Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 ธันวาคม 2558 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ TOT ได้ส่งหนังสือสอบถามสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องอำนาจในการนำคลื่น 900 MHz ของ TOT ที่หมดสัญญาสัมปทานกับ AIS เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดยขอให้ตรวจสอบการทำงานของ กสทช.ว่ามีอำนาจในการนำคลื่นมาประมูล

ประเด็นหลัก




       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือสอบถามสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องอำนาจในการนำคลื่น 900 MHz ของทีโอที ที่หมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดยขอให้ตรวจสอบการทำงานของ กสทช.ว่ามีอำนาจในการนำคลื่นมาประมูลหรือไม่นั้น โดยเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แจ้งผลการวินิจฉัยต่อ นายอนุชิต โดยมีใจความว่า ขอให้ประธานกรรมการทีโอที และปลัดกระทรวงการคลังในฐานะมีอำนาจกำกับดูแลกิจการและกำหนดนโยบายของบริษัทพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายว่าการนำคลื่นมาประมูลมีผลกระทบต่อทีโอทีโดยตรงหรือไม่ หากมีผลกระทบก็สามารถฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครองได้






_____________________________________________________________________




กฤษฎีกาชี้คลื่น 900 MHz ต้องนำมาประมูล


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

        สหภาพฯ ทีโอที อกหักกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินสั่งประธานบอร์ด และปลัดกระทรวงการคลังให้ตรวจสอบการนำความถี่ 900 MHz ที่ กสทช.กำลังจะเปิดประมูลว่า มีผลกระทบต่อทีโอทีหรือไม่ และให้ทีโอทีฟ้องร้องศาลปกครองยับยั้งได้ แต่กฤษฎีกาชี้ชัด เมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้วต้องให้ กสทช.นำมาจัดสรรตาม กม. ด้าน “ฐากร” ยัน กสทช.พร้อมประมูลสุดขีด
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือสอบถามสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องอำนาจในการนำคลื่น 900 MHz ของทีโอที ที่หมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดยขอให้ตรวจสอบการทำงานของ กสทช.ว่ามีอำนาจในการนำคลื่นมาประมูลหรือไม่นั้น โดยเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แจ้งผลการวินิจฉัยต่อ นายอนุชิต โดยมีใจความว่า ขอให้ประธานกรรมการทีโอที และปลัดกระทรวงการคลังในฐานะมีอำนาจกำกับดูแลกิจการและกำหนดนโยบายของบริษัทพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายว่าการนำคลื่นมาประมูลมีผลกระทบต่อทีโอทีโดยตรงหรือไม่ หากมีผลกระทบก็สามารถฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครองได้
     
       ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือตอบกลับมายังทีโอทีถึงประเด็นดังกล่าวเช่นกัน โดยระบุว่า ทีโอที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ใช้บังคับ ได้นำคลื่นย่าน 900 MHz ไปให้ เอไอเอส ประกอบกิจการโดยทำเป็นสัญญาอนุญาตโดย กสทช.แล้ว แต่โดยที่มาตรา 84 วรรค 4 แห่งื พ.ร.บ.กสทช.บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ซึ่งในแผนแม่บทดังกล่าวข้อ 8.2.1 ได้กำหนดแนวทางการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ไว้ว่า กรณีส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่นำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย กสทช.แล้วให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญา
     
       ดังนั้น เมื่อสัญญาอนุญาตระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.2558 สิทธิตามกฎหมายของทีโอทีในการใช้คลื่น 900 MHz จึงสิ้นสุดลงตามข้อ 8.2.1 ของแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ทีโอทีจึงต้องคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่ กสทช.เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ฯ นับแต่วันที่สัญญาอนุญาตสิ้นสุดลง
     
       นายฐากร ระบุว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช.ได้เตรียมพร้อมสำหรับการจัดประมูลเรียบร้อยแล้วทุกด้าน ทั้งสถานที่ ระบบซอฟต์แวร์ประมูล บุคลากร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในวันที่ 15 ธ.ค.2558 พิธีเปิดการประมูลจะเริ่มเวลา 07.00 น. และเริ่มเคาะราคาประมูลเวลา 09.00 น.เป็นต้นไป และได้รับการยืนยันจากประธาน กสทช.ของมาเลเซีย และกัมพูชาที่จะเข้าร่วมสังเกตการณ์การประมูลครั้งนี้ด้วย
     
       สำหรับคลื่น 900 MHz ที่นำมาประมูลประกอบด้วย 2 ชุดคลื่นความถี่ คือ ชุดที่ 1 คลื่น 895-905 MHz คู่กับ 940-950 MHz และชุดที่ 2 คลื่น 905-915 MHz คู่กับคลื่น 950-960 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาตๆ ละ 10 MHz มีอายุใบอนุญาต 15 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมการประมูล 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ 4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
     
       ทั้งนี้ ราคาขั้นต่ำในการประมูลอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท โดยทั้ง 4 รายต้องถูกบังคับเคาะประมูลรอบแรกที่ราคา 13,508 ล้านบาท จากนั้นการประมูลจะเพิ่มขึ้นรอบละ 644 ล้านบาท เมื่อราคาประมูลไปถึง 16,080 ล้านบาท การเคาะราคาประมูลจะเพิ่มขึ้นรอบละ 322 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เวลาในการประมูลแต่ละรอบ 15 นาที รวมการประมวลผลอีก 5 นาที เป็น 20 นาที ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลมีสิทธิในการไม่เสนอราคา (Waiver) ได้ 3 ครั้ง

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000137132&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+15-12-58&utm_campaign=20151215_m128865992_MGR+Morning+Brief+15-12-58&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_A4_E0_B8_A9_E0_B8_8E_E0_B8_B5_E0_B8_81_E0_B8_B2_E0_B8_8A_E0_B8_B5_E0_B9_89_E0_B8_84_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.