Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช. การลดค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.จากเดิมที่เคยประกาศ 0.1-2% กสทช.จะพยายามเก็บให้น้อยที่สุดตามแนวทางของกฤษฎีกา เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังมีอุปสรรคหลายด้าน 3.กสทช. จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.ย้อนหลัง

ประเด็นหลัก



ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำหรับขั้นตอนที่ กสทช.สามารถเริ่มต้นทำได้ทันทีมีทั้งหมด 3 ด้าน คือ
1.แจกคูปองเพิ่มขึ้นให้ครอบ
คลุมประชากรคนไทยทุกครัวเรือนจากปัจจุบันที่แจกไปแล้ว 13.7 ล้านครัวเรือนเพิ่มเป็น 22 ล้านครัวเรือน
2.การลดค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.จากเดิมที่เคยประกาศ 0.1-2% กสทช.จะพยายามเก็บให้น้อยที่สุดตามแนวทางของกฤษฎีกา เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังมีอุปสรรคหลายด้าน 3.กสทช. จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.ย้อนหลัง

อนึ่ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 สำนักงานกสทช.เชิญคณะทำงานแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอลร่วมประชุมทุกฝ่ายเพื่อรับฟังปัญหา อาทิ ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ ผู้ประกอบการสถานีโครงข่าย ธนาคาร อื่นๆโดยที่ประชุมนัดแรกครั้งนี้ค่อนข้างเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งเบื้องต้นมีผู้ประกอบการจากช่องทีวีดิจิตอลจำนวน 24 ช่องได้ให้ข้อเสนอมา 10 ข้อ คือ 1.การขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาต งวดที่ 3 2.การขอขยายเวลาใบอนุญาตออกไปเพิ่ม 3.การขอหยุดพักประกอบกิจการหากไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้

4.การเยียวยาให้ผู้ประกอบการกรณีต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ คูปอง อื่นๆ เป็นต้น 5.การเรียงช่องทุกแพลตฟอร์ม 6.การแจกคูปอง 7.เร่งการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมและเข้าถึงทุกครัวเรือน 8.การวัดเรตติ้ง 9.ค่าธรรมเนียมจัดเข้ากองทุนกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทปส.) และ10.กฎมัสต์แคร์รี




________________________________



จี้กสทช.คลอดแอกชันแพลน หาข้อยุติทีวีดิจิตอล29ก.พ.นี้
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 28 มกราคม 2559 93

จี้กสทช.คลอดแอกชันแพลน หาข้อยุติทีวีดิจิตอล29ก.พ.นี้

ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล จ่อถามตรงกสทช.หาแอกชันแพลนเดินหน้าแก้ปัญหา มากกว่าหัวข้อฮาวทู พร้อมเปิดโต๊ะคุยนอกรอบหวังหาข้อยุติก่อน 29 มกราคมนี้ ด้านกสทช.เผยแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ทันที 3 ด้าน

นายเขมทัตต์ พลเดช อุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล PPTV HD เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการประชุมแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอลร่วมกันทุกฝ่ายเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ที่ผ่านโดยส่วนตัวเห็นว่าข้อสรุปที่กสทช.ระบุมาเป็นเพียงแค่หัวข้อ How To เท่านั้นไม่ได้เป็น Action Plan แต่อย่างใด ซึ่งสมาคมอยากให้กสทช.วางแผนแนวทางดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อหาข้อยุติที่ดีร่วมกันก่อนวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี้

“ข้อสรุปที่กสทช.ระบุมาเป็นเพียงแค่หัวข้อ How To เท่านั้นไม่ได้เป็น Action Plan แต่อย่างใด ซึ่งในฝั่งของผู้ประกอบการเอกชนต้องการเห็นวิธีการและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมากกว่า ขณะที่ทางฝ่ายกสทช.จะคิดในเชิงกฎหมาย ซึ่งเป็นการมองต่างมุมระหว่างภาคเอกชนและกสทช. ดังนั้นหากยังเป็นแบบนี้ต่อไปจะส่งผลให้ข้อเสนอที่ฝ่ายเอกชนขอจำนวน 10 ข้อยืดเวลาออกไปอีก และสุดท้ายจะเข้าสู่ขั้นตอนของการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตการประมูลงวดที่ 3 เช่นเดียวกับ 2 ปีที่ผ่านมา”

สำหรับในวันที่ 27 มกราคมนี้ เวลา 13.00 น.จะมีการนัดประชุมระหว่างผู้ประกอบการและกสทช.นอกรอบอีกครั้ง ซึ่งในวันนั้นสมาคมจะยื่นข้อเสนอให้กสทช.ทำแผนเป็นขั้นตอน Action Plan ออกมา เพราะไม่อย่างนั้นข้อเสนอดังกล่าวจะถูกยืดเวลาออกไปอีก และไม่เห็นผลชัดเจน


ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำหรับขั้นตอนที่ กสทช.สามารถเริ่มต้นทำได้ทันทีมีทั้งหมด 3 ด้าน คือ
1.แจกคูปองเพิ่มขึ้นให้ครอบ
คลุมประชากรคนไทยทุกครัวเรือนจากปัจจุบันที่แจกไปแล้ว 13.7 ล้านครัวเรือนเพิ่มเป็น 22 ล้านครัวเรือน
2.การลดค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.จากเดิมที่เคยประกาศ 0.1-2% กสทช.จะพยายามเก็บให้น้อยที่สุดตามแนวทางของกฤษฎีกา เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังมีอุปสรรคหลายด้าน 3.กสทช. จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนกทปส.ย้อนหลัง

อนึ่ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 สำนักงานกสทช.เชิญคณะทำงานแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอลร่วมประชุมทุกฝ่ายเพื่อรับฟังปัญหา อาทิ ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ ผู้ประกอบการสถานีโครงข่าย ธนาคาร อื่นๆโดยที่ประชุมนัดแรกครั้งนี้ค่อนข้างเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งเบื้องต้นมีผู้ประกอบการจากช่องทีวีดิจิตอลจำนวน 24 ช่องได้ให้ข้อเสนอมา 10 ข้อ คือ 1.การขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาต งวดที่ 3 2.การขอขยายเวลาใบอนุญาตออกไปเพิ่ม 3.การขอหยุดพักประกอบกิจการหากไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้

4.การเยียวยาให้ผู้ประกอบการกรณีต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ คูปอง อื่นๆ เป็นต้น 5.การเรียงช่องทุกแพลตฟอร์ม 6.การแจกคูปอง 7.เร่งการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมและเข้าถึงทุกครัวเรือน 8.การวัดเรตติ้ง 9.ค่าธรรมเนียมจัดเข้ากองทุนกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทปส.) และ10.กฎมัสต์แคร์รี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,126 วันที่ 28 – 30 มกราคม พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/01/28/28170

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.