Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช. ตรวจสอบ PROMOTION AIS และ TRUE อาจทำให้เมื่อผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเกจ แล้ว ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มจากเดิมโดยไม่รู้ตัว(บิลช็อก) ต่างจากในอดีตที่เมื่อใช้งานเกินกว่าแพ็คเกจแล้วความเร็วจะลดลง

ประเด็นหลัก




นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่สำนักงานกสทช. ได้ให้ใบอนุญาตกับผู้ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทั้ง2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส และบริษัท ทรู มูฟ เอซ ยูนิเวร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ล่าสุด เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาเอไอเอส ได้เปิดตัวแพ็คเกจให้บริการ 4จี บนย่านความถี่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยมีการนำเสนอโปรโมชั่นแบบรายเดือน ซึ่งเน้นให้บริการใช้งานบริการเชื่อมต่อข้อมูล(ดาต้า) อย่างเต็มตัว ด้วยเทคโนโลยี 3จี และ 4จี พ่วงบริการประเภทเสียง รวมไปถึงบริการเสริมอื่นๆ เช่น บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง(ไวไฟ) คลาวด์ และบริการภาพยนตร์ออนไลน์ ซึ่งแพ็คเกจดังกล่าวกสทช. ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตด้วยหรือไม่

นายประวิทย์ กล่าวว่า จากการเปิดตัวรายการส่งเสริมการขายของเอไอเอส พบว่า รายการส่งเสริมการขายที่ออกมาไม่มี แฟร์ ยูสเซส โพลิซี่(เอฟยูพี) หรือ การปรับลดความเร็วในการใช้งาน เมื่อใช้อินเตอร์เน็ตเกินปริมาณที่กำหนด เพื่อให้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานได้ต่อไปในความเร็วที่ช้าลง แต่แพ็คเกจของเอไอเอสไม่ได้ระบุว่าใช้งานไม่จำกัดเหมือนมีในอดีต ทำให้เมื่อผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเกจ แล้ว ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มจากเดิมโดยไม่รู้ตัว(บิลช็อก) ต่างจากในอดีตที่เมื่อใช้งานเกินกว่าแพ็คเกจแล้วความเร็วจะลดลง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถใช้งานต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม การตัดเอฟยูพีออกจากรายการส่งเสริมการขายจึงเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ใช้บริการ จะถูกคิดค่าบริการเพิ่มจากเดิมโดยไม่รู้ตัว หากผู้ให้บริการไม่มีระบบการแจ้งเตือนหรือ เครดิต ลิมิตที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ ซึ่งสำนักงาน กสทช. คงต้องเร่งติดตามผู้ให้บริการว่า จะสามารถออกรายการส่งเสริมการขายในลักษณะดังกล่าวได้เมื่อใด




__________________________________________





กสทช.ตรวจแพ็คเกจเอไอเอส หลังพบไม่กำหนดเอฟยูพี หวั่นเกิดบิลช็อก



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่สำนักงานกสทช. ได้ให้ใบอนุญาตกับผู้ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทั้ง2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส และบริษัท ทรู มูฟ เอซ ยูนิเวร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ล่าสุด เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาเอไอเอส ได้เปิดตัวแพ็คเกจให้บริการ 4จี บนย่านความถี่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยมีการนำเสนอโปรโมชั่นแบบรายเดือน ซึ่งเน้นให้บริการใช้งานบริการเชื่อมต่อข้อมูล(ดาต้า) อย่างเต็มตัว ด้วยเทคโนโลยี 3จี และ 4จี พ่วงบริการประเภทเสียง รวมไปถึงบริการเสริมอื่นๆ เช่น บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง(ไวไฟ) คลาวด์ และบริการภาพยนตร์ออนไลน์ ซึ่งแพ็คเกจดังกล่าวกสทช. ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตด้วยหรือไม่

นายประวิทย์ กล่าวว่า จากการเปิดตัวรายการส่งเสริมการขายของเอไอเอส พบว่า รายการส่งเสริมการขายที่ออกมาไม่มี แฟร์ ยูสเซส โพลิซี่(เอฟยูพี) หรือ การปรับลดความเร็วในการใช้งาน เมื่อใช้อินเตอร์เน็ตเกินปริมาณที่กำหนด เพื่อให้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานได้ต่อไปในความเร็วที่ช้าลง แต่แพ็คเกจของเอไอเอสไม่ได้ระบุว่าใช้งานไม่จำกัดเหมือนมีในอดีต ทำให้เมื่อผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเกจ แล้ว ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มจากเดิมโดยไม่รู้ตัว(บิลช็อก) ต่างจากในอดีตที่เมื่อใช้งานเกินกว่าแพ็คเกจแล้วความเร็วจะลดลง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถใช้งานต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม การตัดเอฟยูพีออกจากรายการส่งเสริมการขายจึงเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ใช้บริการ จะถูกคิดค่าบริการเพิ่มจากเดิมโดยไม่รู้ตัว หากผู้ให้บริการไม่มีระบบการแจ้งเตือนหรือ เครดิต ลิมิตที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ ซึ่งสำนักงาน กสทช. คงต้องเร่งติดตามผู้ให้บริการว่า จะสามารถออกรายการส่งเสริมการขายในลักษณะดังกล่าวได้เมื่อใด

ทั้งนี้ ตามประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องกำหนดอัตราค่าบริการประเภทเสียง(วอยซ์) และดาต้า ในอัตราต่ำกว่าค่าบริการเฉลี่ยของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ได้แก่ ค่าบริการประเภทเสียงอยู่ที่ 0.69 บาทต่อนาที ค่าบริการข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) 1.15 บาทต่อข้อความ ค่าบริการข้อความมัลติมีเดีย (เอ็มเอ็มเอส) 3.11 บาทต่อข้อความ และบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 0.26 บาทต่อเมกกะไบต์

“อัตราค่าบริการเฉลี่ยทุกรายการส่งเสริมการขายของผู้ให้บริการ จะเกินกว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยที่กำหนดไว้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องยาก ที่ผู้ใช้บริการจะสามารถตรวจสอบได้ เพราะมีลักษณะเป็นการขายพ่วงบริการ ดังนั้น เป็นหน้าที่กสทช. ต้องดำเนินการติดตามตรวจสอบ และรายงานผลต่อสาธารณะเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการไม่มีการผลักภาระให้กับผู้ใช้ บริการจนต้องจ่ายค่าบริการในราคาที่แพงขึ้น” นายประวิทย์ กล่าว


ที่มา มติชนออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1455196798

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.