22 พฤษภาคม 2559 รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ระบุ หากมีบริษัทในเครือ "เอไอเอส" เข้าประมูลรายเดียวที่ราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ทำได้ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการประมูล คือเพื่อให้เห็นราคาตลาดที่แท้จริงของทรัพยากรที่มีการนำไปประมูล
ประเด็นหลัก
____________________________
งวดเข้ามาทุกทีแล้วสำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่ กสทช.จะจัดในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และจะเปิดให้ยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูลได้ในวันที่ 18 พ.ค. ซึ่งมี 2 บริษัทมารับเอกสาร คือ ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ในเครือทรู ผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเคยทำหนังสือไปยัง กสทช.ขอรับช่วงในการใช้คลื่นดังกล่าวในราคาที่แจส โมบายบรอดแบนด์ได้ไป ขณะที่ดีแทคประกาศไม่เข้าประมูล
"รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์" อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่มีประเด็นที่ต้องจับตาคือ การเข้าประมูลของกลุ่มทรู เนื่องจากมีคลื่นในมือที่ได้จากการประมูลรวม 55 MHz แล้ว หากชนะอีกจะได้คลื่นเพิ่มอีก 10 MHz และเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีคลื่น 900 MHz เสี่ยงเกิดการผูกขาดตลาดและการแข่งขันไม่เป็นธรรมในอนาคตจึงมีคำถามที่ กสทช.ต้องพิจารณาว่า จะให้ตลาดโทรคมนาคมเป็นแบบนี้หรือไม่ ทั้งที่เป็นหน้าที่สำคัญที่ต้องกำกับดูแลให้แข่งขันเสรีและเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม หากมีบริษัทในเครือ "เอไอเอส" เข้าประมูลรายเดียวที่ราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ทำได้ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการประมูล คือเพื่อให้เห็นราคาตลาดที่แท้จริงของทรัพยากรที่มีการนำไปประมูล ซึ่งการจัดประมูลครั้งก่อนทำให้เห็นว่า มีการแข่งขันและเป็นราคาตลาดของคลื่นย่านดังกล่าว
"การประมูลคือการทำให้ดีมานด์กับซัพพลายมาเจอกันค่ายมือถือย่อมต้องประเมินมูลค่าคลื่นมาแล้วเมื่อมีการแข่งขันที่แท้จริงทำให้เราได้เห็นราคาคลื่นจริง ๆ"
____________________________
ลุ้นประมูลคลื่นรอบใหม่ ชี้ชะตา 4G คลื่น 900 "เอไอเอส"
งวดเข้ามาทุกทีแล้วสำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่ กสทช.จะจัดในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และจะเปิดให้ยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูลได้ในวันที่ 18 พ.ค. ซึ่งมี 2 บริษัทมารับเอกสาร คือ ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ในเครือทรู ผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเคยทำหนังสือไปยัง กสทช.ขอรับช่วงในการใช้คลื่นดังกล่าวในราคาที่แจส โมบายบรอดแบนด์ได้ไป ขณะที่ดีแทคประกาศไม่เข้าประมูล
"รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์" อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่มีประเด็นที่ต้องจับตาคือ การเข้าประมูลของกลุ่มทรู เนื่องจากมีคลื่นในมือที่ได้จากการประมูลรวม 55 MHz แล้ว หากชนะอีกจะได้คลื่นเพิ่มอีก 10 MHz และเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีคลื่น 900 MHz เสี่ยงเกิดการผูกขาดตลาดและการแข่งขันไม่เป็นธรรมในอนาคตจึงมีคำถามที่ กสทช.ต้องพิจารณาว่า จะให้ตลาดโทรคมนาคมเป็นแบบนี้หรือไม่ ทั้งที่เป็นหน้าที่สำคัญที่ต้องกำกับดูแลให้แข่งขันเสรีและเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม หากมีบริษัทในเครือ "เอไอเอส" เข้าประมูลรายเดียวที่ราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ทำได้ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการประมูล คือเพื่อให้เห็นราคาตลาดที่แท้จริงของทรัพยากรที่มีการนำไปประมูล ซึ่งการจัดประมูลครั้งก่อนทำให้เห็นว่า มีการแข่งขันและเป็นราคาตลาดของคลื่นย่านดังกล่าว
"การประมูลคือการทำให้ดีมานด์กับซัพพลายมาเจอกันค่ายมือถือย่อมต้องประเมินมูลค่าคลื่นมาแล้วเมื่อมีการแข่งขันที่แท้จริงทำให้เราได้เห็นราคาคลื่นจริง ๆ"
สำหรับกรณีที่หากไม่มีใครยื่นซองประมูลเลย ตนมองว่า กสทช.ไม่จำเป็นต้องเก็บคลื่นไว้นาน ๆ เพื่อดึงราคา เพราะความต้องการใช้คลื่นมีสูงมาก ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตและความต้องการใช้งานในความเร็วที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นแรงผลักที่สำคัญให้ผู้ประกอบการต้องหาคลื่นมาใช้ ทุกวันนี้เอกชนยอมรับว่าคลื่นที่ประมูลได้มาก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอกับการให้บริการ ผู้ใช้งานจึงเจอกับปัญหาคุณภาพบริการที่ลดลง
"ถ้าไม่มีใครมาประมูลจริง ๆ กสทช.เก็บคลื่นไว้สัก 6 เดือนก็ได้ แต่ปัญหาคือจะออกแบบกติกาจัดสรรคลื่นให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดอย่างไร ไม่ใช่ปัญหาว่าไม่มีใครต้องการใช้คลื่น จึงไม่จำเป็นต้องกลับไปประมูลด้วยราคาเริ่มต้นหมื่นกว่าล้านบาท แต่ควรกลับไปที่ราคาสุดท้ายในการประมูลครั้งก่อนที่ทั้ง 3 รายยังเคาะราคาอยู่ หรือราคาสุดท้ายที่ดีแทคเคาะรับไว้คือ 70,180 ล้านบาท"
"รศ.ดร.นวลน้อย" กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นแนวทางไหน สิ่งที่ กสทช.ควรต้องทบทวนคือ การออกแบบกฎกติกาการประมูล ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้เกิดปัญหาทิ้งเงินค้ำประกันของ แจส โมบายบรอดแบนด์ เพราะการลงทุนกิจการโทรคมนาคมไม่เหมือนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่นอกจากต้องจ่ายค่าคลื่นแล้วยังต้องลงทุนโครงข่ายซึ่งหมายถึงเงินลงทุนอีกจำนวนมหาศาล
"ปัญหานี้ไม่ใช่แค่เอกชนต้องรับผิดชอบกสทช.ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะตลอดเวลาได้ให้ข้อมูลว่าการประมูลจะก่อให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องเท่าไร ฉะนั้น การออกแบบ การวางเงินค้ำประกันการประมูลจึงไม่ใช่คิดแค่ค่าคลื่น ต้องประเมินไปถึงการลงทุนโครงข่ายในอนาคตด้วย กรณีนี้แสดงถึงปัญหาในการออกแบบการประมูลทำให้เกิดการปั่นป่วนและไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบแต่ละกระบวนการจริงจังอาทิมีการปั่นหุ้นหรือไม่ การยึดเงิน644 ล้านบาท หรือการฟ้องร้องแจสก็ไม่มั่นใจว่าจะช่วยอะไรได้"
ที่สำคัญการแก้ปัญหาด้วยการจัดประมูลรอบใหม่มีโจทย์สำคัญคือการแข่งขันที่เป็นธรรมกับผู้ชนะการประมูลครั้งก่อนและผู้เข้าประมูลครั้งใหม่ด้วยแต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
"ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ไม่ได้คาดหวังกับการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ เพราะเชื่อว่าจะไม่มีการแข่งขันรุนแรง จากราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท ทั้งก่อนนี้เอไอเอสเคยทำหนังสือเสนอขอรับคลื่นในราคานี้ไว้แล้ว ประกอบกับมีผู้ที่ได้คลื่นย่านนี้ไปก่อนแล้ว สิ่งที่สำคัญน่าจะเป็นการกำกับดูแลตลาดของ กสทช. หลังจากนี้มากกว่า
ด้าน "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า มั่นใจว่าการประมูลจะราบรื่น เพราะเตรียมพร้อมไว้ทุกด้านแล้ว ทั้งตลาดขณะนี้ก็แข่งขันกันรุนแรงทำให้ความถี่เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าไม่มีใครประมูลก็จะเก็บคลื่นไว้ก่อน ไม่นำมาประมูลใหม่ด้วยการลดราคาเริ่มต้น
ขณะที่แหล่งข่าวในธุรกิจโทรคมนาคม กล่าวว่า แม้กลุ่มทรูและเอไอเอสจะไปรับเอกสารประมูลมาแล้ว แต่ยังต้องลุ้นกันว่าจะเข้าประมูลทั้งคู่หรือไม่ แม้หลายฝ่ายมองว่าเอไอเอสเข้าแน่ เพราะต้องการคลื่นเพื่อขยายบริการรองรับการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มทรูไม่น่าเข้าเพราะได้คลื่น 900 ช่วงที่ดีที่สุดไปแล้ว และมีภาระต้องลงทุนเครือข่ายต่อ แต่คงต้องรอลุ้นกันในวันที่ 18พ.ค.นี้ว่าใครบ้างที่ไปยื่นซองประมูล
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
อ่านเพิ่มเติม
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1463643239
ไม่มีความคิดเห็น: