Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) เกมไล่ล่าชิงตลาด 4 จี หมากตานี้เดิมพันร้อนแรง // DTAC มีแผนขยาย 4จี ทุกสถานีฐานประมาณไตรมาส 3 ปีนี้ พร้อมทั้งรุกตลาดด้วยโปรโมชันสมาร์ทโฟน 4จี และแพ็กเกจ 4จี ที่น่าสนใจอีกมากมายในเร็วๆ นี้”

ประเด็นหลัก






ดีแทคมั่นใจฐานที่มั่นไม่สั่นคลอน

พลันที่ เอไอเอส แถลงข่าว 4G ADVANCED ทางฝ่ายดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผยข้อมูล 4จี สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ดันไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล และ ปีนี้เป็นปีที่ 4 จี จะมีบทบาทสำคัญ คือ 4จี ตอบสนองความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือ พร้อมทั้ง 4จี ได้เร่งการใช้งานดาต้าแบบก้าวกระโดดในสังคมไทย และมีการใช้งานดาต้าบน 4จี ด้วยจำนวนปริมาณดาต้าที่มากกว่าการใช้งาน 3 จี ทั้งในธุรกิจและชีวิตประจำวัน และ 2. ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่ยุค 4จี ด้วยความพร้อมของอุปกรณ์ 4 จี หรือสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน และทิศทางตลาดที่ตอบรับผลิตภัณฑ์ใหม่จาก 4 จี โดยปีนี้จะเป็นการวางรากฐานและขยายโครงข่าย 4 จี ของประเทศไทยและจะมีการนำเทคโนโลยีที่เพิ่มศักยภาพ 4 จี มาเปิดให้บริการ

3. การใช้งาน 4จี สนับสนุนความต้องการชมคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเชื่อมต่อของอินเตอร์เน็ตบนมือถือ ทำให้แอพพลิเคชันในการรับชมวิดีโอคลิปได้รับความนิยม และแอพพลิเคชันถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เน็ต Streaming จะมีบทบาทและเติบโตมากขึ้นในยุค 4จี


“ดีแทค มั่นใจในการให้บริการ 4จี เพื่อลูกค้า รวมถึงทุกคลื่นที่นำมาให้บริการในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 50 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็นคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10, 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ โดย ดีแทค อยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งในตลาดโทรคมนาคม ด้วยการให้บริการจากการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมด และ มีแผนขยาย 4จี ทุกสถานีฐานประมาณไตรมาส 3 ปีนี้ พร้อมทั้งรุกตลาดด้วยโปรโมชันสมาร์ทโฟน 4จี และแพ็กเกจ 4จี ที่น่าสนใจอีกมากมายในเร็วๆ นี้”





_____________________________________________________




เกมไล่ล่าชิงตลาด 4 จี หมากตานี้เดิมพันร้อนแรง


เกมไล่ล่าชิงตลาด 4 จี หมากตานี้เดิมพันร้อนแรง

พลันที่ค่ายมือถือเบอร์ 1 เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ออกมาแถลงข่าวขับเคลื่อน 4จี ภายใต้หัวข้อ “4G ADVANCED” โลกใหม่ ประสบการณ์ใหม่ โดยมีบริษัทในเครือคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบิวเอ็น ซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จำนวน 2 ใบอนุญาต คือ คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี และ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี เพื่อให้บริการคลื่นความถี่

เมื่อเปิดตัว 4 จีแล้ว เอไอเอส ต้องหาจุดขายเพื่อช่วงชิงลูกค้า จุดขายที่ เอไอเอส นำมาเป็นตัวขับเคลื่อนนั้นก็ คือ เทคโนโลยี LTE ADVANCED (LTE-A) ความเร็วแรงถึง 150 เมกะบิตมาเป็นจุดขาย

เอไอเอสชิงเกมอัดแคมเปญต่ำสุด

ไม่เพียงแต่จุดขายเรื่องความเร็วและแรงเท่านั้น หากแต่ เอไอเอส ออกถึง 3 แพ็กเกจ แพ็กเกจแรก คือ MAX SPEED เล่นเน็ตเต็มแม็กซ์ ไม่มีสะดุด 10 กิกะไบต์ เพียง 488 บาท โดยมีแพ็กเกจจำนวนทั้งสิ้น 7 แพ็กเกจ โดยมีค่าบริการรายเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 299 บาท เล่นเน็ตทั้งระบบ 3 และ 4 G จำนวน 1.5 กิกะไบต์ ส่วนค่าบริการสูงสุดอยู่ที่ 1,888 บาท เล่นเน็ตได้สูงสุด 75 กิกะไบต์

ส่วนแพ็กเกจที่ 2 คือ MULTI เบอร์เดียว…เล่นเน็ต 4 จี เต็มสปีดได้ถึง 5 เครื่อง มีแพ็กเกจให้เลือกจำนวน 5 แพ็กเกจ คือ ค่าบริการรายเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 488 บาท เล่นเน็ตได้ 10 กิกะไบต์ และ สูงสุดอยู่ที่ 1,888 บาทเล่นเน็ตสูงสุดที่ 75 กิกะไบต์ และ แพ็กเกจที่ 3 คือ SHARE แพ็กเกจเดียว..แชร์ทั้งโทร.และเน็ตได้หลายคน สูงสุดถึง 75 กิกะไบต์ มีจำนวน 3 แพ็กเกจ ค่ารายเดือน 888 บาท เล่นเน็ตได้ 30 กิกะไบต์ และค่ารายเดือนอยู่ที่ 1,888 บาท เล่นเน็ตได้ 75 กิกะไบต์

“ปีนี้ถือว่าเป็นสงครามราคาเพราะค่าบริการได้ระบุชัดเจน จำกัดปริมาณการใช้ ไม่ได้อันลิมิเต็ด แต่ โปรโปชัน ที่ เอไอเอส ออกมาในครั้งนี้พูดได้ว่า ต่ำสุดในตลาด เพราะราคา 488 บาทต่อเดือนที่ให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี 10 กิกะไบต์เป็นแพ็กเกจที่ได้รับความนิยม”นั่นคือคำบอกเล่าของ นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการ ผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส

เร่งติดตั้งเพิ่ม 1.4 หมื่นสถานี

ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ เอไอเอส ได้เปิดให้บริการเทคโนโลยี LTE ADVANCED (LTE-A) โลกใหม่ บริการใหม่ ด้วยการนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของ เอไอเอส และ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะพันธมิตรนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งสิ้น 42 จังหวัดมีจำนวนสถานีฐาน 7 พันสถานีใช้เวลาติดตั้งภายใน 60 วัน เป็นการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด และ เร็วที่สุด และภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ เอไอเอส จะมีสถานีฐานครอบคลุมทั้งสิ้น 14,00 สถานีครอบคลุมพื้นที่ 72 จังหวัด

สำหรับ AIS 4G ADVANCED มีจุดเด่นที่แตกต่าง 4 อย่าง คือ 1.Best Network จุดแข็งสำหรับ เอไอเอส แต่เมื่อโลกของ 4 จี เร็วขึ้นต้อง beyond หรือก้าวหน้า เพราะฉะนั้นความเร็วของ LTE-A จะเร็วถึง 150 เมกะบิต 2.Best Application 4 จี เร็วเหมือนถนนต้องมีคอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคนไทย คือ คอนเทนต์ทางด้านวิดีโอ ส่วนบริการคลาวด์ ผู้ใช้บริการรายเดือนของ เอไอเอส ใช้ได้ฟรีถึง 100 กิกะบิต ถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ 3.Best Service ไม่ใช่แค่จุดแข็งเรื่องเครือข่าย การบริการต้องมีจุดแข็งเช่นเดียวกัน และ Best People หมายถึงพยายามทำตัวให้เป็นคนดีเพื่อให้บริการกับลูกค้า
นอกจากนี้ นายสมชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากที่ เอไอเอส ได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จาก กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ติดตั้งเครือข่ายและพัฒนาบริการด้วยงบประมาณ 14,520 ล้านบาท

“ตลอดระยะเวลา 25 ปีและย่างเข้าปีที่ 26 เราได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไม่น้อยกว่า 2.5 แสนล้านบาทและได้นำส่งให้ ทีโอที ในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน และ ในปีนี้เป็นปีแรกที่ เอไอเอส ให้บริการภายใต้ใบอนุญาตของ กสทช.อย่างสมบูรณ์แบบหลังสัญญาสัมปทานกับ ทีโอทีสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2558 ปีนี้ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมอยู่ภายใต้สัญญาของ กสทช.”

อย่างไรก็ตาม แม้ เอไอเอส ได้คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ช้ากว่าคู่แข่ง 2 ปี แต่การติดตั้งเครือข่ายเร็วและแรงที่สุด มีเครือข่าย 3 จี จำนวน 27,000 สถานีครอบคลุมเท่ากับคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ปัจจุบันได้ส่งมอบให้ บมจ.ทีโอที ไปแล้วจำนวน 13,000 สถานี แม้คลื่นดังกล่าวจะส่งสัญญาณสั้นแต่ส่งสัญญาณไกลเพราะมีแถบคลื่นความถี่ขนาดยาวแต่ เอไอเอส เพิ่มศักยภาพเข้าไปในเครือข่าย 2100 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

“เราประมูลคลื่นความถี่ 900 ไม่ได้แต่ลูกค้าก็ไม่มีปัญหาเพราะ เอไอเอส ได้ลงทุน 2 หมื่นล้านบาทเสริมจุดแข็งเครือข่าย 3 จี และจะขออนุมัติบอร์ดอีก 2 หมื่นล้านบาทติดตั้งเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่และศักยภาพเครือข่ายเพิ่มเติม”

ดีแทคมั่นใจฐานที่มั่นไม่สั่นคลอน

พลันที่ เอไอเอส แถลงข่าว 4G ADVANCED ทางฝ่ายดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผยข้อมูล 4จี สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ดันไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล และ ปีนี้เป็นปีที่ 4 จี จะมีบทบาทสำคัญ คือ 4จี ตอบสนองความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือ พร้อมทั้ง 4จี ได้เร่งการใช้งานดาต้าแบบก้าวกระโดดในสังคมไทย และมีการใช้งานดาต้าบน 4จี ด้วยจำนวนปริมาณดาต้าที่มากกว่าการใช้งาน 3 จี ทั้งในธุรกิจและชีวิตประจำวัน และ 2. ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่ยุค 4จี ด้วยความพร้อมของอุปกรณ์ 4 จี หรือสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน และทิศทางตลาดที่ตอบรับผลิตภัณฑ์ใหม่จาก 4 จี โดยปีนี้จะเป็นการวางรากฐานและขยายโครงข่าย 4 จี ของประเทศไทยและจะมีการนำเทคโนโลยีที่เพิ่มศักยภาพ 4 จี มาเปิดให้บริการ

3. การใช้งาน 4จี สนับสนุนความต้องการชมคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเชื่อมต่อของอินเตอร์เน็ตบนมือถือ ทำให้แอพพลิเคชันในการรับชมวิดีโอคลิปได้รับความนิยม และแอพพลิเคชันถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เน็ต Streaming จะมีบทบาทและเติบโตมากขึ้นในยุค 4จี
“ดีแทค มั่นใจในการให้บริการ 4จี เพื่อลูกค้า รวมถึงทุกคลื่นที่นำมาให้บริการในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 50 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็นคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10, 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ โดย ดีแทค อยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งในตลาดโทรคมนาคม ด้วยการให้บริการจากการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมด และ มีแผนขยาย 4จี ทุกสถานีฐานประมาณไตรมาส 3 ปีนี้ พร้อมทั้งรุกตลาดด้วยโปรโมชันสมาร์ทโฟน 4จี และแพ็กเกจ 4จี ที่น่าสนใจอีกมากมายในเร็วๆ นี้”

ทรูมูฟปล่อยทีเด็ดชูจุดแข็ง

ขณะที่ ปรากฏการณ์ในฟากทรูมูฟ เอช ของกลุ่มทรู แคมเปญ 4 Gไอ-สมาร์ท ราคาสูงสุดอยู่ที่ 1,899 บาทเดือน โทร.ได้ 2,000 นาที เล่นเน็ตได้ 20 กิกะไบต์ ส่วน แพ็กเกจต่ำสุด 399 บาทเช่นเดียวกับดีแทค เล่นเน็ตได้ 1.25 กิกะไบต์ โทร.ฟรีทุกเครือข่าย 100 นาที เป็นต้น

ก่อนหน้านี้นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทรู จะนำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์มาต่อยอดความเป็นผู้นำอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สาย ชูจุดแข็งผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายที่ดีที่สุดและมีแบนด์วิดธ์มากที่สุดถึง 55 เมกะเฮิรตซ์ เดินหน้านำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์มาผสานการให้บริการบนคลื่นความถี่ 850 , 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เพิ่มศักยภาพบริการครอบคลุมทุกมิติทั้ง 2จี, 3จี รวมทั้ง 4จี

“บริษัทประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรักษาการเติบโตของบริษัท ซึ่งอาจจะเติบโตได้มากขึ้นไปอีก การประมูลของค่ายมือถือเบอร์ 1 และเบอร์ 2 เป็นการรักษาฐานของลูกค้า เขาอาจจะมองเป็นต้นทุน แต่มุมมองของเราเป็นการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ภายใน 5 ปี ทรูจะมีส่วนแบ่งตลาด 34% จากปัจจุบันอยู่ที่ 20% แต่ถ้าเป็นผู้นำตลาด 4 จีใน อีก 5 ปีข้างหน้า อาจจะทำให้มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่านี้ ”

สงคราม 4 จีได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ฉากต่อไปรอชมรายใหม่ คือ บริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด จะมีกลยุทธ์ที่ตอบโต้อย่างไร แม้จะยังไม่จ่ายค่าใบอนุญาตงวดแรกให้กับ กสทช. ครบกำหนดวันที่ 21 มีนาคมนี้ หากแต่ “พิชญ์ โพธารามิก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “น้องก็แสบไม่เบา”

http://www.thansettakij.com/2016/02/03/28704

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.