Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 กสทช. ระบุ ไทยคมมาขอใช้วงโคจรดาวเทียม ซึ่งเป็นไฟลิ่งเดิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมไทยคม 7-9 ขณะที่สัมปทานสิ้นสุดปี 2564 ดังนั้น ต้องพิจารณาถึงการเปิดให้บริการโดยรัฐไม่เสียหาย ที่จะเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1.ให้ถือว่าดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ยังคงอยู่ภายใต้สัมปทาน ซึ่งทำให้ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ต่อปีให้รัฐ 20.5% หรือแนวทางที่ 2.ถือว่าไม่ใช่สัมปทาน แต่ต้องทำสัญญา Deep of Agreements เพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้กับภาครัฐเพิ่ม

ประเด็หลัก
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้หารือปัญหาดาวเทียมของ บมจ.ไทยคม พร้อมกับคณะวิจัยจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ว่าจ้างหาแนวทางแก้ไขปัญหา

จากผลการศึกษา ดาวเทียมไทยคม 4 ไทยคม 5 และ 6 ถือว่าอยู่ใต้สัมปทานกับไอซีที ขณะที่ไทยคม 7 และ 8 ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. โดยไทยคม 7 เปิดให้บริการในปี 2557 แต่ดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่งยิงขึ้นวงโคจรและยังต้องรอหนังสืออนุญาตให้ใช้งานจากไอซีทีส่งถึงสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ภายใน 90 วันมิฉะนั้นจะเปิดให้บริการไม่ได้

"ทางคณะผู้วิจัย ชี้ว่า ไทยคมมาขอใช้วงโคจรดาวเทียม ซึ่งเป็นไฟลิ่งเดิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมไทยคม 7-9 ขณะที่สัมปทานสิ้นสุดปี 2564 ดังนั้น ต้องพิจารณาถึงการเปิดให้บริการโดยรัฐไม่เสียหาย ที่จะเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1.ให้ถือว่าดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ยังคงอยู่ภายใต้สัมปทาน ซึ่งทำให้ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ต่อปีให้รัฐ 20.5% หรือแนวทางที่ 2.ถือว่าไม่ใช่สัมปทาน แต่ต้องทำสัญญา Deep of Agreements เพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้กับภาครัฐเพิ่ม เพราะ ตามเงื่อนไขในสัมปทานเดิมระบุว่า เมื่อจะดำเนินการใดที่แตกต่างจากนี้จะต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงไอซีทีด้วย"

ดังนั้น เมื่อ กสทช. เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1.5% ของรายได้และเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. อีก 3.75% รวมเป็น 5.25% ต่อปี ไอซีทีก็จะเรียกไทยคมมาเจรจาอีกครั้ง ทั้งยังต้องเปิดให้บริการกับภาครัฐเพิ่มให้มากขึ้น จากเดิมที่ให้บริการอยู่ 6.5% ของความจุดาวเทียม
______________________________________________________________ ไทยคมป่วน! รัฐจ้องรีดค่าต๋ง20.5% บีบทำข้อตกลง พ่วงไลเซนส์กสทช.


รัฐบาลเดินหน้ารีดส่วนแบ่งรายได้ "ไทยคม7-8" เพิ่ม ย้ำสัมปทานหมดปี 2564 ต้องจ่ายเงินเข้ารัฐไม่น้อยกว่า 20.5% เล็งบังคับทำข้อตกลงให้จ่ายเพิ่มหลังสัมปทานหมด ฟาก "ไทยคม" โอดต้นทุนบริการแพงกว่าประเทศอื่นอยู่แล้ว แถมรัฐยังไม่กำกับดาวเทียมต่างประเทศที่มาให้บริการในไทย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้หารือปัญหาดาวเทียมของ บมจ.ไทยคม พร้อมกับคณะวิจัยจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ว่าจ้างหาแนวทางแก้ไขปัญหา

จากผลการศึกษา ดาวเทียมไทยคม 4 ไทยคม 5 และ 6 ถือว่าอยู่ใต้สัมปทานกับไอซีที ขณะที่ไทยคม 7 และ 8 ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. โดยไทยคม 7 เปิดให้บริการในปี 2557 แต่ดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่งยิงขึ้นวงโคจรและยังต้องรอหนังสืออนุญาตให้ใช้งานจากไอซีทีส่งถึงสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ภายใน 90 วันมิฉะนั้นจะเปิดให้บริการไม่ได้

"ทางคณะผู้วิจัย ชี้ว่า ไทยคมมาขอใช้วงโคจรดาวเทียม ซึ่งเป็นไฟลิ่งเดิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมไทยคม 7-9 ขณะที่สัมปทานสิ้นสุดปี 2564 ดังนั้น ต้องพิจารณาถึงการเปิดให้บริการโดยรัฐไม่เสียหาย ที่จะเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1.ให้ถือว่าดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ยังคงอยู่ภายใต้สัมปทาน ซึ่งทำให้ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ต่อปีให้รัฐ 20.5% หรือแนวทางที่ 2.ถือว่าไม่ใช่สัมปทาน แต่ต้องทำสัญญา Deep of Agreements เพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้กับภาครัฐเพิ่ม เพราะ ตามเงื่อนไขในสัมปทานเดิมระบุว่า เมื่อจะดำเนินการใดที่แตกต่างจากนี้จะต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงไอซีทีด้วย"

ดังนั้น เมื่อ กสทช. เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1.5% ของรายได้และเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. อีก 3.75% รวมเป็น 5.25% ต่อปี ไอซีทีก็จะเรียกไทยคมมาเจรจาอีกครั้ง ทั้งยังต้องเปิดให้บริการกับภาครัฐเพิ่มให้มากขึ้น จากเดิมที่ให้บริการอยู่ 6.5% ของความจุดาวเทียม

"คณะวิจัยระบุว่า กระบวนการออกใบอนุญาตของ กสทช. ไม่ได้ทำให้สัมปทานสิ้นสุดลง แต่ดาวเทียมที่จะเกิดขึ้นหลังปี 2564 ก็มีเงื่อนไขตาม Deep of Agreements ซึ่งจะนำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป"ทั้งยังหารือว่าจะแยกส่วนของกิจการดาวเทียมออกจาก พ.ร.บ.กสทช. ให้เป็น พ.ร.บ.กิจการอวกาศโดยตรง

นอกจากนี้รองนายกรัฐมนตรียังได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยฯในฝั่งโทรคมนาคม ซึ่ง ณ ปี 2558 มีอยู่ 28,640 ล้านบาท และรัฐบาลได้ยืมเพื่อนำไปใช้ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 14,300 ล้านบาทแล้ว คงเหลือเงินอีก 14,340 ล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะมีเงินเข้ากองทุนอีก 8,500 ล้านบาท จึงได้มอบหมายให้ปลัดไอซีทีหารือกับ กสทช. เกี่ยวกับการลงทุนขยายบริการโทรคมนาคมสาธารณะอย่างทั่วถึงที่จะไม่ทับซ้อนกับของ กสทช.

แหล่งข่าวจาก บมจ.ไทยคม กล่าวว่า ดาวเทียมสื่อสารถือเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และเป็นธุรกิจที่นำเงินตราเข้าประเทศ สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่า ภาครัฐจะเห็นประโยชน์ แต่อยากให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายและหลักเกณฑ์โดยเร็ว ในลักษณะที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย โดยการกำหนดนโยบายและ

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อยากให้พิจารณาอย่างรอบด้าน และเทียบเคียงกับต่างประเทศด้วยเพื่อให้ออกไปแข่งขันได้ ซึ่งปัจจุบัน เฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของ กสทช.ก็สูงกว่าต่างประเทศมากอยู่แล้ว

"ปัจจุบันมีผู้ให้บริการดาวเทียมต่างชาติ เข้ามาให้บริการในไทยได้โดยไม่ได้ขอใบอนุญาต ไม่ได้มีการกำกับดูแล ไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียม จึงอยากให้ภาครัฐมีแนวทางการกำกับดูแลให้ทุกรายแข่งขันอย่างเท่าเทียม รัฐจะได้ไม่เสียผลประโยชน์ด้วย"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466604395

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.