Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 TOT พยายาม เพิ่มโปรดักทิวิตี้ ต้องผลักดันให้พนักงานที่ไม่สร้างรายได้กลับมาสร้างรายได้ให้องค์กรให้ได้ ต่อไปจะมีการให้ประเมินผลที่เป็นการคัดสรรโดยธรรมชาติ คนไหนทำดีต้องได้รับการยกย่อง เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนพยายามมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรมแล้ว ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อพนักงานที่ทีโอทีทำได้อยู่ที่ 1.7 ล้านบาท/คน/ปี

ประเด็นหลัก




"เราจำเป็นต้องเพิ่มโปรดักทิวิตี้ ต้องผลักดันให้พนักงานที่ไม่สร้างรายได้กลับมาสร้างรายได้ให้องค์กรให้ได้ ต่อไปจะมีการให้ประเมินผลที่เป็นการคัดสรรโดยธรรมชาติ คนไหนทำดีต้องได้รับการยกย่อง เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนพยายามมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรมแล้ว ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อพนักงานที่ทีโอทีทำได้อยู่ที่ 1.7 ล้านบาท/คน/ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 7 ล้านบาท/คน/ปี ซึ่งจากนี้ไปอีก 3 เดือนนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ ระบุให้มารายงานผลการแก้ปัญหาด้วย ฉะนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน"




__________________________________________





พึ่งพันธมิตร เพิ่มสปีดองค์กร ซีอีโอ "ทีโอที" ย้ำ พนักงานต้องช่วยกัน


เป็นอีกปีที่ "ทีโอที" ต้องรับศึกหนักกับการดิ้นหารายได้ใหม่ และจัดการกับทรัพย์สินจำนวนมากตามสัญญาสัมปทานกับ "เอไอเอส" ที่เพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อเดือน ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและสร้างความชัดเจนในการดำเนินงาน ประธานบอร์ด บมจ.ทีโอที

"พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์" และ "มนต์ชัย หนูสง" กรรมการผู้จัดการใหญ่ จึงเปิดหอประชุมใหญ่ชี้แจงกับพนักงานถึงทิศทางการดำเนินการจากนี้ พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบอินทราเน็ตไปยังศูนย์บริการทั่วประเทศ เหมือนเช่นที่เคยทำเมื่อครบวาระ 6 เดือนและ 1 ปีในการทำงานของบอร์ด

"ปี 2559 ถือเป็นปีที่หนักสุดของทีโอทีต้องเร่งพลิกฟื้นปี 2558 ตัวเลขทางบัญชีเบื้องต้นขาดทุนราว 5,000 ล้านบาท และจากนี้ถึงปี"61 จะติดลบต่ำลงเรื่อย ๆ ปีนี้ถ้าไม่ทำอะไรเลย ผลประกอบการจะติดลบ 2 หมื่นล้านบาท แต่ถ้าพยายามก็จะดีขึ้นมาได้" นี่คือสิ่งที่ซีอีโอย้ำกับพนักงานและสิ่งที่ฝ่ายบริหารกำลังเร่งดำเนินการขณะนี้ คือ 1.การเร่งเจรจากับ "เอไอเอส" เพื่อนำทรัพย์สินสัมปทานอย่างโครงข่ายมาใช้ประโยชน์ และการเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบาย หลังจากปี 2558 ธุรกิจโมบายของทีโอทีมีรายได้ราว 400 ล้านบาท หากทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับเอไอเอสได้จะมีรายได้เพิ่มเป็น 15,000-16,000 ล้านบาท

"การเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายบนคลื่น 2100 MHz เอไอเอสจะลงทุนขยายโครงข่าย พร้อมบำรุงรักษา 10 ปี เพื่อให้ทีโอทีเช่าแล้วจะมาซื้อความจุโครงข่าย 80% จากทีโอที หักกลบลบหนี้กันแล้วเบ็ดเสร็จทีโอทีจะมีรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาท ความจุอีก 20% ที่เหลือจะทำตลาดเอง น่าจะมีรายได้อีกราว 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะทำสัญญาได้ภายในไตรมาสแรกหลังส่งให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาแล้ว"

ส่วนเสาและอุปกรณ์โครงข่ายตามสัมปทาน ล่าสุดได้ข้อสรุปว่า เอไอเอสจะเช่าเสา 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G 900 MHz ทำให้ทีโอทีมีรายได้ราว 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปีใน 10 ปีหลัง จากที่ไม่มีรายได้จากการใช้ทรัพย์สินในส่วนนี้

2.การเร่งสร้างรายได้จากกลุ่มธุรกิจบรอดแบนด์ที่จะต้องพลิกกลับมาเป็นเบอร์ 1 อีกครั้ง หลังหล่นไปอยู่เบอร์ 3 ด้วยมาร์เก็ตแชร์ราว 30% โดยจะเร่งขยายโครงข่าย FTTx อีก 300,000 พอร์ตภายในปีนี้ โดยกระจายงบประมาณลงในพื้นที่ให้เร็วที่สุด ซึ่งฝ่ายการเงินกำลังจะหางบฯเสริมให้ คาดว่าปีนี้จะติดตั้งได้อย่างน้อย 200,000 พอร์ต ส่วนโครงการฟิกซ์บรอดแบนด์บนคลื่น 2300 MHz และโครงการบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ต จะเร่งดำเนินการเพื่อให้รัฐบาลอนุมัติให้เร็วที่สุด หวังว่าจะติดตั้งเสร็จ 100,000 พอร์ตในปีนี้

ซึ่งถ้าทำได้ตามแผนนี้อีก 2 ปีทีโอทีจะมีศักยภาพรองรับได้ทั้งหมด 3 ล้านพอร์ต

"ปี 2559 ตั้งเป้าจะขยายโครงข่ายให้เสร็จอย่างน้อย 300,000 พอร์ต ต้องเร่งให้เยอะที่สุด ไม่อย่างนั้นทีโอทีจะกลายเป็นผู้ตาม รวมถึงต้องคอยจับตาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษของภาครัฐเพื่อขยายเน็ตเวิร์กไปรองรับ เพราะรัฐบาลยังมีการขยับและปรับพื้นที่ โดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าบรอดแบนด์อีก 150,000 ราย รวมเป็น 1.6 ล้านราย เพิ่มรายได้จาก 12,000 ล้านบาทในปี 2558 เป็น 17,000 ล้านบาทในสิ้นปี ส่วนธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่มีรายได้ราว 7,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ 8,000 ล้านบาท

"ทีโอทีต้องจัดสรรทรัพยากรให้ดี งานขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ของเราทั้งหมดต้องเร่งทำให้เสร็จตามแผนมากที่สุดในครึ่งปีแรก เพราะราว พ.ค.นี้เงินจากโครงการปูพรมบรอดแบนด์ทุกหมู่บ้านของรัฐที่ทีโอทีจะต้องรับผิดชอบราว 15,000 หมู่บ้านจะลงมาแล้ว ซึ่งตามเงื่อนไขต้องส่งมอบให้ได้ 50% ภายใน 6 เดือน ถือว่าหนักเพราะกระทรวงไอซีทีต้องการให้ใช้การลากสายไฟเบอร์ขยายเน็ตเวิร์ก สำหรับโครงการนี้ทางกระทรวงไอซีทีจะจัดซื้อเอง ส่วนทีโอทีลงแรง แม้รายได้เข้ามาไม่เยอะ แต่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ทั้งทีโอที และเอกชนจะใช้งานได้ ฉะนั้น ทีโอทีควรต้องลงพื้นที่เพื่อรีบต่อยอดก่อนคนอื่น โชคดีที่กระทรวงไอซีทีเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์เองจึงน่าจะเริ่มโครงการได้เร็ว ถ้าทำได้ตามแผนปีนี้จะขาดทุน 1.1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น และเริ่มกลับมามีกำไรได้ในปี 2561"

ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังศึกษาแนวทางนำคลื่นความถี่ย่านอื่นที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์เพิ่ม โดยประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และการเลือกเทคโนโลยีที่สอดคล้องกันด้วย

"สิ่งที่จะมากระทบกับทีโอทีมีหลายอย่างหลัก ๆ คือ 1.การตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ที่มีแนวคิดเหมือนในหลายประเทศ และจะรวมทีโอทีเข้าไปด้วย 2.การออกชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ยังไม่รู้ว่าจะกระทบแค่ไหน เพราะต้องมีส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการคลื่น การกำกับดูแล และการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ดิจิทัล"

นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมพร้อมกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานโทรศัพท์ฟิกซ์ไลน์ที่ทำไว้กับ บมจ.ทีทีแอนด์ทีในปี 2561 และทรู คอร์ปอเรชั่นในปี 2562 ที่ต้องดูเรื่องทรัพย์สินสัมปทาน เพราะเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 บริษัทไม่เคยยอมให้ทีโอทีเข้าใกล้ทรัพย์สินทั้งหมด จึงอยากให้บรรดาพนักงานทั่วประเทศช่วยกันจับตาว่าจะมีการยักย้ายผ่องถ่ายอะไรหรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ "ทีโอที" จะต้องเจอกับปัญหาหนักแค่ไหน แต่หัวใจสำคัญที่จะทำให้ผ่านพ้นและพลิกกลับมายืนได้อีกครั้งอยู่ที่ "พนักงาน" กว่า 15,000 คน ที่จะต้องใส่ใจและร่วมมือกันเพื่อให้องค์กรอยู่รอด

"เราจำเป็นต้องเพิ่มโปรดักทิวิตี้ ต้องผลักดันให้พนักงานที่ไม่สร้างรายได้กลับมาสร้างรายได้ให้องค์กรให้ได้ ต่อไปจะมีการให้ประเมินผลที่เป็นการคัดสรรโดยธรรมชาติ คนไหนทำดีต้องได้รับการยกย่อง เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนพยายามมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรมแล้ว ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อพนักงานที่ทีโอทีทำได้อยู่ที่ 1.7 ล้านบาท/คน/ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 7 ล้านบาท/คน/ปี ซึ่งจากนี้ไปอีก 3 เดือนนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ ระบุให้มารายงานผลการแก้ปัญหาด้วย ฉะนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1455459609

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.