Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 ปัจจุบัน DTAC เซ็นเตอร์มีจำนวนกว่า 373 สาขาทั่วประเทศ โดยจะทำหน้าที่จำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ดีแทค มีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ เช่น การรับชำระค่าบริการรายเดือน และการเติมเงิน รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ,อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ, ซิมการ์ด, แพ็กเกจ

ประเด็นหลัก




ปัจจุบันดีแทค เซ็นเตอร์มีจำนวนกว่า 373 สาขาทั่วประเทศ โดยจะทำหน้าที่จำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ดีแทค มีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ เช่น การรับชำระค่าบริการรายเดือน และการเติมเงิน รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ,อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ, ซิมการ์ด, แพ็กเกจ




________________________________


"ดีแทค" ยกเครื่องระบบจัดจำหน่าย นัดเคลียร์"แฟรนไชซี"ก.พ.-ตั้้งเป้าอัพเกรดบริการ


"ดีแทค" เขย่าโครงสร้างการจัดจำหน่ายจ้างบริษัทที่ปรึกษาปรับปรุงระบบแฟรนไชส์ยกกระบิ พร้อมเตรียมนัดคุยทำความเข้าใจเจ้าของแฟรนไชส์รายใหญ่ต้น ก.พ.นี้ หวังอัพเกรดมาตรฐานบริการ "ดีแทค เซ็นเตอร์" ใหม่หมด ขณะที่บางรายไม่รอหันซบอก "ลิงก์ เน็ตเวิร์ก"

นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจภูมิภาค-กรุงเทพฯและปริมณฑล บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตั้งแต่กลางปี 2558 ที่ผ่านมา บริษัทได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาภายนอกให้เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้เครือข่ายแฟรนไชส์ "ดีแทค เซ็นเตอร์" เพื่อให้วางกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด และยกระดับมาตรฐานการให้บริการให้ดีขึ้น เนื่องจากมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ลูกค้าในพื้นที่ต่าง ๆมีโอกาสในการเข้าไปใช้บริการมากกว่าศูนย์บริการ หรือ "ดีแทค ฮอลล์" ที่บริษัทบริหารเอง

" เป็นการประเมินแฟรนไชส์ครั้งใหญ่ เพราะต้องการวัดผลคู่ค้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงยกระดับประสิทธิภาพในการจำหน่ายสินค้าและบริการในอนาคต ประกอบด้วยระบบดิสทริบิวชั่น และการขาย ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อยกเลิกแฟรนไชส์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ออกไป เพราะดีแทค เซ็นเตอร์ถือเป็นอีกช่องทางการให้บริการลูกค้าที่มีความสำคัญ ดังนั้น บริษัทจึงเน้นการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้คู่ค้าสามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น และเติบโตไปด้วยกันกับดีแทค "



โดยภายในต้นเดือน ก.พ.นี้บริษัทจะมีการนัดคุยกับแฟรนไชซีที่มีสาขาจำนวนหนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบ และการบริการรูปแบบใหม่ของดีแทค เซ็นเตอร์ด้วย

ปัจจุบันดีแทค เซ็นเตอร์มีจำนวนกว่า 373 สาขาทั่วประเทศ โดยจะทำหน้าที่จำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ดีแทค มีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ เช่น การรับชำระค่าบริการรายเดือน และการเติมเงิน รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ,อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ, ซิมการ์ด, แพ็กเกจ

บริการด้านเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) ตลอดจนบริการเสริมต่าง ๆ เช่น Entertainment Information และเพลง เป็นต้น

ซึ่งข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัท (dtac.co.th) เปิดให้ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นแฟรนไชส์ดีแทค เซ็นเตอร์ได้ โดยระบุคุณสมบัติไว้ เช่น ต้องเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย และมีทุนจดทะเบียน 5 แสนบาทขึ้นไป, มีใจรักในการประกอบธุรกิจการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และธุรกิจค้าปลีกทั้งด้านการขายและการบริการ, ไม่เป็นตัวแทนธุรกิจค้าส่งของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่น เป็นต้น

ด้านแหล่งข่าวในธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การปรับปรุงการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการในระบบแฟรนไชส์ของดีแทคเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งขอยกเลิกการเป็นแฟรนไชส์ดีแทค เซ็นเตอร์ เพราะมองว่าดีแทคมีกฎระเบียบในการบริหารจัดการสินค้า และเป้ายอดขายมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการมีภาระเพิ่มขึ้นมาก และอาจทำให้รายได้ไม่คุ้มต้นทุนการบริหารงาน จึงมีบางรายหันไปร่วมมือกับบริษัทใหม่ และลงทุนแบรนด์ของตนเอง เนื่องจากอยู่ในวงการธุรกิจโทรศัพท์มือถือมานาน จึงทำธุรกิจต่อได้ทันทีเพียงแต่ไม่ผูกติดกับดีแทคอีกต่อไป

"บางรายทำดีแทค เซ็นเตอร์เกือบ 10 แห่งก็ยังเลิก เพราะไม่พอใจเรื่องนี้ กับอีกบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการรวมตัวกันตั้งบริษัทใหม่ลิงก์เน็ตเวิร์กขึ้นมาดูแลการบริหารจัดการระบบงานหลังบ้าง คลังสินค้า และดิวกับแบรนด์ต่าง ๆโดยไม่ได้ผูกติดอยู่แค่การขายมือถือ แต่รวมไปถึงสินค้าอุปโภค, บริการชำระเงินออนไลน์, สินค้าท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วย ซึ่งนอกจากจะมีสินค้าที่หลากหลายกว่าแล้ว ยังไม่มีกฎระเบียบหรือเงื่อนไขเข้มงวดเหมือนระบบแฟรนไชส์เดิมด้วย"

แหล่งข่าวอีกรายในธุรกิจโทรศัพท์มือถือกล่าวว่า การปรับระบบการจัดจำหน่ายสินค้าครั้งใหญ่ของดีแทค ส่งผลกระทบถึงผู้ประกอบการรายเดิมบางส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามการประเมินภายใต้เงื่อนไขใหม่ แม้จะทำยอดขายได้ตามเป้า ขณะที่บางส่วนผ่านเกณฑ์มาตรฐานแต่ไม่พอใจที่ต้องปรับระบบภายในใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ของดีแทค และไม่ใช่จะไม่ต้องการปรับตัว เชื่อว่าทุกรายพร้อมปรับเปลี่ยนเพียงแต่ไม่พอใจสไตล์การบริหารงานของทีมงานปัจจุบัน

"ถ้ามีการปรับเปลี่ยนแบบละมุนละม่อมกว่านี้ก็คงไม่มีเรื่อง ขณะที่การปรับครั้งนี้เป็นการปรับครั้งใหญ่ ทำให้ทุกคนได้รับผลกระทบ แม้จะเข้าใจว่าทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลง และต้องหาทางปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ตาม จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละรายว่าจะยังคงทำธุรกิจกับดีแทคต่อไป หรือหันไปหารายใหม่ดีกว่า"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453955626

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.