Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2559 GMM ระบุ ตอนนี้กระแสละครไทยในจีนค่อนข้างเสถียรเมื่อเทียบกับเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ละครไทยบูมที่สุด ล่าสุด ได้ค่าลิขสิทธิ์เฉลี่ยตอนละ 2,500-3,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ประเด็นหลัก



"สมศรี พฤทธิพันธ์" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด กล่าวว่า ได้ขายลิขสิทธิ์ละครไทยไปต่างประเทศตั้งแต่ 12-13 ปีก่อน เริ่มตลาดแรกที่มาเลเซีย แต่ไม่ได้หวือหวา ขายไปแค่ 1-2 เรื่องก็หยุด

ส่วนตลาดจีน ถือเป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จ เพราะมีการขายลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านตัวแทนในจีน จนจุดกระแส T-POP (Thailand Pop Culture) ให้บูมทั่วตลาดบันเทิงจีน

"ละครจีนก็มีรสชาติคล้าย ๆ กับละครไทย ศาสตร์การผลิตละครก็เหมือนกันทุก ๆ ประเทศ คือ เนื้อเรื่องต้องสนุก ตรงใจ แต่ด้วยแคแร็กเตอร์พระเอกไทย อบอุ่น หล่อ และโดนใจผู้ชมจีนก็ทำให้กระแสละครไทยได้รับความนิยม"

นอกจากตลาดจีนแล้ว ปัจจุบันได้ขายลิขสิทธิ์ไปในเวียดนาม เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซียด้วย ปัจจุบันรายได้จากขายลิขสิทธิ์ละครมีสัดส่วนมากกว่า 5% ของรายได้รวมเอ็กแซ็กท์

"ตอนนี้กระแสละครไทยในจีนค่อนข้างเสถียรเมื่อเทียบกับเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ละครไทยบูมที่สุด ล่าสุด ได้ค่าลิขสิทธิ์เฉลี่ยตอนละ 2,500-3,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ"

"สมศรี" บอกว่า สิ่งที่ทำให้ละครของเอ็กแซ็กท์ ประสบความสำเร็จ คือ การมีทีมเขียนบทโทรทัศน์ เขียนพล็อตเรื่องเอง รวมถึงมีทีมผลิตละครเอง ทำให้การทำงาน วางแผนและการตัดสินใจทุกอย่างเร็วขึ้น เมื่อละครประสบความสำเร็จ สิ่งที่ตามมา คือ นักแสดงก็ได้รับความนิยมตามไปด้วย โดยเฉพาะ ป้อง ณวัฒน์, บี้-สุกฤษฎิ์ที่มีฐานแฟนคลับจีนค่อนข้างมาก






_________________________________





ปลุกโอกาสธุรกิจบันเทิง "GMM" นำทัพส่งละครไทยปักธงเอเชีย



จุดเด่นละครไทย เข้าใจง่าย แคแร็กเตอร์พระเอก หล่อ เข้ม อบอุ่น ถูกจริตผู้ชมเอเชีย ทำให้ละครไทยได้รับความนิยมในประเทศแถบเอเชียมาก โดยเฉพาะจีน ที่อุตสาหกรรมธุรกิจบันเทิงมีมูลค่าค่อนข้างสูง "เอ็กแซ็กท์" ในเครือแกรมมี่ เป็นรายแรก ๆ ของไทยที่ขายลิขสิทธิ์ละครให้ต่างประเทศ

"สมศรี พฤทธิพันธ์" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด กล่าวว่า ได้ขายลิขสิทธิ์ละครไทยไปต่างประเทศตั้งแต่ 12-13 ปีก่อน เริ่มตลาดแรกที่มาเลเซีย แต่ไม่ได้หวือหวา ขายไปแค่ 1-2 เรื่องก็หยุด

ส่วนตลาดจีน ถือเป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จ เพราะมีการขายลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านตัวแทนในจีน จนจุดกระแส T-POP (Thailand Pop Culture) ให้บูมทั่วตลาดบันเทิงจีน

"ละครจีนก็มีรสชาติคล้าย ๆ กับละครไทย ศาสตร์การผลิตละครก็เหมือนกันทุก ๆ ประเทศ คือ เนื้อเรื่องต้องสนุก ตรงใจ แต่ด้วยแคแร็กเตอร์พระเอกไทย อบอุ่น หล่อ และโดนใจผู้ชมจีนก็ทำให้กระแสละครไทยได้รับความนิยม"

นอกจากตลาดจีนแล้ว ปัจจุบันได้ขายลิขสิทธิ์ไปในเวียดนาม เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซียด้วย ปัจจุบันรายได้จากขายลิขสิทธิ์ละครมีสัดส่วนมากกว่า 5% ของรายได้รวมเอ็กแซ็กท์

"ตอนนี้กระแสละครไทยในจีนค่อนข้างเสถียรเมื่อเทียบกับเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ละครไทยบูมที่สุด ล่าสุด ได้ค่าลิขสิทธิ์เฉลี่ยตอนละ 2,500-3,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ"

"สมศรี" บอกว่า สิ่งที่ทำให้ละครของเอ็กแซ็กท์ ประสบความสำเร็จ คือ การมีทีมเขียนบทโทรทัศน์ เขียนพล็อตเรื่องเอง รวมถึงมีทีมผลิตละครเอง ทำให้การทำงาน วางแผนและการตัดสินใจทุกอย่างเร็วขึ้น เมื่อละครประสบความสำเร็จ สิ่งที่ตามมา คือ นักแสดงก็ได้รับความนิยมตามไปด้วย โดยเฉพาะ ป้อง ณวัฒน์, บี้-สุกฤษฎิ์ที่มีฐานแฟนคลับจีนค่อนข้างมาก

สเต็ปต่อไป คือ ต่อยอดธุรกิจ

"สุรพล พีรพงศ์พิพัฒน์" ผู้อำนวยการสายงานบริหารงานขาย บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ให้มุมมองว่า เมื่อละครประสบความสำเร็จ ก็สามารถต่อยอดธุรกิจได้อีกมาก ผ่านตัวนักแสดง เช่น พรีเซ็นเตอร์ อีเวนต์ เป็นต้น โดยปีที่ผ่านมาได้ร่วมงานกับผู้ผลิตละครจีน ในลักษณะโคโปรดักชั่น (Co-Production) ด้วยการส่งนักแสดงไทย "ป้อง-ณวัฒน์" ร่วมแสดงในละครจีน "Love Jewelry" เป็นเรื่องแรก ซึ่งมีกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชมจีน

"โค-โปรดักชั่นมีหลายรูปแบบ แต่ทุกอย่างต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพราะเป้าหมายหลักของบริษัท คือ การผลิตละครในประเทศ เพื่อแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิทัล"

อย่างไรก็ตาม หลังจากการปรับโครงสร้างเมื่อปี 2558 ที่มีการรวมเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ทำให้ลิขสิทธิ์การขายละครจากนี้ไปจะอยู่ภายใต้ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ในเครือจีเอ็มเอ็มวัน และปัจจุบันขายไปแล้วหลายเรื่อง เช่น สงครามนางงาม 1 เป็นต้น

นอกจากค่ายแกรมมี่ ช่องทีวีดิจิทัลอื่น ๆ ก็ให้ความสำคัญกับการนำคอนเทนต์ละครออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น

"องอาจ สิงห์ลำพอง" กรรมการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การขยายตัวของอุตสาหกรรมทีวีในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ทำให้ความต้องการคอนเทนต์สูงขึ้น และไทยในฐานะผู้นำด้านคอนเทนต์ เพราะมีมาตรฐานการผลิต ครีเอทีฟและโปรดักชั่นที่ดี ก็ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น

โดยช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตคอนเทนต์ได้ขายฟอร์แมตรายการ ละคร เกมโชว์ ไปยังต่างประเทศมากขึ้น และปีก่อนบริษัทได้ทดลองตลาด ด้วยการขายละครที่ออกอากาศในช่อง 8 ให้กลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ซึ่งผลตอบรับดี มีรายได้เกือบ 100 ล้านบาท

และปีนี้จะปรับโมเดลการขายใหม่ โดยจะพ่วงเกมโชว์-วาไรตี้ไปด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย และจะขยายตลาดไปยังจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียด้วย เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่และมีโอกาสขยายตัวอีกมาก

สอดรับกับก่อนหน้านี้ "สมรักษ์ ณรงค์วิชัย"รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารช่อง 3 กล่าวว่า ที่ผ่านมาจีนและไต้หวัน เป็นกลุ่มหลัก ๆ ที่ให้ความสนใจในการซื้อลิขสิทธิ์ละครจากสถานี เฉลี่ยซื้อลิขสิทธิ์ปีละ 10 เรื่อง เช่น สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ที่ไต้หวันสนใจซื้อยกแพ็กรวม 5 เรื่อง

นี่ถือเป็นก้าวสำคัญของผู้ผลิตคอนเทนต์ไทย และเป็นอีกโอกาสในการนำคอนเทนต์ไทยและนักแสดงออกไปต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจอื่นในอนาคต

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458753534

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.