 5:19 น. ท่านผู้อ่านหลายท่าน อาจพอสังเกตเห็นว่า ในระยะหลังผมมักจะหยิบเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนบ้าง การวิจัยบ้าง แทนการหยิบเรื่องราวจากโลกภายนอกมาเขียนในคอลัมน์ 1001 ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อจะบอกท่านผู้อ่านว่า เด็ก ๆ นิสิต นักศึกษาของเรา ก็ทำงานในระดับที่ใกล้เคียงกับโลกข้างนอก และมีอะไรใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน วันนี้ ผมหยิบเรื่องราวของความพยายามในการหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมการกดไลค์ของคน เอาเฉพาะคนไทยเป็นหลักนี่แหละครับ หลายท่านคงเคยสังเกตแนวโน้มการ กดไลค์ของเพื่อน ๆ ในเฟซบุ๊กตัวเองอยู่เหมือนกันใช่ไหมครับ ถ้าใช่ คุณผู้อ่านพบรูปแบบของพฤติกรรมการกดไลค์บ้างหรือเปล่าครับ เช่น จะกดไลค์เป็นช่วง ๆ ตอนเช้าก่อนเข้าทำงาน หรือก่อนเข้าเรียน มากดไลค์กันมากอีกทีในช่วงกลางวัน แล้วขึ้นอีกรอบตอนช่วงเย็นหรือเปล่า นิสิตปริญญาเอกที่ผมดูแลอยู่ ชื่อ คุณณรงค์ อินทร์รักษ์ ศึกษาเรื่องพวกนี้อยู่ครับ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคาดเดาความน่าจะเป็น หรือรูปแบบที่เป็นไปได้ของผู้ใช้ที่จะเข้ามาเห็น เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เราไม่รู้รูปแบบชัดเจนอยู่สองอย่าง อย่างแรก คือ วิธีการนำเสนอสเตตัสหรือรูปถ่าย หรืออะไรก็แล้วแต่ของเฟซบุ๊กไปยังเพื่อนของเรา กับอย่างที่สอง คือ โอกาส (หรือความน่าจะเป็น) ที่เพื่อนของเราจะมาเห็นข้อความของเราเข้า ถ้าเรารู้ทั้งสองอย่างนี้ เราก็พอจะคำนวณให้แม่นยำได้ว่า เพื่อนแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละคนจะสามารถเห็นสเตตัสใด ๆ ได้บ้าง หรือสเตตัสเหล่านั้น จะมีเส้นทางการเดินทางไปยังใครบ้าง และในท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเราเรียกช่วงเวลาที่สเตตัสหนึ่ง ๆ จะยังมีคนมากดไลค์หรือให้คอมเมนต์จะมีระยะเวลานานเท่าไร คำถามข้างบนนี้ครับ เป็นคำถามที่หลายคนพยายามจะตอบ ซึ่งถ้าผมมีโอกาส และหาคำตอบได้บ้างเมื่อใด จะมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังครับ แต่ก่อนจะไปยังคำถามอื่น ๆ เหล่านั้น วันนี้ผมมีคำตอบที่แม้จะยังไม่ชัดมาก แต่ก็พอจะเป็นแนวทางให้ใครหลายคนได้เริ่มมองเห็นภาพของพฤติกรรมของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กบ้างสักเล็กน้อยครับ คำถามที่ว่านั้น คือ การกดไลค์ของผู้ใช้นั้น จะมีปริมาณเท่าใด ในช่วงเวลาใด แม้คำถามจะดูสั้น และไม่ซับซ้อน แต่ก็ยากจะอธิบายอยู่ทีเดียวครับ เพื่อเป็นการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ ผมมีกราฟ 6 รูปมาเล่าให้ฟังครับ จากกราฟทั้งหกรูปนี้ เป็นกราฟที่คุณณรงค์ ลูกศิษย์ผม ทดลองเก็บมาคร่าว ๆ โดยการเกาะติดกับสเตตัสในเวลาต่าง ๆ ของบางช่วงเวลานะครับ โดยเก็บจากสเตตัสส่วนบุคคลบ้าง และสเตตัสในแฟนเพจบ้าง กราฟบนขวาอาจใช้ได้ไม่ค่อยดี เนื่องจากเป็นสเตตัสเล็ก ๆ แต่ผมคิดว่า ถ้าเอามาแสดงไว้ ท่านผู้อ่านจะเห็นภาพของสเตตัสที่มีไลค์จำนวนน้อย ๆ บ้าง จากกราฟทั้งหมด ท่านผู้อ่านคงพอมองเห็นรูปแบบร่วมกันบางอย่างนะครับ ว่า ไม่ว่าจะเริ่มโพสต์สเตตัสในเวลาใด ปริมาณการ กดไลค์จากผู้ใช้คนอื่น ๆ จะลดลงเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา โดยระยะแรก ๆ จะลดลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การกดไลค์จะเริ่มน้อยลง จนแทบจะไม่มีการกดไลค์อีก เมื่อเวลาผ่านไประยะเวลาหนึ่ง อาจกินเวลาสองสามชั่วโมง ไปจนกระทั่งถึงหนึ่งวัน คำถามต่อมาที่เราสามารถมองเห็นและตั้งคำถามได้จากผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ตรงนี้ ก็มีได้หลายแบบครับ เช่น จะมีการเพิ่มขึ้นบ้างไหม ในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงเช้า ช่วงเย็นหลังเลิกงาน และเราจะสามารถทำนายเวลาช่วงชีวิตของสเตตัสอันหนึ่งได้บ้างไหม ว่าเมื่อเวลาผ่านไปเท่าใด สเตตัสเหล่านั้น ก็จะนิ่ง ๆ ไม่มีเพื่อน ๆ เข้ามากดไลค์หรือคอมเมนต์อีกต่อไป ยังมีหลายคำถามที่ต้องการคำตอบนะครับ...ถ้าทีมวิจัยของเราหาได้เมื่อไร จะทยอยเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังครับ. สุกรี สินธุภิญโญ (sukree.s@chula.ac.th) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/360421

http://www.dailynews.co.th/it/360421

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.