Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทช. เปิดเผยว่า กรณีที่รัฐบาลต้องการนำดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 กลับสู่การกำกับดูแลในระบบสัมปทาน และต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 20.5% จนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2564

ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กรณีที่รัฐบาลต้องการนำดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 กลับสู่การกำกับดูแลในระบบสัมปทาน หลังจากที่ กสทช.ได้กำกับดูแลโดยการออกใบอนุญาต (ไลเซนส์) นั้น กรณีดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงวิทยาศาสตร์ ร่วมกันประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการดาวเทียม โดยให้ระยะเวลา 3 เดือนในการหาทางออกร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางออกได้ โดยแนวทางที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอทางออกแนวทางที่หนึ่ง คือ ให้ดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตไปแล้ว กลับไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม และต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 20.5% จนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2564
ส่วนแนวทางที่สอง คือ หากดาวเทียมไทยคม 7 และ ไทยคม 8 หากไม่สามารถอยู่ภายใต้สัมปทานเดิม ให้กระทรวงไอซีทีมีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขใหม่ โดยทำสัญญาเป็นการแปลงข้อตกลง หรือ Deed of Agreement เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องเปิดให้บริการกับภาครัฐด้วย เพื่อให้รัฐได้ผลประโยชน์ไม่น้อยกว่าค่าสัมปทานที่เคยได้รับ โดยหลังจากปี 2564 จะใช้สัญญา Deed of Agreement โดยการแปลงข้อตกลงเดิม เพื่อเป็นมาตรฐานในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐด้วย เพื่อให้รัฐมีรายได้ไม่น้อยกว่าการเก็บตามค่าสัญญาสัมปทาน ซึ่งการยิงดาวเทียมแต่ละครั้งต้องได้รับการยอมรับจากกระทรวงไอซีที
__________________________________________________
โวย “ปลัดทรงพร” โยนความผิด กสทช.ทำรัฐเสียหายพันล้านจากไลเซนส์ดาวเทียม
นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม

กสทช.ชี้ รื้อไลเซนส์ ไทยคม ต้องมีกฎหมายรองรับ ระบุที่ผ่านมา ทำตามระเบียบกฏเกณฑ์ถูกต้อง ขณะที่ไอซีทียันตามกฎหมายประกอบกิจการโทรคมนาคม ห้ามหน่วยงานรัฐเปลี่ยนแปลงสัมปทาน รับไทยคม 7-8 เป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทานต้องได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. โวยงานนี้ “ปลัดทรงพร” กำลังจะมาโยนความผิดให้ กสทช.ทำรายได้รัฐเสียไปกว่าพันล้านจากการออกไลเซนส์กิจการดาวเทียม
แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กรณีที่รัฐบาลต้องการนำดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 กลับสู่การกำกับดูแลในระบบสัมปทาน หลังจากที่ กสทช.ได้กำกับดูแลโดยการออกใบอนุญาต (ไลเซนส์) นั้น กรณีดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงวิทยาศาสตร์ ร่วมกันประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการดาวเทียม โดยให้ระยะเวลา 3 เดือนในการหาทางออกร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางออกได้ โดยแนวทางที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอทางออกแนวทางที่หนึ่ง คือ ให้ดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตไปแล้ว กลับไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม และต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 20.5% จนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2564
ส่วนแนวทางที่สอง คือ หากดาวเทียมไทยคม 7 และ ไทยคม 8 หากไม่สามารถอยู่ภายใต้สัมปทานเดิม ให้กระทรวงไอซีทีมีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขใหม่ โดยทำสัญญาเป็นการแปลงข้อตกลง หรือ Deed of Agreement เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องเปิดให้บริการกับภาครัฐด้วย เพื่อให้รัฐได้ผลประโยชน์ไม่น้อยกว่าค่าสัมปทานที่เคยได้รับ โดยหลังจากปี 2564 จะใช้สัญญา Deed of Agreement โดยการแปลงข้อตกลงเดิม เพื่อเป็นมาตรฐานในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐด้วย เพื่อให้รัฐมีรายได้ไม่น้อยกว่าการเก็บตามค่าสัญญาสัมปทาน ซึ่งการยิงดาวเทียมแต่ละครั้งต้องได้รับการยอมรับจากกระทรวงไอซีที
ทั้งนี้ แนวทั้ง 2 แนวทางดังกล่าว มีความขัดแย้งทั้งในเรื่องของการแก้ไขใบอนุญาต และอำนาจหน้าที่ของกระทรวงไอซีที เนื่องจากที่ผ่านมา สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ โดยนางทรงพร โกมลสุรเดช รองปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง ในสมัยที่ น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็น รมว.ไอซีที ได้ทำหนังสือตอบกลับ กสทช. ลงวันที่ 7 มีนาคม 2557 เพื่อยืนยันถึงสิทธิ และอำนาจหน้าที่ของกระทรวงไอซีทีในการยื่นเอกสารข่ายงานดาวเทียม (Filing) ของดาวเทียมสื่อสาร ตำแหน่งวงโครงจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ของดาวเทียมไทยคม 8 ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามของบริษัท ไทยคม ซึ่งไอซีทีได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า การได้มาในการยื่นไฟลิ่งเป็นอำนาจของกระทรวงไอซีที ไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ครม. และไอซีทีได้อนุญาตให้ กสทช.เป็นผู้ดำเนินการ
ขณะเดียวกัน ดาวเทียมทั้งสองดวง คือ ไทยคม 7 และไทยคม 8 นั้น ไอซีทีได้ทำหนังสือยืนยันตาม พ.ร.บ. การประกอบการโทรคมนาคม 2544 ได้กำหนดให้หน่วยงานรัฐไม่สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาใหม่ได้ โดยผู้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา จะได้รับสิทธิการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามขอบเขตการให้บริการเดิมที่ได้ตกลง และตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในสัญญาสัมปทาน ดังนั้น การดำเนินการโครงการดาวเทียมดังกล่าวเพิ่มเติมนอกเหนือจากการอนุญาตภายใต้สัญญาสัมปทานนั้น จะต้องได้รับใบอนุญาต และให้บริการภายใต้ใบอนุญาต กสทช.เท่านั้น ลงชื่อ นางทรงพร โกมลสุรเดช รองปลัดกระทรวงไอซีที ในสมัยนั้น
ที่ผ่านมา กสทช.ได้ดำเนินการออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม 7 ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2554 เพื่อเป็นการรักษาตำแหน่งวงโคจรของประเทศไทยไม่ให้สูญเสียไป ถือเป็นการรักษาวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก โดยในตอนนั้น ดาวเทียมดวงเดิมหมดอายุลง ขณะเดียวกัน ประเทศไทยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าว่า จะรักษาตำแหน่งวงโครจรอย่างไร ซึ่งหากปล่อยให้วงโครจรว่างไว้เกินกำหนด สิทธิในวงโคจรก็จะสูญเสีย แล้วคืนกลับไปยังสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
“กสทช.ไม่ได้ทำโดยพลการในเรื่องการออกไลเซนส์ให้ไทยคม เราได้ถามความเห็นจากกระทรวงไอซีที ไปหลายครั้ง และได้รับคำตอบยืนยันจากไอซีทีให้ กสทช.ดำเนินการได้ทันที ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่า เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลจะมาโยนความผิดให้ กสทช.ทำรายได้รัฐเสียไปกว่าพันล้านจากการออกไลเซนส์กิจการดาวเทียม เราทำตามระเบียบกฎหมาย หากไอซีทีต้องการจะแก้ไขสัญญา หรือนำกลับสู่ระบบสัมปทานเดิม ก็จะต้องมีกฎหมายมารองรับ ไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ และจะต้องตอบเหตุผลต่อผู้ประกอบการให้ชัดเจน และเป็นธรรม”
*** ไทยคมชี้แจง
ด้าน นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม ได้แสดงความเห็น
เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางกำกับกิจการดาวเทียมสื่อสารของภาครัฐ และใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ประกอบด้วย
1.ดาวเทียมสื่อสาร ที่ไทยคมดำเนินกิจการอยู่นั้น ถือเป็นหนึ่งในโครงข่ายโทรคมนาคมพื้นฐานที่มีความสำคัญ มีความจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และยังเป็นโครงข่ายที่ไปให้บริการในต่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศ สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
2.ดาวเทียมที่ไทยคมให้บริการอยู่ในปัจจุบัน มีดาวเทียมไทยคม 4/5/6 ซึ่งให้บริการอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน ซึ่งยังคงให้บริการต่อไปตามเงื่อนไขเดิมของสัญญาปัจจุบันจนถึงปี 2564 ส่วนดาวเทียมไทยคม 7/8 นั้น เป็นดาวเทียมดวงใหม่ที่ทางไทยคมได้ขออนุญาต และได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการจาก กสทช.ตามระบบใบอนุญาต แยกต่างหากออกจากระบบสัมปทานเดิม ซึ่งในการออกใบอนุญาตของ กสทช.นั้น ทางกระทรวงไอซีทีก็ได้อนุมัติให้ใช้วงโคจรดาวเทียมมายัง กสทช. เพื่อประกอบการอนุญาตดังกล่าวแล้วด้วย
3.ข้อกำหนดต่างๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมของดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 เป็นไปข้อกำหนดของกฎหมายที่กำหนดให้เปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบใบอนุญาต โดยค่าธรรมเนียมลดลงจากระบบสัมปทาน ซึ่งการที่ค่าธรรมเนียมลดลงนั้น ก็เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะสนับสนุนให้กิจการโทรคมนาคม รวมทั้งดาวเทียมเข้าสู่ระบบใบอนุญาตมีต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ลดลง เพื่อให้แข่งขันได้เป็นประโยชน์ระยะยาว
4.ดังนั้น หากภาครัฐต้องการจะมีเงื่อนไข หรือคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในส่วนของดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ก็ควรจะคำนึงถึงผลกระทบต่อภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาต และลงทุนดำเนินโครงการไปแล้ว
5.ในการพิจารณา และการกำหนดนโยบาย และค่าธรรมเนียมของภาครัฐ ไทยคมอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญในการคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทยในระยะยาว อยากให้พิจารณาเทียบเคียงกับแนวทางการกำกับดูแล และค่าธรรมเนียมของต่างประเทศด้วย เพราะสภาพการแข่งขันในธุรกิจดาวเทียมทั่วโลกนั้นสูงมาก หากดาวเทียมไทยมีต้นทุนที่สูงกว่าดาวเทียมต่างชาติก็จะแข่งขันได้ยาก ซึ่งในตอนนี้ เฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของ กสทช.ก็สูงกว่าค่าธรรมเนียมของต่างประเทศมากอยู่แล้ว
6.นอกจากนั้น ก็อยากให้ภาครัฐมีแนวทางที่ชัดเจนในการกำกับให้การแข่งขันในประเทศไทยเองให้มีความเป็นธรรม เพราะในปัจจุบันมีผู้ให้บริการดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการในประเทศไทยโดยไม่ได้ขอใบอนุญาต ไม่ได้ถูกกำกับดูแล ไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียม อยากให้ภาครัฐมีแนวทางการกำกับดูแลให้ทุกๆ รายแข่งขันกันได้อย่างเท่าเทียมกัน และรัฐจะได้ไม่เสียผลประโยชน์ด้วย
7.ไทยคมอยากให้ภาครัฐมีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบาย และหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับดาวเทียมโดยเร็ว เพื่อให้กิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศเดินหน้าต่อไปได้ มีดาวเทียมเพิ่มเติมให้บริการกับคนไทย และแข่งขันกับต่างชาติได้ ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยทางไทยคมยินดีให้ความร่วมมือในการเข้าไปชี้แจงให้ข้อมูล และหารือกับหน่วยงานภาครัฐ และหากมีสิ่งใดที่ไทยคมสามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์กับภาครัฐ และเอกชนในระยะยาวได้ ไทยคมก็ยินดีพิจารณา


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000062187&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+22-6-59&utm_campaign=20160621_m132275250_MGR+Morning+Brief+22-6-59&utm_term=_E0_B9_82_E0_B8_A7_E0_B8_A2+_27_E0_B8_9B_E0_B8_A5_E0_B8_B1_E0_B8_94_E0_B8_97_E0_B8_A3_E0_B8_87_E0_B8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.