Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มีนาคม 2559 (บทความ) 16.30 น. จันทร์ 21 มี.ค.59 เส้นตาย “JAS 4G” งานนี้มีทางออกไหนบ้าง? // ไม่เพียงถูกฟ้อง หากแจสไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาต 4G กสทช. จะริบเงินวางประกันการประมูล 644 ล้านบาท พร้อมกับสั่งปรับบริษัทตามวงเงินค่าเตรียมการประมูล 160 ล้านบาท

ประเด็นหลัก






ถนนสายเบี้ยวนั้นจะนำไปสู่แผนสำรองมากมายของ กสทช. แผนแรกคือ การจัดประมูลครั้งใหม่บนเกณฑ์การประมูลที่จะต้องถูกแก้ไขใหม่ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดการเคาะประมูลรอบใหม่จะต้องจัดขึ้นอย่างไวเพื่อไม่ให้คนไทยได้รับผลกระทบโรคเลื่อน 4G
อย่างไรก็ตาม การประมูลรอบใหม่ยังมีความเสี่ยงไม่มีใครเข้าประมูล เนื่องจากราคาประมูลจะต้องไม่ต่ำกว่าเดิม คือ 7.5 หมื่นล้านบาท ที่แจสเคาะไว้ จุดนี้มีความเสี่ยงที่ทำให้การประมูล 4G ย่าน 900 MHz อาจต้องเลื่อนไปเรื่อย ซึ่งความเสียหายนี้จะทำให้ กสทช. ตัดสินใจฟ้องแจสแน่นอนหากแจสเลือกทางออกนี้
ไม่เพียงถูกฟ้อง หากแจสไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาต 4G กสทช. จะริบเงินวางประกันการประมูล 644 ล้านบาท พร้อมกับสั่งปรับบริษัทตามวงเงินค่าเตรียมการประมูล 160 ล้านบาท ทั้งหมดนี้มีรายงานแล้วว่า กสทช. กำลังประเมินมูลค่าความเสียหายจากความล่าช้า หรือเสียโอกาสในการใช้คลื่น 4G และการนำเงินค่าประมูลส่งรัฐฯ








_____________________________________








16.30 น. จันทร์ 21 มี.ค.59 เส้นตาย “JAS 4G” งานนี้มีทางออกไหนบ้าง?

20 มีนาคม 2559 09:30 น. (แก้ไขล่าสุด 20 มีนาคม 2559 09:40 น.)

16.30 น. จันทร์ 21 มี.ค.59 เส้นตาย “JAS 4G” งานนี้มีทางออกไหนบ้าง?
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด

เวลา 16.30 น. วันจันทร์ที่ 21 มี.ค.59 คือเส้นตายที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด จะต้องนำเงินประมูลคลื่นความถี่ 4G 900 MHz งวดแรก จำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินสำหรับวงเงินประมูลที่เหลือ 67,614 ล้านบาท มาชำระให้สำนักงาน กสทช.
ปัญหาคือ ถึงวันนี้ (20 มี.ค.) ยังไม่มีสัญญาณแน่นอนใดที่แสดงว่าแจสจะสามารถจ่ายเงิน พร้อมแบงก์การันตีวงเงินรวมกว่า 75,654 ล้านบาท ได้ตามกำหนดการ ดังนั้น ทางออกของเรื่องนี้จึงแบ่งได้เป็น 2 สาย คือ สายจ่ายทัน และสายเบี้ยว
ถนนสายเบี้ยวนั้นจะนำไปสู่แผนสำรองมากมายของ กสทช. แผนแรกคือ การจัดประมูลครั้งใหม่บนเกณฑ์การประมูลที่จะต้องถูกแก้ไขใหม่ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดการเคาะประมูลรอบใหม่จะต้องจัดขึ้นอย่างไวเพื่อไม่ให้คนไทยได้รับผลกระทบโรคเลื่อน 4G
อย่างไรก็ตาม การประมูลรอบใหม่ยังมีความเสี่ยงไม่มีใครเข้าประมูล เนื่องจากราคาประมูลจะต้องไม่ต่ำกว่าเดิม คือ 7.5 หมื่นล้านบาท ที่แจสเคาะไว้ จุดนี้มีความเสี่ยงที่ทำให้การประมูล 4G ย่าน 900 MHz อาจต้องเลื่อนไปเรื่อย ซึ่งความเสียหายนี้จะทำให้ กสทช. ตัดสินใจฟ้องแจสแน่นอนหากแจสเลือกทางออกนี้
ไม่เพียงถูกฟ้อง หากแจสไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาต 4G กสทช. จะริบเงินวางประกันการประมูล 644 ล้านบาท พร้อมกับสั่งปรับบริษัทตามวงเงินค่าเตรียมการประมูล 160 ล้านบาท ทั้งหมดนี้มีรายงานแล้วว่า กสทช. กำลังประเมินมูลค่าความเสียหายจากความล่าช้า หรือเสียโอกาสในการใช้คลื่น 4G และการนำเงินค่าประมูลส่งรัฐฯ
ในเมื่อสายเบี้ยวมีแต่เรื่องปวดหัว ทางออกสาย “จ่ายให้ทัน” จึงเป็นทางออกเดียวที่แจสควรเลือกเดิน
หากแจสมาจ่ายเงินในวันที่ 21 มี.ค. กสทช. ระบุว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ภายใน 3 วัน (ไม่เกิน 24 มี.ค.) เพื่อพิจารณาการออกใบอนุญาต โดยใบอนุญาตอาจจะมีผลเริ่มบังคับใช้ในช่วงหลังสงกรานต์ ตามคำสั่งศาลปกครองกลางที่ขยายเวลาเยียวยาลูกค้า AIS 2G ให้ใช้ช่วงคลื่นของแจสได้ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 14 เม.ย.
แต่ทางออกสายนี้ยังต้องลุ้นกันตัวโก่ง เนื่องจากยังไม่มีความแน่นอนใดๆ ว่าแจสจะสามารถกู้เงินได้จริง เรื่องนี้ “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ข่าวในช่วงสัปดาห์ที่แล้วว่า ทีมงานแจสเคยแจ้งว่าจะนัดหมายเรื่องการจ่ายเงินภายในวันที่ 18 มี.ค. แต่แล้วทุกอย่างก็เงียบหายไม่มีความคืบหน้าใด
หันไปมอง “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ก็ระบุว่า ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดกรณีแจสจะขอกู้เงินเพื่อนำไปชำระใบอนุญาตคลื่น 900MHz เพื่อทำธุรกิจ 4G เนื่องจากเป็นความลับทางธุรกิจของลูกค้า ทั้งที่ธนาคารกสิกรไทยเคยตกเป็นข่าวว่าจะร่วมออกแบงก์การันตีให้แก่ทั้งทรู และแจส แต่ทั้งหมดก็ยังไม่มีคำยืนยันใดๆ
ฟากธนาคารต่างชาติ นักวิเคราะห์มองว่า โอกาสที่แจสจะกู้เงินจากต่างประเทศนั้นเป็นไปได้น้อย เนื่องจากวงเงินกู้มีมูลค่าสูง ทั้งหมดนี้อาจเป็นปัจจัยหลักบีบให้แจสขอผ่อนจ่ายค่าใบอนุญาตซึ่ง กสทช. ได้ระบุว่าปฏิเสธไปแล้ว
ผ่อนก็ไม่ได้ เลื่อนวันชำระเงินค่าประมูลงวดแรกก็ไม่ได้ เพราะหลักเกณฑ์การประมูลได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เรียกว่าทุกอย่างจะเผยผลสรุปภายใน 16.30 น. วันจันทร์ 21 มี.ค.59 แน่นอน
เส้นตาย “JAS 4G” ก็เลยมีทางออกเท่านี้

http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028890

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.