Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้บริโภคในประเทศไทยการใช้เวลาบนจอสมาร์ทโฟนสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงร้อยละ 20 ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้เวลากับการดูวีดิโอมากที่สุดในโลก โดยมีไนจีเรียติดอันดับประเทศที่ดูวีดิโอมากที่สุดในโลก คือ 4.5 ชั่วโมงต่อวัน

ประเด็นหลัก



ผลวิจัยยังแสดงข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยการใช้เวลาบนจอสมาร์ทโฟนสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงร้อยละ 20 ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้เวลากับการดูวีดิโอมากที่สุดในโลก โดยมีไนจีเรียติดอันดับประเทศที่ดูวีดิโอมากที่สุดในโลก คือ 4.5 ชั่วโมงต่อวัน และฮังการีเป็นประเทศที่ใช้เวลาในการดูวีดิโอน้อยที่สุด คือ 2.5 ชั่วโมงต่อวัน รายงานผลการวิจัยประจำปี 2558 ดังกล่าว จัดทำโดยบริษัท มิลวาร์ด บราวน์ บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก ที่ได้มีการสำรวจผู้ใช้งานอุปกรณ์มัลติสกรีนผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต อายุระหว่าง 16-45 ปี จำนวนกว่า 13,500 คน ใน 42 ประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ผลงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมในการรับชมวีดิโอของผู้บริโภคว่า มีลักษณะการชมอย่างไร รับชมที่ไหน และทำไมถึงเลือกรับชมวีดิโอ ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคเปิดดูโฆษณา และรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานโฆษณาในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านจออุปกรณ์ที่แตกต่างกันควรเป็นอย่างไร

สำหรับ ประเทศไทย ผลวิจัยระบุว่าการรับชมวีดิโอโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้านและผ่านสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก ในขณะที่การชมวีดิโอผ่านสื่อดิจิตอลเกิดขึ้นทั้งที่บ้าน ในขณะเดินทางและที่ทำงาน ผลวิจัยยังพบอีกว่า โทรทัศน์มักเป็นช่องทางการบริโภคสื่อภายใต้บริบททางสังคม ซึ่งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะดูทีวีร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ส่วนการดูผ่านสื่อดิจิตอลนั้น ผู้บริโภคชาวไทยซึ่งมีมากถึงร้อยละ 50 มักทำโดยลำพัง



________________________________


ผลสำรวจ เผยคนไทยใช้เวลาบนจอสมาร์ทโฟนเพื่อดูวิดีโอนานติดอันดับโลก



ผลสำรวจการตอบสนองโฆษณาบนวีดิโอสื่อดิจิตอล ของมิลวาร์ด บราวน์ พบว่า ผู้ใช้อุปกรณ์มัลติสกรีนในประเทศไทย ระบุคนไทยชมวีดิโอผ่านสื่อดิจิตอลมากกว่าโทรทัศน์ และยังติดกลุ่มประเทศที่ใช้เวลาสูงสุดบนหน้าจอ 4.1 ชั่วโมงต่อวัน...

ผลการวิจัยล่าสุดในหัวข้อ AdReaction: Video Creative in a Digital World, ของ มิลวาร์ด บราวน์ พบว่า ผู้ใช้อุปกรณ์มัลติสกรีน (multiscreen users) ในประเทศไทย ใช้เวลารับชมวีดิโอคอนเทนต์ผ่านสื่อดิจิตอลมากกว่าโทรทัศน์ โดยผู้บริโภคชาวไทยใช้เวลาอยู่กับหน้าจอรวมๆ แล้วนานถึง 463 นาทีต่อวัน ซึ่งร้อยละ 54 ของเวลาที่ใช้บนหน้าจอนั้นเป็นการชมวีดิโอคอนเทนต์นานถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน (246 นาที, 4.1 ชั่วโมง) เมื่อดูเจาะถึงเวลาในการชมวีดิโอนั้น พบว่า ร้อยละ 59 เป็นการรับชมผ่านช่องทางดิจิตอล เช่น สมาร์ทโฟน (76 นาที) แท็บเล็ต (29 นาที) แล็ปท็อป (42 นาที) และร้อยละ 41 รับชมผ่านทางโทรทัศน์ (102 นาที)

ผลวิจัยยังแสดงข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยการใช้เวลาบนจอสมาร์ทโฟนสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงร้อยละ 20 ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้เวลากับการดูวีดิโอมากที่สุดในโลก โดยมีไนจีเรียติดอันดับประเทศที่ดูวีดิโอมากที่สุดในโลก คือ 4.5 ชั่วโมงต่อวัน และฮังการีเป็นประเทศที่ใช้เวลาในการดูวีดิโอน้อยที่สุด คือ 2.5 ชั่วโมงต่อวัน รายงานผลการวิจัยประจำปี 2558 ดังกล่าว จัดทำโดยบริษัท มิลวาร์ด บราวน์ บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก ที่ได้มีการสำรวจผู้ใช้งานอุปกรณ์มัลติสกรีนผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต อายุระหว่าง 16-45 ปี จำนวนกว่า 13,500 คน ใน 42 ประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ผลงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมในการรับชมวีดิโอของผู้บริโภคว่า มีลักษณะการชมอย่างไร รับชมที่ไหน และทำไมถึงเลือกรับชมวีดิโอ ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคเปิดดูโฆษณา และรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานโฆษณาในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านจออุปกรณ์ที่แตกต่างกันควรเป็นอย่างไร

สำหรับ ประเทศไทย ผลวิจัยระบุว่าการรับชมวีดิโอโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้านและผ่านสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก ในขณะที่การชมวีดิโอผ่านสื่อดิจิตอลเกิดขึ้นทั้งที่บ้าน ในขณะเดินทางและที่ทำงาน ผลวิจัยยังพบอีกว่า โทรทัศน์มักเป็นช่องทางการบริโภคสื่อภายใต้บริบททางสังคม ซึ่งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะดูทีวีร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ส่วนการดูผ่านสื่อดิจิตอลนั้น ผู้บริโภคชาวไทยซึ่งมีมากถึงร้อยละ 50 มักทำโดยลำพัง
ผลวิจัย AdReaction ยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆ สำหรับบริษัทและนักการตลาดของไทย เพื่อสร้างสรรค์วีดิโอคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้

1. คนไทยรับได้กับการเป็นเป้าหมายทางการตลาด แต่ไม่ชอบถูกสะกดรอยตาม ผลวิจัยพบว่าผู้บริโภคชาวไทยเป็นกลุ่มที่ยอมรับได้มากที่สุดสำหรับการถูกจัดให้เป็นกลุ่มเป้าหมายของวีดิโอโฆษณาตามแบรนด์ที่ตนชื่นชอบ (ประเทศไทยรับได้ร้อยละ 43 ทั่วโลกรับได้ร้อยละ 40) และตามความสนใจ (ประเทศไทยรับได้ร้อยละ 42 ทั่วโลกรับได้ร้อยละ 41) แต่ชาวไทยจะยอมรับน้อยที่สุดหากเป็นโฆษณาที่เข้าถึงตนโดยเป็นผลมาจากการ ติดตามประวัติการเข้าเว็บไซต์ โดยเฉพาะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (ประเทศไทยรับได้ร้อยละ 27 ทั่วโลกรับได้ร้อยละ 25) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แอพพลิเคชั่นที่คำนึงถึงเรื่องความละเอียดอ่อนด้านความรู้สึกมาใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายน่าจะมีความเหมาะสมที่สุด

2. ความสำคัญของปัจจัยแวดล้อม ร้อยละ 43 ของผู้บริโภคชาวไทย กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะข้าม (Skip) การชมวีดิโอโฆษณาออนไลน์น้อยลง และจะรู้สึกสนใจมากขึ้นหากโฆษณาวีดิโอออนไลน์นั้นมีการนำเสนอสิ่งตอบแทน โดยเป็นรูปแบบโฆษณาที่คนไทยเปิดรับได้มากที่สุด นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวไทยยังเปิดรับโฆษณาที่สามารถข้ามการรับชมได้ (ประเทศไทยรับได้ร้อยละ 28 ทั่วโลกรับได้ร้อยละ 34) และโฆษณาในรูปแบบที่มี click-to-play ที่ให้อำนาจผู้บริโภคในการเลือกรับชม (ประเทศไทยยอมรับร้อยละ 36 และทั่วโลกยอมรับร้อยละ 28) ผู้บริโภคยังรู้สึกด้วยว่าตนมีอำนาจในการเลือกรับชมโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอล มากกว่าการชมผ่านโทรทัศน์ โดยคนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิตอลที่ทำให้ตนรู้สึกว่ามีอำนาจมากที่สุดในการเลือกชมโฆษณาคือ แล็ปท็อป (ประเทศไทยลงความเห็นร้อยละ 69 ทั่วโลกลงความเห็นร้อยละ 63)

3. เนื้อหาสำคัญที่สุด ผลวิจัยระบุว่า การคำนึงถึงสื่อดิจิตอลตั้งแต่ขั้นตอนแรกของกระบวนการสร้างสรรค์งานโฆษณา เป็นสิ่งจำเป็น และควรคำนึงถึงความเหมาะสมของโฆษณาดังกล่าวเมื่อปรากฏบนจออุปกรณ์ต่างๆ และแม้รูปแบบของวีดิโอโฆษณาที่ผู้บริโภคสามารถกดข้ามได้ ยังคงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับการสร้างสรรค์งานโฆษณา แต่ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ บริษัทจึงควรมุ่งสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นให้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกของวีดิโอโฆษณา

นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิลวาร์ด บราวน์ ไฟร์ฟลาย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ ได้ในวงกว้าง แต่แบรนด์ต้องใส่ใจในรายละเอียดเมื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่ถนัดและรอบรู้การใช้สื่อดิจิตอล เพราะเราไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิมๆ แบบเดียวกับที่ใช้กับโทรทัศน์ได้อีกต่อไป ผลวิจัยนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยได้พัฒนาไปพร้อมกับอิทธิพลของสื่อดิจิตอล และมีความต้องการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกรับชมผ่านหน้าจอต่างๆ ดังนั้น นักการตลาดจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการรับมือให้เหมาะสม.


http://www.thairath.co.th/content/565858

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.