Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ธันวาคม 2558 กสทช. ชี้ การแข่งขันด้าน ICT ของไทยก้าวหน้า โดยมีลำดับสูงขึ้นติดต่อกัน 2 ปี และปีนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ICT Dynamic ที่สูงมากที่สุดในโลก ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ชี้ว่า การประมูลคลื่น 3G 2100 MHz ยังมีผลบวกต่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการประมูล 4G จะมีผลให้ไทยก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้

ประเด็นหลัก


        กสทช.ชี้การแข่งขัน ICT ของไทยโตต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน ติดกลุ่มประเทศ ICT Dynamic ที่สูงมากที่สุดในโลก ระบุชัดประมูล 3G ความถี่ 2100 MHz เกิดผลบวกต่อเนื่องต่อไทย พร้อมคาดการประมูล 4G ที่ผ่านมาจะส่งผลให้ไทยก้าวกระโดดมากขึ้นในอนาคต
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. แถลงว่า ในที่ประชุม ICT Indicators Symposium Hiroshima, Japan กำลังจะประกาศว่าระดับการแข่งขันด้าน ICT ของไทยก้าวหน้า โดยมีลำดับสูงขึ้นติดต่อกัน 2 ปี และปีนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ICT Dynamic ที่สูงมากที่สุดในโลก ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ชี้ว่า การประมูลคลื่น 3G 2100 MHz ยังมีผลบวกต่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการประมูล 4G จะมีผลให้ไทยก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้
     
       อีกทั้งการเจรจาความร่วมมือ กทค. กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร (MIC-Ministry of internal Affairs and Communications) จากการประชุมระหว่าง รมว.กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร กับคณะกรรมการ กสทช.เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยหัวข้อความร่วมมือเรื่อง IOT (Inter-Operator Tariff) ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสองฝั่งมีการเจรจาทางธุรกิจร่วมกันโดยตรง เพื่อปรับลดค่าบริการ Roaming ทั้งบริการเสียง และข้อมูลลง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ภาคประชาชน และภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศ

_______________________________________




ICT ไทยโตก้าวกระโดด ติดโผกลุ่มโตสูงที่สุดในโลก



        กสทช.ชี้การแข่งขัน ICT ของไทยโตต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน ติดกลุ่มประเทศ ICT Dynamic ที่สูงมากที่สุดในโลก ระบุชัดประมูล 3G ความถี่ 2100 MHz เกิดผลบวกต่อเนื่องต่อไทย พร้อมคาดการประมูล 4G ที่ผ่านมาจะส่งผลให้ไทยก้าวกระโดดมากขึ้นในอนาคต
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. แถลงว่า ในที่ประชุม ICT Indicators Symposium Hiroshima, Japan กำลังจะประกาศว่าระดับการแข่งขันด้าน ICT ของไทยก้าวหน้า โดยมีลำดับสูงขึ้นติดต่อกัน 2 ปี และปีนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ICT Dynamic ที่สูงมากที่สุดในโลก ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ชี้ว่า การประมูลคลื่น 3G 2100 MHz ยังมีผลบวกต่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการประมูล 4G จะมีผลให้ไทยก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้
     
       อีกทั้งการเจรจาความร่วมมือ กทค. กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร (MIC-Ministry of internal Affairs and Communications) จากการประชุมระหว่าง รมว.กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร กับคณะกรรมการ กสทช.เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยหัวข้อความร่วมมือเรื่อง IOT (Inter-Operator Tariff) ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสองฝั่งมีการเจรจาทางธุรกิจร่วมกันโดยตรง เพื่อปรับลดค่าบริการ Roaming ทั้งบริการเสียง และข้อมูลลง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ภาคประชาชน และภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศ

ICT ไทยโตก้าวกระโดด ติดโผกลุ่มโตสูงที่สุดในโลก
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และ รองประธาน กสทช.

        และเนื่องด้วย กสทช. ได้เข้าร่วมงานประชุม The 13th World Telecommunication/ICT Indicators Symposium (WTIS-2015) ที่กรุงฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม จึงได้มีการประชุมติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ ผลปรากฏว่า ผู้ประกอบการฝั่งไทย AIS, DTAC, และทรูมูฟ กับผู้ประกอบการฝั่งญี่ปุ่น NTT Docomo, SoftBank และ KDDI ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยในบางรายได้มีการเจรจาปรับลดค่าบริการ Roaming ลงไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม และกำลังจะทยอยปรับภายในต้นปีหน้าต่อไป โดยการเจรจาในบางรายการกำลังเจรจาขอลดตั้งแต่ 10-72%
     
       ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะผลักดันความร่วมมือด้านต่างๆ เพิ่มเติม เช่น ในหัวข้อเรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ที่ทางประธาน กทค.ได้หยิบยกให้ทาง กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้ประสบการณ์ การจัดทำแผนการดูแลเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง รวมทั้งความร่วมมือป้องกัน โดยทั้งนี้ ประธาน กทค.ได้ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งยวด(Critical Infrastructure)

ICT ไทยโตก้าวกระโดด ติดโผกลุ่มโตสูงที่สุดในโลก

        โดยปัจจุบันการเชื่อมต่อโทรคมนาคมได้แทรกเข้าไปอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศหลายอย่าง เช่น โครงข่ายภาคการเงินการธนาคาร โครงข่ายการควบคุมสาธารณูปโภคต่างๆ โครงข่ายระบบสาธารณสุข โครงข่ายคมนาคมต่างๆ ดังนั้น ถ้ามีการโจมตีไซเบอร์เข้าที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวดเหล่านี้ และไม่มีการป้องกันอย่างแข็งแรงพอจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศได้
     
       นอกจากนี้ ในเรื่อง IoT(Internet of Thing) ทางญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประธาน กทค. จึงอยากแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยี การกำกับดูแล แนวทางการจัดสรรคลื่น เพื่อกระตุ้นให้มีการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรม IoT ในประเทศไทย โดยคาดว่าหลังการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900MHz ผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นจะมีการเร่งลงทุนโครงข่าย 4G ที่จะเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญให้มีการพัฒนาต่อยอดสำหรับอุตสาหกรรม IoT ต่อไปได้
     
       *** อันดับไทยขึ้นจาก 81 เป็น 74 ของโลก
     
       ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า จากการที่เข้าร่วมประชุม WTTS “The ITU Telecommunication/ICT Indicators symposium” ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค.2558 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ประกาศผลรายงานตัวชี้วัดการพัฒนาด้าน ICT ของแต่ละประเทศทั่วโลก ปี 2557 ประเทศไทย ได้ขยับมาอยู่ในอันดับที่ 74 ของโลก จากลำดับที่ 81 ในปี 2556 ซึ่งเป็นผลจากการที่มีการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในปี 2556
     
       นายฐากร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นที่น่าสนใจ และเป็นกรณีศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศอย่างมากที่มีการพัฒนาด้าน ICT อย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมา
     
       “จากการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 4G ทั้งในย่านความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz นั้น มั่นใจว่าในปี 2558 จะทำให้ลำดับการพัฒนา ICT ของไทยเลื่อนอันดับสูงขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน”
     
       สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz ที่เพิ่งประมูลเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีการเปิดให้บริการ 4G ของคลื่นในย่านดังกล่าวได้ก่อนเดือน ม.ค.2559 และสำหรับคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จะมีการเปิดประมูลในวันที่ 15 ธ.ค.2558 นี้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000132291&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+1-12-58&utm_campaign=20151130_m128507172_MGR+Morning+Brief+1-12-58&utm_term=ICT+_E0_B9_84_E0_B8_97_E0_B8_A2_E0_B9_82_E0_B8_95_E0_B8_81_E0_B9_89_E0_B8_B2_E0_B8_A7_E0_B8_81_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B9_82_E0_B8_94_E0_B8_94+_E0_B8_95_E0_B8_B4_E0_B8_94_E0_B9_82_E0_B8_9C_E0_B8_81_E0_B8_A5_E0_B8_B8_E0_B9_88_E0_B8_A1_E0_B9_82_E0_B8_95_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.