Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอให้ดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งยิงไปเมื่อปี 2555 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งยิงไปเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค.2559 กลับไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม คือต้องจ่ายค่าสัมปทาน 20.5 % ต่อปี

ประเด็นหลัก
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอให้ดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งยิงไปเมื่อปี 2555 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งยิงไปเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค.2559 กลับไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม คือต้องจ่ายค่าสัมปทาน 20.5 % ต่อปี ไปจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2564 นั้น ที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดได้หารือร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แล้ว

“ขณะนี้ได้ข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนและอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายในสัปดาห์นี้ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก จึงต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลก่อน หากมีความชัดเจนไปในทิศทางใดแล้วจะรีบแจ้งให้สื่อมวลชนทราบทันที” พล.อ.อ. ประจิน กล่าว

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับที่มีการหารือเรื่องดังกล่าวเนื่องจากเดิม กิจการดาวเทียมอยู่ในระบบสัญญาสัมปทานโดย มีอายุสัมปทาน 30 ปี คือตั้งแต่ปี 2534-2564 โดยมี กระทรวงไอซีที มีหน้าที่ในการเก็บค่าสัมปทานในอัตรา 20.5% ต่อปี และเป็นผู้จองวงโคจรให้ตั้งแต่ต้น แต่ต่อมามี พ.ร.บ.กสทช.กำหนดให้ผู้ประกอบการดาวเทียมจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแทนในอัตรา 2% ต่อปี และจ่ายเข้ากองทุน USO อัตรา 3.75%ต่อปี ทำให้รัฐบาลได้รายได้จากกิจการดาวเทียมน้อยลง
______________________________________________ 'บิ๊กป๊อก'ปัดเป็นส่วนหนึ่งในคสช. อุบปม'หญิงหน่อย'คุยอดีตสส.'ประยุทธ์'แนะนักการเมืองรุ่นเก่า ยอมรับกระบวนการยุติธรรมก่อน


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอให้ดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งยิงไปเมื่อปี 2555 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งยิงไปเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค.2559 กลับไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม คือต้องจ่ายค่าสัมปทาน 20.5 % ต่อปี ไปจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2564 นั้น ที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดได้หารือร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แล้ว

“ขณะนี้ได้ข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนและอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายในสัปดาห์นี้ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก จึงต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลก่อน หากมีความชัดเจนไปในทิศทางใดแล้วจะรีบแจ้งให้สื่อมวลชนทราบทันที” พล.อ.อ. ประจิน กล่าว

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับที่มีการหารือเรื่องดังกล่าวเนื่องจากเดิม กิจการดาวเทียมอยู่ในระบบสัญญาสัมปทานโดย มีอายุสัมปทาน 30 ปี คือตั้งแต่ปี 2534-2564 โดยมี กระทรวงไอซีที มีหน้าที่ในการเก็บค่าสัมปทานในอัตรา 20.5% ต่อปี และเป็นผู้จองวงโคจรให้ตั้งแต่ต้น แต่ต่อมามี พ.ร.บ.กสทช.กำหนดให้ผู้ประกอบการดาวเทียมจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแทนในอัตรา 2% ต่อปี และจ่ายเข้ากองทุน USO อัตรา 3.75%ต่อปี ทำให้รัฐบาลได้รายได้จากกิจการดาวเทียมน้อยลง

ทั้งนี้ หากการเจรจาไม่สามารถให้กิจการดาวเทียมกลับมาสู่ระบบสัมปทานได้ ก็มีทางเลือกให้กระทรวงไอซีที ไปกำหนดเงื่อนไขใหม่โดยทำสัญญาเป็น Deed of Agreement เพื่อ กำหนดเงื่อนไขให้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องเปิดให้บริการกับภาครัฐด้วยเพื่อให้รัฐได้ผลประโยชน์ไม่น้อยกว่าค่าสัมปทานที่เคยได้รับ

ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน มองว่า รัฐบาล ไม่ได้มองเพียงเรื่องรายได้ที่เข้ารัฐอย่างเดียวกัน แต่มองไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศ ปลอดภัยในการใช้งานในกิจการดาวเทียมด้วย เพราะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ซึ่งอาจมีการใช้ไปในทางที่ผิด

ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างความชัดเจนว่า รูปแบบกิจการดาวเทียมควรจะเป็นสิทธิของหน่วยงานใดในการกำกับดูแล ซึ่งอาจเป็นได้หลายแนวทาง ทั้งแนวทางที่รัฐบาลคุมเอง, การทำร่วมกับเอกชน หรือ อาจจะเป็นการทำสัญญาเป็น Deed of Agreement โดยต้องดูข้อมูลที่ได้มาประกอบ ภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลต้องได้ประโยชน์

http://www.naewna.com/business/222826

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.