Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 พฤษภาคม 2559 การสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ในการสนับสนุนให้ประเทศไทย ควรสนับสนุนให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการให้บริการ

ประเด็นหลัก นายอลาสแดร์ แกรนท์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเกิดสังคมดิจิตอล รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดกฎหมายเพื่อดูแลและสนับสนุนให้ประชาชนใช้งานดิจิตอลได้อย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องสร้างสังคมดิจิตอลที่มีความสร้างสรรค์ ซึ่งเชื่อว่าความชัดเจนจากภาครัฐจะทำให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนตื่นตัวและลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับแนวโน้มดังกล่าว ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานคลื่นความถี่ต่างๆ ในระบบสัมปทานให้เป็นระบบใบอนุญาตทั้งหมด ทั้งยังควรสนับสนุนให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการให้บริการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้งานให้แก่ผู้บริโภคทั้งที่ใช้งานดิจิตอลอยู่แล้วและยังไม่มีโอกาสใช้งาน _____________________________________ แนะรัฐชัดเจน! สร้างสังคมดิจิตอล กระตุ้นไทยก้าวสู่ยุคไซเบอร์เต็มรูปแบบ

สมาคมจีเอสเอ็มเผยรายงานฉบับล่าสุด ไทยสูสีอินโดนีเซียในยุคสังคมดิจิตอลช่วงเปลี่ยนผ่าน มือถือเป็นอุปกรณ์สำคัญช่วยขยายการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลง่ายและรวดเร็ว…

นายอลาสแดร์ แกรนท์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเกิดสังคมดิจิตอล รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดกฎหมายเพื่อดูแลและสนับสนุนให้ประชาชนใช้งานดิจิตอลได้อย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องสร้างสังคมดิจิตอลที่มีความสร้างสรรค์ ซึ่งเชื่อว่าความชัดเจนจากภาครัฐจะทำให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนตื่นตัวและลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับแนวโน้มดังกล่าว ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานคลื่นความถี่ต่างๆ ในระบบสัมปทานให้เป็นระบบใบอนุญาตทั้งหมด ทั้งยังควรสนับสนุนให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการให้บริการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้งานให้แก่ผู้บริโภคทั้งที่ใช้งานดิจิตอลอยู่แล้วและยังไม่มีโอกาสใช้งาน

ปัจจุบันประชากรกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือและได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิตอล แต่ยังมีประชากรอีกราว 4,000 ล้านคน ยังไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายและใช้บริการดิจิตอลต่างๆ ได้ ประกอบกับอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวมในเอเชียแปซิฟิกก็ยังคงตามหลังค่าเฉลี่ยทั่วโลก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีประชากรมากแต่กลับมีสัดส่วนการพัฒนาเครือข่ายที่ค่อนข้างต่ำ เห็นได้จากอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มีประชากรรวมกันกว่า 1,600 ล้านคน แต่มีสัดส่วนผู้ลงทะเบียนใช้งานจริงเพียง 36% ดังนั้นการทำให้ประชากรทั่วภูมิภาคสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจึงเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้กำหนดนโยบายจะต้องแก้ไขและรับมือต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า

ทั้งนี้ สมาคมจีเอสเอ็ม ได้เปิดเผยรายละเอียดของรายงานฉบับล่าสุด ในหัวข้อการพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมดิจิตอลในเอเชีย (Advancing Digital Societies in Asia) เกี่ยวกับบทบาทของการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเรียกร้องผู้กำหนดนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศดิจิตอลทั่วภูมิภาค ซึ่งได้มีการเผยแพร่ในการประชุมนโยบายสังคมดิจิตอลประจำปี 2016 โดยสมาคมจีเอสเอ็มและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (GSMA-ITU Digital Societies Policy Forum 2016) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และพันธมิตรในอุตสาหกรรม

สำหรับเนื้อหาที่สำคัญของรายงานฉบับนี้คือความก้าวหน้าของการพัฒนาสังคมดิจิตอลของ 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน สิงคโปร์ และไทย โดยแต่ละประเทศจะได้รับการประเมินในด้านต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ระดับการเข้าถึงโครงข่ายเชื่อมต่อของประชาชน การพัฒนาพลเมืองให้พร้อมต่อระบบดิจิตอล และการพัฒนาระบบดิจิตอลที่รองรับวิถีชีวิต รวมทั้งความก้าวหน้าของดิจิตอลคอมเมิร์ซ โดยผลการวิเคราะห์ได้สะท้อนถึงความหลากหลายในภูมิภาค โดยสามารถแบ่งการพัฒนาดิจิตอลของประเทศในเอเชียเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สังคมดิจิตอลเกิดใหม่, สังคมดิจิตอลช่วงเปลี่ยนผ่าน, สังคมดิจิตอลชั้นสูง

"ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มสังคมดิจิตอลช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งหากเทียบกับอินโดนีเซียซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เชื่อว่าไทยมีศักยภาพมากกว่าในการก้าวสู่สังคมดิจิตอลชั้นสูง ซึ่งในกลุ่มนี้มุ่งเน้นการปรับบริการตามความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและสถาบัน นอกจากนี้กลุ่มประเทศดังกล่าวยังมีลักษณะการขยายตัวของเมืองใหญ่อย่างรวดเร็ว จนอาจเกิดปัญหาทั้งด้านสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม"

อย่างไรก็ตาม สังคมดิจิตอลเกิดใหม่ประเทศที่เป็นตัวอย่างของสังคมดังกล่าวในรายงานนี้ คือ บังกลาเทศ และปากีสถาน โดยการพัฒนาดิจิตอลในประเทศเหล่านี้จะมุ่งเน้นให้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม โดยสิ่งสำคัญที่ประเทศเหล่านี้ดำเนินการเป็นลำดับแรก คือการจัดหาบริการที่จำเป็นต่างๆ ให้กับประชาชน เช่น บริการด้านสุขภาพ การศึกษา และบริการทางการเงิน

ส่วนสังคมดิจิตอลขั้นสูง ประเทศที่เป็นตัวอย่างของสังคมดังกล่าวในรายงานนี้ คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตทั้งในแง่การเข้าถึงในวงกว้างและขีดความสามารถในการรองรับ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันด้านเทคโนโลยีดิจิตอลระหว่างหลายภาคส่วน ทั้งยังถูกคำนึงถึงในฐานะผู้นำที่เป็นแบบอย่างของภูมิภาคด้านการสร้างมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของสังคมดิจิตอลอีกด้วย

"สิ่งสำคัญในการสร้างสังคมดิจิตอล คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแต่สามารถปรับขยายได้ในอนาคต โดยในภูมิภาคเอเชีย โทรศัพท์เคลื่อนที่ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ใช้เชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงบริการดิจิตอล จึงมีการสนับสนุนให้ภาครัฐกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเข้าใจในการใช้บริการให้กับประชาชน".

http://www.thairath.co.th/content/612128

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.