Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2559 ปัจจุบัน DTAC แอคเซอเลอเรท มีสตาร์ทอัปในโครงการรวม 22 ทีม การได้รับเงินลงทุนทั้ง 16 รายดังกล่าวคิดเป็น 70% ของสตาร์ทอัปทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าให้บริษัทที่ร่วมในโครงการกว่า 1,200 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


ปัจจุบัน ดีแทค แอคเซอเลอเรท มีสตาร์ทอัปในโครงการรวม 22 ทีม การได้รับเงินลงทุนทั้ง 16 รายดังกล่าวคิดเป็น 70% ของสตาร์ทอัปทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าให้บริษัทที่ร่วมในโครงการกว่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งนับจากนี้ดีแทคจะยังคงต่อยอดโครงการดังกล่าวต่อไป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมีแอปพลิเคชันของไทยไปสู่ระดับโลกได้ และอยากเห็นคนไทยใช้แอปพลิเคชันของไทย ไม่ใช่จะต้องมีแต่แอปพลิเคชันของต่างชาติอย่างเดียว
_________________________________
ดีแทคเผยนักลงทุนเทเงินให้สตาร์ทอัปดีแทคอีก 70 ล้านบาท

ดีแทค เผยสตาร์ทอัปที่ผ่านการบ่มเพาะจากดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้รับเงินลงทุนในระยะเริ่มต้นเพิ่มอีก 7 ราย รวมมูลค่าการลงทุน 70 ล้านบาท เผยเมื่อรวมกับที่ผ่านมาจะทำให้สตาร์ทอัปในโครงการมีเงินลงทุนรวม 150 ล้านบาท จาก 16 บริษัท หรือคิดเป็นความสำเร็จ 70% จากสตาร์ทอัปในโครงการที่มีอยู่ 22 ราย นับว่าสูงกว่าตลาดรวมที่มีสตาร์ทอัปได้รับเงินลงทุนเพียง 20% เท่านั้น ชี้มีนักลงทุนจำนวนมากที่สนใจสตาร์ทอัปในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น โอกาสในตลาดนี้ยังมีอีกมาก
นายสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจ และดีแทค แอคเซอเลอเรท บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า สตาร์ทอัปที่ผ่านการบ่มเพาะจากดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้รับเงินลงทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Funding จาก VC (Venture Capital) ทั้งในประเทศ และจากเงินทุนต่างชาติจากนักลงทุนได้เพิ่มอีก 7 ราย รวมมูลค่าการลงทุน 70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในครั้งก่อนที่มีสตาร์ทอัปในโครงการได้รับเงินลงทุนไปแล้ว 9 ราย ทำให้ในขณะนี้สตาร์ทอัปที่ผ่านโครงการดีแทคมีการลงทุนรวมกว่า 150 ล้านบาท
ปัจจุบัน ดีแทค แอคเซอเลอเรท มีสตาร์ทอัปในโครงการรวม 22 ทีม การได้รับเงินลงทุนทั้ง 16 รายดังกล่าวคิดเป็น 70% ของสตาร์ทอัปทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าให้บริษัทที่ร่วมในโครงการกว่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งนับจากนี้ดีแทคจะยังคงต่อยอดโครงการดังกล่าวต่อไป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมีแอปพลิเคชันของไทยไปสู่ระดับโลกได้ และอยากเห็นคนไทยใช้แอปพลิเคชันของไทย ไม่ใช่จะต้องมีแต่แอปพลิเคชันของต่างชาติอย่างเดียว
“การเข้ามาลงทุนกับสตาร์ทอัปที่ผ่านการบ่มเพาะจากดีแทค แอคเซอเลอเรท คิดเป็นความสำเร็จถึง 70% และถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าตลาดรวม ที่มีสตาร์ทอัปได้รับการลงทุนแค่ 20% เท่านั้น ดังนั้น การที่สตาร์ทอัปเข้าสู่แพลตฟอร์มที่ถูกต้องจะช่วยให้สตาร์ทอัปสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้พบว่า ยังมีนักลงทุนพร้อมที่จะนำเงินทุนเข้ามาให้อีกจำนวนมาก ในขณะที่สตาร์ทอัปที่เกิดใหม่ยังมีไม่เพียงพอ ต่างจากตลาดในซิลิคอน วัลเลย์ที่มีสตาร์ทอัปมากเกินกว่าจำนวนนักลงทุน จึงนับว่าสตาร์ทอัปของไทยยังมีโอกาสอีกมาก”
นายสมโภชน์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของสตาร์ทอัปของโครงการดีแทคที่เหลืออีก 30% นั้น ไม่ใช่จะไม่ประสบความสำเร็จ เพียงแต่ยังต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจ รวมไปถึงตลาดยังคงมีความต้องการสตาร์ทอัปอยู่มาก โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการให้กลุ่มสตาร์ทอัปเหล่านี้เข้าไปเสริมการทำงาน พึ่งพาอาศัยกัน และเติบโตไปพร้อมกัน ปัจจุบัน ในเมืองไทยมีเกือบ 2,000 สตาร์ทอัป ในจำนวนนี้จะมีโอกาสรอด และสามารถสร้างธุรกิจได้ประมาณ 10% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มของเทคสตาร์ทอัป
สำหรับรายละเอียดการลงทุนครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 1.Piggipo สตาร์ทอัป FinTech ทำแอปพลิเคชันบริหารจัดการบัตรเครดิต ได้รับเงินลงทุนจาก Golden Gate Venture แอนดี้ และกองทุน 500 สตาร์ทอัป 2.Storylog คอมมิวนิตีนักเขียน นักอ่าน อาณาจักรล้านเรื่องเล่าที่โตไวที่สุดบนโลกออนไลน์ ที่ได้รับการลงทุน และควบรวมจาก OokBee ผู้นำแพลตฟอร์มอีบุ๊กในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3.Skootar บริการเรียกแมสเซ็นเจอร์ ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็คผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันมือถือ สำหรับบริษัท SME ร้านอาหาร และ ธุรกิจ E-commerce เป็นสตาร์ทอัปดาวรุ่งที่เกิด และเติบโตขึ้น 12 เท่า ภายใน 8 เดือน หลังจากเข้าร่วมดีแทค แอคเซอเลอเรท บูทแคมป์ ได้รับเงินลงทุนจากกองทุน 500 สตาร์ทอัป และ Galaxy Ventur
4.Take Me Tour เป็น Travel Tech ที่มาแรงและกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยแพลตฟอร์มตลาดกลางออนไลน์สำหรับทัวร์หนึ่งวัน ที่สร้างขึ้นโดยคนในท้องถิ่น ได้รับเงินลงทุนจากกองทุน 500 สตาร์ทอัป และเถ้าแก่น้อย เจ้าของธุรกิจสาหร่ายพันล้าน 5.Giztix เป็นตลาดซื้อขายบริการขนส่ง และลอจิสติกส์ออนไลน์ พร้อมทั้งมีบริการครบวงจรสำหรับการขนส่ง ปัจจุบันขยายตลาดไปถึง 8 ประเทศ ได้รับเงินลงทุนจากกองทุน 500 สตาร์ทอัป และ KK Fund
6.Finnomena สตาร์ทอัป FinTech น้องใหม่มาแรง จากนักบริหารกองทุนที่รวมตัวกันเพื่อช่วยให้คนไทยได้ลงทุนได้ตามเป้าหมาย โดยได้เริ่มทดลองเปิดฟีเจอร์ NTER ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจลงทุน จนมีคนเอาเงินมาลงทุนผ่านฟีเจอร์นี้มากกว่า 150 ล้านบาท ในเวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงที่เปิดตัวไปได้รับเงินลงทุนจากกองทุน 500 สตาร์ทอัป และ 7.Fastwork มาร์เก็ตเพลส ที่รวบรวมเอาฟรีแลนซ์มืออาชีพมาไว้บนออนไลน์ให้เลือกใช้บริการ ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้รับเงินลงทุนจากกองทุน 500 สตาร์ทอัป ภายใน 9 อาทิตย์หลังเปิดตัวขึ้นมา

ดีแทคเผยนักลงทุนเทเงินให้สตาร์ทอัปดีแทคอีก 70 ล้านบาท

ด้านนาย “กระทิง” เรืองโรจน์ พูนผล ผู้จัดการกองทุน 500 ตุ๊กตุ๊ก กล่าวว่า การลงทุนในครั้งนี้ ทั้ง 7 สตาร์ทอัปจากดีแทค แอคเซอเลอเรท มีผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน มีทีมงานที่แข็งแกร่ง และมีความรอบรู้ และประสบการณ์ในธุรกิจที่ทำอยู่ นอกจากนี้ ยังมียอดคนใช้งานและมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมในตลาด ทำให้นักลงทุนสนใจ โดยเงินลงทุนนี้จะเป็นเงินทุนตั้งต้นในระยะเวลา 12-18 เดือน เพื่อให้สตาร์อัปเริ่มต้นธุรกิจได้ และสามารถโตต่อไปจนได้รับเงินลงทุนในระดับซีรีส์เอ จนถึงซีรีส์ซี ไปจนถึงการระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯได้ หากธุรกิจนั้นมีศักยภาพเพียงพอ
ปัจจุบัน กองทุน 500 ตุ๊กตุ๊ก ได้ลงทุนกับสตาร์ทอัปไทยแล้ว 20 บริษัท รวมเงินลงทุนในตลาดแล้ว 70 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายในสิ้นปีนี้จะลงทุนอีก 10 บริษัท

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000054591

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.