Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักงาน กสทช. ชี้ การเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 รอ ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการคลัง ขอกลับไปพิจารณารายละเอียดและจะนำมาหารืออีกกันในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ข้อยุติที่ชัดเจนภายในเดือน ก.พ.นี้ หรืออย่างช้าก่อนวันที่ 5 มี.ค.59

ประเด็นหลัก



วันที่ 16 ก.พ.59 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.ได้รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอลให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.รับทราบอีกครั้ง ซึ่งยังไม่สามารถที่จะสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน เนื่องจากตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการคลัง ขอกลับไปพิจารณารายละเอียดและจะนำมาหารืออีกกันในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ข้อยุติที่ชัดเจนภายในเดือน ก.พ.นี้ หรืออย่างช้าก่อนวันที่ 5 มี.ค.59

สำหรับประเด็นที่ 3 หน่วยงานดังกล่าว ขอกลับไปพิจารณา ได้แก่ การเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 22 พ.ค.59 นี้ การขยายระยะเวลาใบอนุญาต การคืนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอล เนื่องจากการประชุมคณะทำงานที่ผ่านมา มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

"ผมขอยืนยันเช่นเดิมว่า ถ้าเรื่องใดเป็นอำนาจของ กสทช.ก็จะดำเนินการให้อย่างเต็มที่ แต่ประเด็นใดที่เกินอำนาจ ก็ต้องทำเรื่องเสนอรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากรัฐบาลให้กสทช.รายงานความคืบหน้าปัญหาที่มีการฟ้องร้องระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่งผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลได้ฟ้อง กสทช. ขณะเดียวกันก็ต้องรายงานให้ศาลปกครองรับทราบความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวหารือกันมาหลายครั้ง น่าจะถึงเวลาที่ควรจะมีความกระจ่างชัดได้แล้ว"






__________________________________________





'ฐากร' เผย ขอจบปัญหาทีวีดิจิตอล ไม่เกิน 5 มี.ค.นี้

บอร์ด กสทช. รับทราบ แก้ปัญหาทีวีดิจิตอล พายเรือวนในอ่าง "ฐากร" ขอจบแบบชัดๆ ไม่เกิน 5 มี.ค.นี้ พร้อม อนุมัติงบประมาณปี 59 รายได้ 8,500 ล้าน รายจ่ายอีก 5,395 ล้าน ที่เหลือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน...

วันที่ 16 ก.พ.59 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.ได้รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอลให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.รับทราบอีกครั้ง ซึ่งยังไม่สามารถที่จะสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน เนื่องจากตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการคลัง ขอกลับไปพิจารณารายละเอียดและจะนำมาหารืออีกกันในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ข้อยุติที่ชัดเจนภายในเดือน ก.พ.นี้ หรืออย่างช้าก่อนวันที่ 5 มี.ค.59

สำหรับประเด็นที่ 3 หน่วยงานดังกล่าว ขอกลับไปพิจารณา ได้แก่ การเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 22 พ.ค.59 นี้ การขยายระยะเวลาใบอนุญาต การคืนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอล เนื่องจากการประชุมคณะทำงานที่ผ่านมา มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

"ผมขอยืนยันเช่นเดิมว่า ถ้าเรื่องใดเป็นอำนาจของ กสทช.ก็จะดำเนินการให้อย่างเต็มที่ แต่ประเด็นใดที่เกินอำนาจ ก็ต้องทำเรื่องเสนอรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากรัฐบาลให้กสทช.รายงานความคืบหน้าปัญหาที่มีการฟ้องร้องระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่งผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลได้ฟ้อง กสทช. ขณะเดียวกันก็ต้องรายงานให้ศาลปกครองรับทราบความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวหารือกันมาหลายครั้ง น่าจะถึงเวลาที่ควรจะมีความกระจ่างชัดได้แล้ว"

นายฐากร กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นที่ กสทช.สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเสนอคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ให้มีมติเห็นชอบตามขั้นตอน ได้แก่ การปรับลดค่าเช่าโครงข่ายดาวเทียม ในกรณีที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องปฏิบัติตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่) ซึ่งผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอล 24 ช่อง จ่ายรวมกันปีละ 200 ล้านบาทนั้น สามารถขอใช้เงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้ การขอสนับสนุนเงินกองทุน กทปส.เพื่อดำเนินการวัดความนิยม (เรตติ้ง) ซึ่ง กสทช.ต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง การจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เพื่อนำส่งเข้ากองทุน กทปส.ในอัตรา 0.1-1% โดยไม่เรียกเก็บย้อนหลัง เป็นต้น

ขณะที่ การเรียงเลขช่องทีวีดิจิตอลให้เหมือนกันทุกโครงข่ายนั้น ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว เหลือเพียงโครงข่ายเดียวที่ไม่ยอมเรียงช่องทีวีดิจิตอล เพราะยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง ก็ต้องรอการตัดสินของศาลปกครอง ส่วนการแจกคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มอีก 11.6 ล้านครัวเรือนนั้น จะต้องชี้แจงให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เข้าใจถึงเหตุผลการขอแจกคูปองทีวีดิจิตอลเพิ่มอีก 11.6 ล้านครัวเรือน เพื่อรายงานให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ การแจกคูปองทีวีดิจิตอลนั้น จากเดิมแจกไปแล้ว 13.8 ล้านครัวเรือน วงเงิน 11,000 ล้านบาท มีประชาชนมาแลกเพียง 8.6 ล้านครัวเรือน ใช้เงินไปราว 4,000 ล้านบาท ทำให้วงเงินเหลือราว 7,000 ล้านบาท ฉะนั้นจึงขอแจกคูปองเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน

นายฐากร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 วงเงิน 5,395 ล้านบาท รายได้ 8,500 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตโทรคมนาคม ใบอนุญาตทีวี ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคม เป็นต้น โดยรายได้ที่เหลือจะเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด.

http://www.thairath.co.th/content/578280

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.