Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) วิทยุหวั่นซ้ำรอยทีวีดิจิตอล หลังส่อแววคืนช่องอื้อขณะที่วัยรุ่นยังจำเลขช่องไม่ได้ // การล้มของทีวีดิจิตอลจำนวน 7 ช่อง ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ปิดกิจการ 7 ช่องเท่านั้น แต่หมายถึงกิจการที่ได้รับใบอนุญาตโครงข่าย อาจจะได้รับผลกระทบ

ประเด็นหลัก


โดยเฉพาะเรื่องของทีวีดิจิตอล ซึ่งขณะนี้มีทีท่าว่าจะไปไม่รอด ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า จะมีช่องทีวีดิจิตอลดำเนินการขอคืนคลื่นความถี่โทรทัศน์จำนวน 7 ช่อง ซึ่งหากเป็นเรื่องจริง อนาคตอาจจะส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งระบบ เนื่องจากเงินจะขาดหายไปจำนวนมาก ยกตัวอย่าง จำนวน 7 ช่อง โดยเฉลี่ยจะต้องจ่ายให้กสทช.เดือนละ 5 – 35 ล้านบาทต่อช่อง หรือ 60 – 420 ล้านบาทต่อช่อง


“การล้มของทีวีดิจิตอลจำนวน 7 ช่อง ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ปิดกิจการ 7 ช่องเท่านั้น แต่หมายถึงกิจการที่ได้รับใบอนุญาตโครงข่าย อาจจะได้รับผลกระทบ รวมถึงอุตสาหกรรมโฆษณา และอีกประเด็นที่น่ากังวล คือ เรื่องการเกิดวิทยุดิจิตอล ที่หวั่นว่าจะเกิดผลกระทบเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลหรือไม่ และจะเกิดความเสียหายมากน้อยแค่ไหนในอนาคต”








_____________________________________________________




วิทยุหวั่นซ้ำรอยทีวีดิจิตอล หลังส่อแววคืนช่องอื้อขณะที่วัยรุ่นยังจำเลขช่องไม่ได้


วิทยุหวั่นซ้ำรอยทีวีดิจิตอล หลังส่อแววคืนช่องอื้อขณะที่วัยรุ่นยังจำเลขช่องไม่ได้

ก้าวสู่ปีที่ 3 ทีวีดิจิตอลปัญหาอื้อ นักจัดรายการวิทยุจุฬาฯ หวั่นจัดสรรคลื่นวิทยุดิจิตอลซ้ำรอยทีวีดิจิตอล ที่มีข่าวส่อแววไปไม่รอด จ่อคืนอีก 7 ช่อง ชี้หากจริงกระทบทั้งระบบ ด้านผลสำรวจพฤติกรรมคนดูวัยรุ่น เลือกจำแต่โลโก้ ไม่จำเลขช่อง แนะผู้ประกอบการทำให้ผู้ชมจำโลโก้ให้ได้ก่อน อย่างอื่นก็จะตามมา เผยละครไทยยังครองแชมป์รายการยอดฮิต
ประเภทรายการที่รับชม
ประเภทรายการที่รับชม

ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 สำหรับทีวีดิจิตอลเมืองไทย ยังเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย โดยเฉพาะข้อขัดแย้งระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)และผู้ประกอบการเอกชน ถึงขั้นเป็นคดีความต้องต่อสู้กันด้วยกฏหมาย ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม ปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการจำนวนมากมักหยิบยกมากล่าวถึงบ่อยครั้ง คือ การทำงานของ กสทช.ที่ยังขาดในด้านการประชาสัมพันธ์ และช่องโหว่ของพ.ร.บ. เป็นต้นต่อเรื่องนี้

ดร.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแสดงความคิดเห็นในงานเสวนา”บทบาทกสทช.ในการปฏิรูปคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง 4 ปีแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลว” ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า 4 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย สาเหตุ เพราะกสทช. ไม่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งแม้จะจัดการประชุมมาหลายครั้งและมีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามากมาย แต่ไม่นำแนวทางดังกล่าวไปเป็นแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของทีวีดิจิตอล ซึ่งขณะนี้มีทีท่าว่าจะไปไม่รอด ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า จะมีช่องทีวีดิจิตอลดำเนินการขอคืนคลื่นความถี่โทรทัศน์จำนวน 7 ช่อง ซึ่งหากเป็นเรื่องจริง อนาคตอาจจะส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งระบบ เนื่องจากเงินจะขาดหายไปจำนวนมาก ยกตัวอย่าง จำนวน 7 ช่อง โดยเฉลี่ยจะต้องจ่ายให้กสทช.เดือนละ 5 – 35 ล้านบาทต่อช่อง หรือ 60 – 420 ล้านบาทต่อช่อง

“การล้มของทีวีดิจิตอลจำนวน 7 ช่อง ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ปิดกิจการ 7 ช่องเท่านั้น แต่หมายถึงกิจการที่ได้รับใบอนุญาตโครงข่าย อาจจะได้รับผลกระทบ รวมถึงอุตสาหกรรมโฆษณา และอีกประเด็นที่น่ากังวล คือ เรื่องการเกิดวิทยุดิจิตอล ที่หวั่นว่าจะเกิดผลกระทบเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลหรือไม่ และจะเกิดความเสียหายมากน้อยแค่ไหนในอนาคต”

สิ่งที่ตามมาหลังเปิดทีวีดิจิตอล คือ พฤติกรรมผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์และการรับรู้ตราสินค้าสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลของกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น หลังจากที่ทาง กสทช.กำหนดให้มีการจัดเรียงช่องว่า ผลการสำรววจกลุ่มวัยรุ่น 800 ตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 22 ปี พบว่า วัยรุ่นในกรุงเทพมหานครโดยส่วนใหญ่เกือบ 60% เคยรับชมทีวีดิจิตอล แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้และจดจำเลขช่องโทรทัศน์อยู่มาก เนื่องจากพฤติกรรมคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเลือกจำโลโก้ช่อง

สำหรับการสร้างการรับรู้ของแบรนด์สถานีโทรทัศน์ที่ผ่านมา พบว่า ใน 3 เดือนก่อน กลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่ไม่สามารถจดจำหมายเลขช่องโทรทัศน์ต่างๆได้ แต่ช่องโทรทัศน์ที่จำได้อันดับแรก ได้แก่ ช่อง 7 คือ หมายเลข 35 รองลงมา คือ ช่อง 3 HD , ช่อง 8 , ช่องเวิร์คพอยท์ , จีเอ็มเอ็มแชนแนล และอื่นๆ ผลการสำรวจยังพบว่า ผู้ชมสามารถจดจำโลโก้ช่องได้มากกว่าหมายเลขช่อง โดยโลโก้ที่กลุ่มตัวอย่างจดจำได้มากที่สุด คือ ช่อง 7 HD คิดเป็นสัดส่วนกว่า 90.3% รองลงมา ได้แก่ เวิร์คพอยท์ 76.8% จีเอ็มเอ็มแชนแนล 75.8% ช่อง 3 HD 74.8% และช่อง ONE HD 74.3%

ส่วนช่องที่มีความชื่นชอบเป็นพิเศษ ได้แก่ ช่อง 3 HD 24 % รองลงมา คือ ช่อง 7 HD 14.5 % เวิร์คพอยท์ 14 % ช่อง ONE HD 11 % จีเอ็มเอ็มแชนแนล 7.5% โมโน 4.8% และช่อง 3 SD 3.8% ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานีโทรทัศน์ต้องทำให้ผู้บริโภคจดจำโลโก้ก่อน จากนั้นการสร้างการจดจำของหมายเลขช่องและแบรนด์จึงจะตามมา

“ความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับเรื่องแบรนด์ค่อนข้างมีความสัมพันธ์กันในเรื่องของการจดจำเลขช่อง โลโก้และแพลตฟอร์มการรับชม และโดยส่วนใหญ่จะเห็นว่า ผู้ชมหรือลูกค้าบางกลุ่ม ไม่สามารถจดจำหมายเลขช่องได้ แต่จะเลือกจดจำคอนเทนท์ของช่องโทรทัศน์นั้นๆ เช่น ผู้บริโภคอยากชมรายการหนึ่ง ก็จะใช้วิธีการเสิร์ชลงบนออนไลน์ แล้วเข้าไปดูคอนเทนท์ดังกล่าวผ่านบนแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Youtube หรือ Line TV เป็นต้น”

ปัจจุบันแบรนด์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คอร์ปอเรทแบรนด์และโปรดักส์แบรนด์ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนค่อนข้างมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการสร้างแบรนด์สถานีโทรทัศน์ หากจุดเริ่มต้นของช่องโทรทัศน์ได้รับความเชื่อถือ ในอนาคตไม่ว่าจะมีรายการอะไรเข้ามา ก็จะได้รับอานิสงส์นี้ไปทันที เช่นเดียวกับการสร้างคอร์ปอเรทแบรนด์ การมีภาพลักษณ์ของช่องดี ย่อมส่งผลต่อแบรนด์รายการที่อยู่ในช่องนั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ ช่องฟรีทีวีรายเดิม อย่างช่อง 3 และช่อง 7 ซึ่งมีฐานผู้ชมเดิมจำนวนมากอยู่แล้ว ดังนั้นรายการที่เข้ามาใหม่ จึงไม่ต้องเริ่มจากศูนย์เช่นเดียวกับช่องอื่นๆ เพราะเมื่อผู้ชมจดจำช่องโทรทัศน์ได้ว่า ช่องโทรทัศน์นั้นมีภาพลักษณ์แบบไหน ก็จะช่วยให้นึกคอนเทนท์ที่อยู่ในช่องนั้นออกว่า เป็นรูปแบบใด หรือโดยรวม คือ ภาพลักษณ์ของสถานีจะต้องสอดรับกันคอนเทนท์ของสถานีโทรทัศน์

สำหรับกรณีศึกษาที่น่าสนใจและอยากให้สถานีโทรทัศน์ทำ คือ การสร้างการรับรู้สถานีโทรทัศน์ของช่องผ่านสื่อต่างๆที่ไม่ใช่แค่สื่อที่ตัวเองมีอยู่ เช่น ช่อง 7 และช่อง 8 จะไม่ได้ใช้เฉพาะสื่อที่เป็นของช่องเอง การที่ช่องโทรทัศน์คิดว่า การมีสื่อของตนเอง ก็ควรใช้สื่อของช่องเอง นับเป็นเรื่องที่ผิด เพราะการประชาสัมพันธ์ในช่องของตนเอง ก็จะได้เพียงแค่ลูกค้าเก่าที่มีอยู่ แต่จะไม่ได้ลูกค้าใหม่เข้ามาเลย ยกตัวอย่างช่อง 8 ที่ใช้ศิลปิน 1 คนประชาสัมพันธ์ช่อง 8 ต่อ 1 ป้ายโฆษณา พูดซ้ำๆ เพราะการทำแบรนด์ที่เพิ่งเกิดใหม่สิ่งสำคัญควรจะต้องตอกย้ำ เพียงแค่แค่เรื่องเดียวที่สถานีโทรทัศน์ต้องการจะสื่อสาร

นอกจากนี้ผลสำรวจที่ออกมาพบว่า กลุ่มวัยรุ่นจะเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆรับชมรายการโทรทัศน์ผ่าน กล่องเซ็ท ทอป บ็อกซ์ ดิจิตอล 59.5% สมาร์ทโฟน 41.8% โน้ตบุ๊ค 29.3% แท็บเล็ต 24.3% คอมพิวเตอร์พีซี 21.5% สมาร์ททีวี 18.8% อนาล็อกทีวี 7% โทรศัพท์มือถือที่มีเสาอากาศ 6% ส่วนประเภทรายการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ละครไทย ซีรีส์ไทย 47.3% ภาพยนตร์ไทย/ต่างประเทศ 39% การ์ตูน 37.8% ซีรีส์ต่างประเทศ 29.5% ละครซิทคอม 28.8% เรียลลิตี้ 26.5% ดนตรีประกวดร้องเพลง 24.8% เกมโชว์ 24.8%

อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจ ถือเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเปิดรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีค่อนข้างไว โดยเฉพาะการเปลี่ยนทีวีดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อของเด็กวัยรุ่นอย่างมากที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จะรับกลับในเรื่องของเทคโนโลยีไวกว่ากลุ่มผู้ชมกลุ่มอื่นค่อนข้างมาก

http://www.thansettakij.com/2016/02/03/28736

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.