Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 PPTV ระบุ ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 22 ช่อง ทุกรายยืนยันว่าจะจ่ายเงินประมูลงวดที่ 3 เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ทั้งที่แต่ละรายแบกภาระขาดทุนอย่างมาก

ประเด็นหลัก

ด้านนายเขม ทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เท่าที่สอบถาม

ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 22 ช่อง ทุกรายยืนยันว่าจะจ่ายเงินประมูลงวดที่ 3 เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ทั้งที่แต่ละรายแบกภาระขาดทุนอย่างมาก

"ธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องลงเงินตลอดเวลาทั้งค่าไลเซนส์ ค่า MUX ดอกเบี้ยธนาคารจากแบงก์การันตี จากที่ประเมินช่องทีวีดิจิทัลมีรายจ่ายต่อปีอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท รายรับเฉพาะช่องใหญ่อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท/ปี เท่ากับต้องแบกขาดทุนราว 1 แสนล้านบาทใน 6 ปีแรก ขณะที่ในแง่ประโยชน์จากสังคม เมื่อทุกช่องต้องแข่งกันดึงเรตติ้งด้วยระบบวัดผลแบบเดิมทำให้คอนเทนต์ไม่มี คุณภาพ สังคมจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านอย่างเต็มที่"

และเมื่อแยกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ต้องจ่ายค่าไลเซนส์ 50,862 ล้านบาท ใน 6 ปี หรือปีละกว่า 8,400 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่ายปีละ 3,800 ล้านบาท ค่าจ้างบุคลากรรวม 8,000 คน ตกราว 4,000 ล้านบาทต่อปี ค่าคอนเทนต์อีก 22,000 ล้านบาทต่อปี ค่าใช้จ่าย Fixed cost เช่น ค่าสตูดิโอ 1,000 ล้านบาทต่อปี รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปีราว 39,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.4 แสนล้านบาท ใน 6 ปีแรก

ขณะที่รายได้ อุตสาหกรรมทีวี 6 ปีแรก ค่าโฆษณาที่เป็นรายได้หลักยังกระจุกอยู่กับ 3 ช่องฟรีทีวีเดิม ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ปีละราว 5,000 ล้านบาท หรือ 90,000 ล้านบาทใน 6 ปี ส่วนทีวีดิจิทัล 4 ช่องใหม่ที่อยู่ในกลุ่มผู้นำเรตติ้งจะมีรายได้ราว 1,000 ล้านบาทต่อปี อีก 15 ช่อง เรตติ้งระดับกลางมีรายได้ราว 200 ล้านบาทต่อปี เท่ากับว่า 6 ปีทีวีดิจิทัลจะมีรายได้เข้ามา 1.3 แสนล้านบาท

"ทีวีดิจิทัลก้าวข้าม กสทช.ไปแล้ว ตั้งแต่ข้อเสนอทั้ง 10 ข้อที่ผู้ประกอบการเสนอไปไม่ได้รับพิจารณา เช่น ใช้เทคโนโลยี live feed จับมือผู้ให้บริการทีวีออนดีมานด์ อย่าง PPTV จับมือ LINE TV นำคอนเทนต์ไปออกแล้วแบ่งรายได้จากยอดชม นอกจาก Youtube ที่ทำไปแล้ว หลายรายการมีรายได้มากกว่าที่ออนแอร์ในช่องปกติ"








_______________________



22ช่องทีวีดิจิทัลดิ้นสู้แบกขาดทุน รายได้เข้าไม่ทันรายจ่าย-พ.ค.จ่ายค่าประมูลงวด3

"กสทช." นับถอยหลังถึงคิวจ่ายค่าประมูลทีวีดิจิทัล งวดที่ 3 กว่า 8,000 ล้านบาท ปลาย พ.ค.นี้ ลุ้น 22 ช่องใครอยู่-ใครไป เร่งประชาสัมพันธ์-แจกคูปองรอบใหม่ ฟาก "ผู้ประกอบการ" ดิ้นสู้แบกขาดทุนหลังแอ่น ระบุ 6 ปีแรกควักเนื้อ 2.4 แสนล้านบาท แต่มีรายได้แค่ 1.3 แสนล้านบาท

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 25 พ.ค.นี้จะครบกำหนดการจ่ายเงินประมูลช่องทีวีดิจิทัลรอบที่ 3 แต่ขณะนี้ยังต้องลุ้นอยู่ว่าจะมีช่องที่ไม่ไปต่อหรือไม่ หลังบริษัท ไทยทีวี จำกัด ที่ประมูลได้ 2 ช่อง โดนถอนใบอนุญาตไปแล้ว เพราะไม่ชำระเงินประมูลงวดที่ 2 ซึ่งช่องที่มีปัญหามากที่สุดคือกลุ่มที่ประมูลได้มากกว่า 1 ช่อง

การ จ่ายเงินงวดที่ 3 ตามหลักเกณฑ์การประมูลแต่ละช่องต้องจ่าย 10% ของราคาตั้งต้นประมูลแต่ละช่อง รวมกับ 20% ของส่วนเกินราคาตั้งต้น หากไม่นับเงิน 2 ช่องที่ถอนใบอนุญาตไปแล้ว เงินประมูลงวด 3 รวมกันจะอยู่ที่ 8,268.66 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยช่องวาไรตี้ความคมชัดสูง "3 HD ช่อง 33" จ่ายมากที่สุด 555 ล้านบาท ถูกสุดคือ "MCOT แฟมิลี่" ช่อง 14 เป็นเงิน 118 ล้านบาท

ส่วนรายได้ กสทช.จากค่าธรรมเนียมรายปีปัจจุบันมาจากกิจการบรอดแคสต์เพียง 348 ล้านบาท ขณะที่ฝั่งโทรคมนาคมมากกว่า 3,000 ล้านบาท และมาจากผู้ประกอบการที วีดิจิทัลเพียง 72 ล้านบาท ที่เหลือมาจากเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม โดยไทยทีวีสีช่อง 3 กองทัพบกช่อง 7 และช่อง 9 อสมท เป็นกลุ่มที่มีรายได้จากโฆษณามากที่สุด และยังได้รับความคุ้มครองในฐานะที่ได้รับสัมปทานและรายได้ส่วนใหญ่เกิดขึ้น ในช่องแอนะล็อกทำให้แม้มีรายได้เยอะแต่ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซนส์รายปี

ขณะที่เงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. ที่ผู้ได้รับไลเซนส์ต้องจ่าย 2% ก่อนหักค่าใช้จ่าย ส่วนของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลยังไม่ได้เรียกเก็บและ กสทช.พยายามหาทางลดหย่อนให้ ทั้งไม่ปิดทางให้เทกโอเวอร์กิจการได้ หากไปต่อไม่ไหว แต่เงินประมูลช่องตามคำสั่ง คสช.ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน กสทช.จึงไม่มีอำนาจผ่อนผันหรือเลื่อนเวลาชำระ เว้นแต่ว่าบางรายแจ้งเหตุผลและความจำเป็นให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป แต่ต้องมีค่าปรับและดอกเบี้ยที่จ่ายล่าช้า

"ปัจจัยการเมืองการอยู่ในภาวะพิเศษทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรม เช่น ช่องทีวีมีภาระต้องถ่ายทอดพิเศษเยอะ กระทบผังรายการภาครัฐจึงควรมีมาตรการเยียวยา ขณะที่ผู้ประกอบการควรรวมตัวกันเพื่อหาช่องขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนวิจัย และพัฒนาของ กสทช."

ขณะที่การแจกคูปองส่วนลดสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านรอบใหม่ให้ประชาชนจะช่วยสร้างความตื่นตัวอีกรอบ เพราะโครงข่ายครอบคลุมกว่า 80% แล้ว

"สำนักงาน กสทช.กำลังเร่งกระบวนการในการเตรียมแจกคูปองรอบใหม่แล้ว แต่หัวใจสำคัญคือจะโน้มน้าวให้กลุ่มที่ดูทีวีแพลตฟอร์มอื่นมาลองดิจิทัลได้อย่างไร"

นางสาวสุภิญญากล่าวต่อว่า การขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX) เป็นไปตามแผน ดังนั้นโจทย์ต่อไปที่ต้องทำคือให้ผู้ประกอบรายใหม่อยู่ได้ยั่งยืน การกำกับดูแลเป็นไปตามกติกา ทั้งในแง่คุณภาพและการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในแง่ MUX และคอนเทนต์

"การออกแบบจำนวน MUX เพื่อหาจุดที่ไม่ให้ผู้ประกอบการรายเก่ามาขัดขวางไม่ให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน กสทช.ทำสำเร็จ ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้สื่อโมบายกลายเป็นสื่อหลักใน อนาคต เป็นสิ่งที่ต้องทบทวนแผนแม่บทคลื่นความถี่ บอร์ด กสทช. มีแนวคิดทบทวนนำคลื่นบรอดแคสต์หลายย่านไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม อาทิ ย่าน 700 MHz แต่ กสทช.ชุดนี้จะหมดวาระ ก.ย.ปีหน้า จึงต้องทบทวนว่า ควรวางกรอบแผนไว้สำหรับชุดใหม่หรือไม่ และนี่เป็นเหตุผลที่ชะลอแผนการเปลี่ยนผ่านวิทยุดิจิทัล"

ด้านนายเขม ทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เท่าที่สอบถาม

ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 22 ช่อง ทุกรายยืนยันว่าจะจ่ายเงินประมูลงวดที่ 3 เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ทั้งที่แต่ละรายแบกภาระขาดทุนอย่างมาก

"ธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องลงเงินตลอดเวลาทั้งค่าไลเซนส์ ค่า MUX ดอกเบี้ยธนาคารจากแบงก์การันตี จากที่ประเมินช่องทีวีดิจิทัลมีรายจ่ายต่อปีอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท รายรับเฉพาะช่องใหญ่อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท/ปี เท่ากับต้องแบกขาดทุนราว 1 แสนล้านบาทใน 6 ปีแรก ขณะที่ในแง่ประโยชน์จากสังคม เมื่อทุกช่องต้องแข่งกันดึงเรตติ้งด้วยระบบวัดผลแบบเดิมทำให้คอนเทนต์ไม่มี คุณภาพ สังคมจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านอย่างเต็มที่"

และเมื่อแยกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ต้องจ่ายค่าไลเซนส์ 50,862 ล้านบาท ใน 6 ปี หรือปีละกว่า 8,400 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่ายปีละ 3,800 ล้านบาท ค่าจ้างบุคลากรรวม 8,000 คน ตกราว 4,000 ล้านบาทต่อปี ค่าคอนเทนต์อีก 22,000 ล้านบาทต่อปี ค่าใช้จ่าย Fixed cost เช่น ค่าสตูดิโอ 1,000 ล้านบาทต่อปี รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปีราว 39,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.4 แสนล้านบาท ใน 6 ปีแรก

ขณะที่รายได้ อุตสาหกรรมทีวี 6 ปีแรก ค่าโฆษณาที่เป็นรายได้หลักยังกระจุกอยู่กับ 3 ช่องฟรีทีวีเดิม ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ปีละราว 5,000 ล้านบาท หรือ 90,000 ล้านบาทใน 6 ปี ส่วนทีวีดิจิทัล 4 ช่องใหม่ที่อยู่ในกลุ่มผู้นำเรตติ้งจะมีรายได้ราว 1,000 ล้านบาทต่อปี อีก 15 ช่อง เรตติ้งระดับกลางมีรายได้ราว 200 ล้านบาทต่อปี เท่ากับว่า 6 ปีทีวีดิจิทัลจะมีรายได้เข้ามา 1.3 แสนล้านบาท

"ทีวีดิจิทัลก้าวข้าม กสทช.ไปแล้ว ตั้งแต่ข้อเสนอทั้ง 10 ข้อที่ผู้ประกอบการเสนอไปไม่ได้รับพิจารณา เช่น ใช้เทคโนโลยี live feed จับมือผู้ให้บริการทีวีออนดีมานด์ อย่าง PPTV จับมือ LINE TV นำคอนเทนต์ไปออกแล้วแบ่งรายได้จากยอดชม นอกจาก Youtube ที่ทำไปแล้ว หลายรายการมีรายได้มากกว่าที่ออนแอร์ในช่องปกติ"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461823718

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.