Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ระบุว่า หากระบบโดนโจมตีจากวิธีใด ๆ และใช้งานไม่ได้ จะสูญเสียมูลค่าทางธุรกิจเฉลี่ย 2 แสนบาท/นาที และรูปแบบการทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ อันดับ 1 คือ ไฟฟ้า รองลงมาคือ การโจมตีแบบ Dis-tributed Denial of Service (DDoS) หรือการใช้เครื่องจำนวนมากเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วจนรับมือไม่ทัน

ประเด็หลัก จากข้อมูลของบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ระบุว่า หากระบบโดนโจมตีจากวิธีใด ๆ และใช้งานไม่ได้ จะสูญเสียมูลค่าทางธุรกิจเฉลี่ย 2 แสนบาท/นาที และรูปแบบการทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ อันดับ 1 คือ ไฟฟ้า รองลงมาคือ การโจมตีแบบ Dis-tributed Denial of Service (DDoS) หรือการใช้เครื่องจำนวนมากเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วจนรับมือไม่ทัน เช่น การทำ DDoS กับเว็บไซต์ของราชการโดยกลุ่มพลเมืองเน็ต แต่ด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยค่อนข้างเกรงกลัวเรื่องการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานอื่น ทำให้เกือบทั้งหมดพัฒนาระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขึ้นมาเอง และไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ______________________________________________________________ ไทยติดท็อปเสี่ยงภัยไซเบอร์ แนะเร่งสร้างระบบซีเคียวริตี้



"ไซเบอร์ตรอน" ปลุกรัฐ-เอกชนลงทุนระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ระบุไทยติดท็อปกลุ่มเสี่ยง แนะให้ผู้เชี่ยวชาญทำคุ้มกว่าทำเอง เดินหน้าส่งโซลูชั่นป้องกัน DDoS บุกตลาดเต็มสูบ ตั้งเป้าปั้นรายได้ 100 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้

นายปริญญา หอมเอนก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไซเบอร์ตรอน จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยกลายเป็นจุดเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เพราะระบบรักษาความปลอดภัยอ่อนแอ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยังตามอาชญากรไซเบอร์ไม่ทัน

โดยในปี 2558 ที่ผ่านมาติดอยู่อันดับ 5 ของภูมิภาคเอเชีย และอันดับ 11 เมื่อเทียบกับทั้งโลก เรื่องการถูกโจมตีและความไม่ปลอดภัยของข้อมูล และในปีนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาใช้งานระบบคลาวด์มากขึ้นจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้การลงทุนด้านไอทีในระดับองค์กรหันมาที่เรื่องความปลอดภัยเกือบทั้งหมด

"ตอนนี้ไม่ใช่แค่อาชญากรไซเบอร์ที่โจมตีเพื่อสร้างผลงานเท่านั้น เพราะรัฐบาลบางประเทศมีการจัดตั้งหน่วยโจมตีทางไซเบอร์ขึ้นมาเองด้วย เช่น การที่ธนาคารกลางของประเทศบังกลาเทศโดนโจมตี และโอนเงินไปที่ประเทศฟิลิปปินส์เพียงไม่ถึงนาที ก็อาจเกิดจากการโจมตีของรัฐบาลที่ไม่ถูกกันก็เป็นได้"

สำหรับประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคโซเชียล, โมบาย, อินฟอร์เมชั่น และคลาวด์ หรือ SMIC การป้องกันข้อมูลต้องลงทุนมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อใจให้กับคนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากไทยกำลังจะเดินหน้านโยบายดิจิทัลอีโคโนมี

จากข้อมูลของบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ระบุว่า หากระบบโดนโจมตีจากวิธีใด ๆ และใช้งานไม่ได้ จะสูญเสียมูลค่าทางธุรกิจเฉลี่ย 2 แสนบาท/นาที และรูปแบบการทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ อันดับ 1 คือ ไฟฟ้า รองลงมาคือ การโจมตีแบบ Dis-tributed Denial of Service (DDoS) หรือการใช้เครื่องจำนวนมากเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วจนรับมือไม่ทัน เช่น การทำ DDoS กับเว็บไซต์ของราชการโดยกลุ่มพลเมืองเน็ต แต่ด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยค่อนข้างเกรงกลัวเรื่องการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานอื่น ทำให้เกือบทั้งหมดพัฒนาระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขึ้นมาเอง และไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

และเมื่อแบ่งแยกตามองค์กรจะพบว่าหน่วยงานภาครัฐเริ่มตื่นตัวในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างชัดเจน สังเกตจากการตั้งให้หน่วยงานทางเทคโนโลยี เช่น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. มาจัดการเรื่องนี้ แต่ด้วยหน้าที่หลักคือพัฒนาอีคอมเมิร์ซ จึงทำได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

ส่วนฝั่งเอกชนเมื่อ 3-4 ปีก่อนมีการร่วมกันลงทุนของธนาคารต่าง ๆ ในการจัดตั้งระบบความปลอดภัยไซเบอร์ แต่ด้วยความไม่เชี่ยวชาญทางธุรกิจ ทำให้ทั้งหมดนี้ต้องล้มเลิก และไปจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้มากกว่ามาดูแลให้

นายปริญญากล่าวต่อว่า "ไซเบอร์ตรอน" ได้ร่วมมือกับ "เอสน็อค" ผู้ให้บริการโซลูชั่นป้องกัน DDoS ในการทำตลาดโซลูชั่นดังกล่าวให้กลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ ราชการ และกลุ่มองค์กรธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 100 ล้านบาทในปีแรก

โดยอาศัยโอกาสที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะลงทุนเรื่องระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ประกอบกับตัวบริษัทที่มีประสบการณ์ และรับดูแลระบบความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับองค์กรขนาดใหญ่ก่อนหน้านี้ ส่วนการแข่งขันของตลาดจะค่อนข้างเปิดกว้าง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการระบบนี้ไม่ถึง 10 ราย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466662605

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.