Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 มูลค่าตลาดอีบุ๊กใน 2558 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนไม่ถึง 10% ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 25,000 ล้านบาท แต่จะค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงไม่สามารถคาดการณ์มูลค่าตลาดได้จะเป็นเท่าใดในปี 2559 นี้

ประเด็นหลัก


นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีบุ๊ก กล่าวว่า มูลค่าตลาดอีบุ๊กใน 2558 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนไม่ถึง 10% ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 25,000 ล้านบาท แต่จะค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงไม่สามารถคาดการณ์มูลค่าตลาดได้จะเป็นเท่าใดในปี 2559 นี้

จากผู้เล่นในตลาด 4-5 ราย แต่บริษัทจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ไว้ให้ได้ ด้วยการร่วมกับสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเร่งทำโปรโมชั่นหลายรูปแบบ






__________________________________________________________






"หนัง-การ์ตูน-เพลง" ขี่กระแส 4G มุ่ง "ดิจิทัล"


"ดิจิทัลคอนเทนต์" ขี่คลื่น 4G โตฉุดไม่อยู่ "หนัง-การ์ตูน-เพลง" บูม ค่ายหนังออนไลน์ "ไพร์มไทม์" ทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ปั๊มฐานลูกค้า "ไลน์" ย้ำขาขึ้นดิจิทัลคอนเทนต์ไทย โชว์ยอดดาวน์โหลด "ไลน์มิวสิค-ไลน์เว็บตูน" พุ่งปรู๊ด "วิธิตา-อุ๊คบี" โหมกระแส "อีบุ๊ก" ปั๊มรายได้

นายกษิดิศ กลศาสตร์เสนี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพร์มไทม์ เอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้ให้บริการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปี 2559 บริษัทยังจะมีการลงทุนต่อเนื่อง ทั้งในแง่การทำตลาดและการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เพื่อผลักดันยอดผู้ใช้งานในระบบให้ถึง 6-7 ล้านไอดีตามเป้าหมาย เพิ่มจากปี 2558 ที่ผ่านมาหลายเท่าตัว พร้อมกับตอกย้ำจุดเด่นเรื่องความหลากหลายของคอนเทนต์ และการมีภาพยนตร์ใหม่ที่เพิ่งออกโรงภาพยนตร์มาฉาย รวมถึงการขยายความร่วมมือกับค่ายมือถือทั้งในการชำระค่าบริการ และการทำตลาด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

"เราเปิดให้บริการเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว และเติบโตต่อเนื่องอย่างรวดเร็วมาก ด้วยการมีผู้ใช้รายใหม่เพิ่มขึ้นเดือนละ 3-4 แสนไอดี จนถึงเดือนที่ 10 ก็มีผู้ใช้ครบ 1 ล้านไอดี มีการลงทุนหลักร้อยล้านบาท ทั้งการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ และซีรีส์ รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งในปี 2559 นี้จะใช้เงินลงทุนในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความเร็วอินเทอร์เน็ตบน 4G เป็นอีกตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ"

ปัจจุบัน "ไพร์มไทม์" ให้บริการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์, หน้าเว็บไซต์บนคอมพิวเตอร์ และสมาร์ททีวี มี 3 แพ็กเกจ คือ 99 บาท/เดือน รับชมภาพยนตร์ และซีรีส์ได้ราว 500 เรื่อง, 199 บาท รับชมภาพยนตร์ได้ทุกเรื่อง และ 299 บาท รับชมภาพยนตร์และซีรีส์ได้ทุกเรื่อง

ส่วนภาพยนตร์ที่เพิ่งออกจากโรงภาพยนตร์คิดค่าบริการเริ่มต้น 79 บาท มีกว่า 145 เรื่อง เช่น Ant-Man และ Inside Out เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทเตรียมระดมทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างบริการในระดับภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังร่วมกับผู้ผลิตโทรทัศน์ทั้งซัมซุง และแอลจี นำแอปพลิเคชั่นไปติดตั้งบนสมาร์ททีวีตั้งแต่ออกจากโรงงานเพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ และภายในไตรมาสแรกเตรียมวางจำหน่ายกล่องไอพีทีวีของบริษัทเพื่อขยายช่องทางการรับชมคอนเทนต์ด้วย

"ก่อนหน้านี้เราเคยทดลองทำตลาดไอพีทีวีร่วมกับซีทีเอช ในช่วงที่มีการถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ทำให้ได้ผู้ใช้รายใหม่เข้ามาจำนวนหนึ่ง เราจึงตัดสินใจลงทุนผลิตกล่องไอพีทีวีของตนเองออกมา เพื่อใช้รับชมรายการของไพร์มไทม์ได้ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการของบริษัทได้ง่ายขึ้น คาดว่าปี 2559 จะเป็นปีแห่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจดูหนังออนไลน์ โดยผู้เล่นในตลาดเกือบ 10 ราย คงแข่งกันลงทุน ทำให้มูลค่าตลาดเติบโตเป็น 100% จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 300-400 ล้านบาทแต่ก็ยังไม่ถึง 10% ของอุตสาหกรรมโฮมดีวีดี ที่เมื่อ 2 ปีก่อนมีมูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท และเติบโตลดลง 20% ทุกปี

ด้านนายอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ ไลน์ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไลน์มีจำนวนฐานลูกค้าที่ใช้งานแอปพลิเคชั่นแชตถึง 33 ล้านไอดี (ณ เดือน ต.ค. 2558) ซึ่งจะต่อยอดไปให้บริการอื่น ๆ ได้อีกมาย เฉพาะบริการมิวสิกสตรีมมิ่ง (Line Music) หลังเปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เพียง 5 เดือน มียอดดาวน์โหลดไปแล้ว 5 ล้านครั้ง เนื่องจากแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตเร็วขึ้น และราคาถูกลงมาก จึงส่งเสริมให้มีการใช้งานมากขึ้น แทนการซื้อแผ่นซีดีหรือซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยบริษัทได้ร่วมกับค่ายเพลงชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ อาร์เอส และแกรมมี่ เป็นต้น นำเสนอบริการฟังเพลงไม่จำกัด (มีมากกว่า 1 แสนเพลง) คิดค่าบริการเหมาจ่าย 60 บาท/30 วัน

"เราเห็นโอกาสทางธุรกิจจึงเปิดบริการ Line Music มีกิจกรรมการตลาดเพื่อโปรโมตบริการทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ เช่น จัดคอนเสิร์ตร่วมกับศิลปิน ซึ่งในปี 2559 จะรุกตลาดต่อเนื่องเพื่อดึงผู้ใช้งานไลน์ที่มี 33 ล้านไอดี ให้เข้ามาใช้งานมากขึ้น แม้ตลาดเพลงออนไลน์จะมีผู้เล่นหลากหลาย คาดว่าบริการ 4G จะเข้ามาช่วยให้การฟังเพลงออนไลน์ดีขึ้น คาดว่ามูลค่าตลาดปี 2559 จะโตขึ้น 3-5% จากปีที่ผ่านมา"

นอกจากนี้ บริษัทยังมีบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับดิจิทัลคอนเทนต์ เช่น Line TV รวบรวมคอนเทนต์จากผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มาเผยแพร่ โดยในไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการรับชมเติบโตจากไตรมาส 2 ถึง 118% รวมถึงมี Line Webtoon บริการหนังสือการ์ตูนออนไลน์ที่รวบรวมงานของนักเขียนอิสระจำนวนมากไว้ ซึ่งนักเขียนมีโอกาสนำแคแร็กเตอร์ในการ์ตูนไปต่อยอดธุรกิจได้ เช่น จำหน่ายสติ๊กเกอร์ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ นายกริช โทมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานจีเอ็มเอ็ม มิวสิค บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่าตลาดเพลงดิจิทัลในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท เป็นเพลงไทย 90% และแกรมมี่มีส่วนแบ่งตลาด 70%

ด้านนายสันติ เลาหบูรณะกิจ กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทบันลือกรุ๊ป และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด กล่าวว่า ตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศไทยเติบโตก้าวกระโดด จากปัจจัยสนับสนุนหลายด้านทั้งความครอบคลุมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสาย และไร้สาย, ความเร็วในการใช้งานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ที่รองรับได้มีความหลากหลายในราคาไม่แพง แต่ที่สำคัญกว่าเป็นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้งานดิจิทัลคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ทำให้มูลค่าตลาดปี 2558 ที่ผ่านมา มีมากกว่า 15,000 ล้านบาท อ้างอิงจากข้อมูลการสำรวจของงานสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า

"วิธิตาดูแลดิจิทัลคอนเทนต์ของกลุ่มบันลือทั้งหมด เช่น นำหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ และมหาสนุกมาแปลงเป็นอีบุ๊กเพื่อจำหน่ายในอีบุ๊กสโตร์ รวมถึงการพัฒนาแคแร็กเตอร์กลุ่มบันลือให้ไปเป็นแอนิเมชั่น, ทำสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อจำหน่าย เป็นต้น

 ซึ่งในปี 2559 ก็จะยังเน้นการพัฒนาเนื้อหาไปเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลเช่นเดิม แต่จะเน้นไปที่การทำสติ๊กเกอร์ในไลน์มากขึ้น ซึ่งจะมีทั้งเป็นแคแร็กเตอร์การ์ตูนของเรา และรับจ้างผลิต ซึ่งใน 1-2 ปีที่ผ่านมามีรายได้จากการรับจ้างผลิตสติ๊กเกอร์ค่อนข้างมาก"

นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีบุ๊ก กล่าวว่า มูลค่าตลาดอีบุ๊กใน 2558 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนไม่ถึง 10% ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 25,000 ล้านบาท แต่จะค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงไม่สามารถคาดการณ์มูลค่าตลาดได้จะเป็นเท่าใดในปี 2559 นี้

จากผู้เล่นในตลาด 4-5 ราย แต่บริษัทจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ไว้ให้ได้ ด้วยการร่วมกับสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเร่งทำโปรโมชั่นหลายรูปแบบ




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1451579166

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.