Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มิถุนายน 2559 หัวเว่ย ให้ข้อมูลต่อว่า ความสำเร็จของหัวเว่ยเกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลักของบริษัท คือ 1.เป็นองค์กรที่มีซีอีโอแบบหมุนเวียนทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดการจำกัดอำนาจในการบริหาร 2.การให้พนักงานทุกคนถือหุ้นของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนถึง 99% จากพนักงานกว่า 1.7 แสนราย โดยเป็นชาวต่างชาติกว่า 40,000 คน ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นผู้นำในทุกๆ ธุรกิจ

ประเด็นหลัก
“หัวเว่ย” หวังเติบโตแบบยั่งยืนในตลาดสมาร์ทโฟน

โทมัส ให้ข้อมูลต่อว่า ความสำเร็จของหัวเว่ยเกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลักของบริษัท คือ 1.เป็นองค์กรที่มีซีอีโอแบบหมุนเวียนทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดการจำกัดอำนาจในการบริหาร 2.การให้พนักงานทุกคนถือหุ้นของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนถึง 99% จากพนักงานกว่า 1.7 แสนราย โดยเป็นชาวต่างชาติกว่า 40,000 คน ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นผู้นำในทุกๆ ธุรกิจ
3.การให้ความสำคัญต่องานวิจัยและพัฒนา ที่จะนำ 10% ของผลประกอบการมาใช้เพื่อให้สามารถเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด ใน 16 ศูนย์วิจัยและพัฒนา และ 4.การที่ไม่ได้เป็นบริษัทในตลาดหุ้น ทำให้ไม่ต้องทำธุรกิจเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในตลาดสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยก่อนหน้านี้ คือ การชิงส่วนแบ่งการตลาด 15% ภายในปีหน้า ซึ่งยังถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายของหัวเว่ย กับตลาดในประเทศไทยที่มีการแข่งขันสูงทั้งจากผู้นำในตลาด และแบรนด์เพื่อนร่วมประเทศของหัวเว่ย ที่เร่งทำตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้เช่นเดียวกัน
_________________________________ “หัวเว่ย” หวังเติบโตแบบยั่งยืนในตลาดสมาร์ทโฟน


“หัวเว่ย” เผย 4 ปัจจัยสู่ความสำเร็จภายใต้เป้าหมายหลักคือ การขึ้นเป็นผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนแบบยั่งยืน เร่งเพิ่มการรับรู้แบรนด์เป็น 85% ภายในปีนี้ พร้อมปรับเปลี่ยนโมเดลบริการหลังการขายที่จะไม่รับซ่อม หลังการเปิดตัว Huawei P9 ในวันที่ 7 มิ.ย. และบริการจัดส่งสินค้าภายใน 5 วัน
โทมัส หลิว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คอนซูเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวย้อนถึงกลยุทธ์ในการทำตลาดช่วงที่ผ่านมาของหัวเว่ย ว่า จะเน้นไปที่การศึกษาความต้องการของผู้บริโภค ที่เมื่อได้เรียนรู้แล้วก็นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่ทยอยออกสู่ตลาด ซึ่งจะเห็นได้ถึงความเป็นแฟชั่นมากยิ่งขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่กว้างขึ้นนอกเหนือไปจากลูกค้าที่ติดตามเรื่องไอที
“หัวเว่ย ต้องการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ออกมานอกเหนือจากสมาร์ทโฟน กลายเป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่นมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากภาพในตลาดโลกที่มีดารา นักแสดง นำสินค้าของหัวเว่ยไปใช้งานในมุมของแฟชั่นมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้หัวเว่ยเริ่มขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดนี้ได้มาจากการที่หัวเว่ยพยายามคิดนอกกรอบเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ตลาดไอทีให้ก้าวขึ้นไปเหนือคู่แข่ง ไม่ใช่การตามคู่แข่งให้ทัน”
อย่างในประเทศไทยปีที่ผ่านมา การรับรู้แบรนด์หัวเว่ย มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 60% จากปีก่อนอยู่ที่ 32% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่มีนัยสำคัญ แต่เป้าหมายของหัวเว่ยจริงๆ คือ ต้องการให้ผู้บริโภครับรู้แบรนด์ถึง 85% ภายในสิ้นปีนี้ จากทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะทยอยออกทำตลาดเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่จะรวมถึงอุปกรณ์สวมใส่ได้ และอื่นๆ ด้วย
โดยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ย ได้มีการลงทุนในประเทศไทยไปแล้วกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.1 หมื่นล้านบาท) ทั้งในแง่ของการตั้งสำนักงาน พัฒนาช่องทางการทำตลาด บริการหลังการขาย โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การก้าวขึ้นเป็นผู้นำในกลุ่มผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนในอนาคต
“จะเห็นได้ว่าการเติบโตของหัวเว่ยที่ผ่านมาจะเป็นการเติบโตแบบมีคุณภาพด้วยการผสมผสานระหว่างผลิตภัณฑ์ บริการ และช่องทางจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามที่หัวเว่ยตั้งใจว่า ไม่ใช่การเติบโตแบบชั่วคราวจากยอดขายที่พุ่งขึ้นมาในช่วงขณะใดขณะหนึ่งแล้วหายจากตลาดไป”
นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังมีแผนที่จะขยายศูนย์บริการในประเทศไทยเพิ่มเป็น 18 แห่งภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ย มีศูนย์บริการรวมกว่า 200 แห่ง พร้อมไปกับการพัฒนารูปแบบการจำหน่ายแบบใหม่ที่จะส่งสินค้าถึงมือลูกค้าภายใน 5 วันทำการที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้
ในส่วนของบริการหลังการขาย หลังจากการจำหน่าย Huawei P9 ที่จะเริ่มทำตลาดในวันที่ 7 มิถุนายน 2559 หัวเว่ย จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้วยการไม่รับซ่อมสินค้าตลอดระยะเวลาการใช้งาน แต่ใช้รูปแบบอื่นอย่างการเปลี่ยนเครื่องเมื่อมีปัญหาแทน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้จะทราบความชัดเจนหลังจากเปิดวางจำหน่าย
ส่วนความเคลื่อนไหวในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา หัวเว่ย สามารถชิงส่วนแบ่งในการจัดส่งสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 8.5% ถือว่าเติบโตขึ้นถึง 62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รวมถึงการเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์ในหลายตลาดทั่วโลก ซึ่งทำให้ภาพรวมของหัวเว่ยมีการเติบโตกว่า 1.5%

“หัวเว่ย” หวังเติบโตแบบยั่งยืนในตลาดสมาร์ทโฟน

โทมัส ให้ข้อมูลต่อว่า ความสำเร็จของหัวเว่ยเกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลักของบริษัท คือ 1.เป็นองค์กรที่มีซีอีโอแบบหมุนเวียนทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดการจำกัดอำนาจในการบริหาร 2.การให้พนักงานทุกคนถือหุ้นของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนถึง 99% จากพนักงานกว่า 1.7 แสนราย โดยเป็นชาวต่างชาติกว่า 40,000 คน ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นผู้นำในทุกๆ ธุรกิจ
3.การให้ความสำคัญต่องานวิจัยและพัฒนา ที่จะนำ 10% ของผลประกอบการมาใช้เพื่อให้สามารถเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด ใน 16 ศูนย์วิจัยและพัฒนา และ 4.การที่ไม่ได้เป็นบริษัทในตลาดหุ้น ทำให้ไม่ต้องทำธุรกิจเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในตลาดสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยก่อนหน้านี้ คือ การชิงส่วนแบ่งการตลาด 15% ภายในปีหน้า ซึ่งยังถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายของหัวเว่ย กับตลาดในประเทศไทยที่มีการแข่งขันสูงทั้งจากผู้นำในตลาด และแบรนด์เพื่อนร่วมประเทศของหัวเว่ย ที่เร่งทำตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้เช่นเดียวกัน

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000055460&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+3-6-59&utm_campaign=20160602_m131896370_MGR+Morning+Brief+3-6-59&utm_term=_E2_80_9C_E0_B8_AB_E0_B8_B1_E0_B8_A7_E0_B9_80_E0_B8_A7_E0_B9_88_E0_B8_A2_E2_80_9D+_E0_B8_AB_E0_B8_A7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.