Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 TOT เจรจาในการใช้เสาและอุปกรณ์ 2G คลื่น 900 MHz ไม่คืบหน้า นั้น มาจากการที่ ฤณฆ ต้องการให้ทำในรูปแบบร่วมลงทุน (Joint Venture ) เหมือนกรณีที่ CAT ทำกับ DTAC

ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการเจรจาในการใช้เสาและอุปกรณ์ 2G คลื่น 900 MHz ไม่คืบหน้า นั้น มาจากการที่เอไอเอสต้องการให้ทำในรูปแบบร่วมลงทุน (Joint Venture ) เหมือนกรณีที่ กสท โทรคมนาคม ทำกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ขณะที่ทีโอที ต้องการให้เอไอเอสมาเช่ามากกว่า เพราะเกรงว่ากระบวนการจะยุ่งยากและใช้เวลานานเหมือนที่ กสท กับ ดีแทค ทำ ต้องมีการจ้างบริษัทกลางมาตีมูลค่าทรัพย์สิน และสอบถามไปยัง สคร.และอัยการ หรือ หน่วยงานอื่นๆอีก แต่อย่างไรก็ตาม หากเอไอเอสต้องการทำเป็น การร่วมลงทุนจริง ทีโอที ก็เสนอให้ เอไอเอสมาเช่าเสาและอุปกรณ์ของทีโอทีไปก่อนเพื่อไม่ให้กระทบลูกค้า 2G จากนั้นค่อยเจรจาการทำธุรกิจในรูปแบบร่วมลงทุนกันไปด้วย ขณะที่คดีเสาโทรคมนาคมที่ติดอยู่ที่อนุญาโตตุลาการ ก็ต้องถอนคดีไปด้วย ซึ่งเอไอเอส ต้องเป็นคนถอนคดี __________________________________________________
"คนดึงเรื่องพันธมิตรเอไอเอสฟังไว้" ทำทีโอทีขาดทุน 4 พันล้าน

ทีโอที ก้มหน้า ปี 2559 ขาดทุน 4,000 ล้านบาท เหตุสัญญา 3G คลื่น 2100 MHz กับ เอไอเอส ไม่คืบ ต้องรอกฤฎีกาตีความว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯหรือไม่ ส่งผลธุรกิจโมบายสะดุด ขณะที่การเจรจาเช่าเสาและอุปกรณ์ 2G คลื่น 900 MHz กับเอไอเอสก็ไปไม่ถึงไหน โดยต้องเร่งเจรจาให้จบก่อน 30 มิ.ย. เหตุต้องปิดระบบก่อนเมื่อมาตรการเยียวยาฯสิ้นสุด พร้อมเปิดทางร่วมลงทุนตามที่เอไอเอสต้องการ
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้สัญญาการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจคลื่น 2100 MHz กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ไม่คืบหน้า เนื่องจากมีผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) สั่งการให้บอร์ดประชุมวาระพิเศษเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้นำสัญญาทดสอบระบบเชิงพาณิชย์ ไปสอบถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เสียก่อนว่า เข้าข่าย พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 หรือไม่ ทำให้ทีโอทีไม่สามารถคาดเดาได้ว่าคำตอบของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเป็นเช่นไร และใช้เวลานานแค่ไหน ทำให้จากที่ทีโอทีคาดการณ์ว่าผลประกอบการปี 2559 EBITDA ของทีโอทีจะพลิกมาเป็นบวกที่ 4,000 ล้านบาท ต้องกลายเป็นติดลบ 4,000 ล้านบาทแทน
ทั้งนี้ผลประกอบการครึ่งปีแรก ทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้ 12,900 ล้านบาท ขาดทุน 480 ล้านบาท และคาดว่าจนถึงสิ้นปี 2559 จะขาดทุนอย่างต่อเนื่องอีก 480 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณก่อนอายุ อีก 3,000 ล้านบาท ทำให้ทีโอทีจะมี EBITDA ติดลบอย่างน้อยเกือบ 4,000 ล้านบาท แน่นอน ซึ่งธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่น 2100 MHz มีรายได้เพียง 400 ล้านบาทต่อปี ขณะที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 800 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ยจากเงินกู้ 17,000 ล้านบาท ต้องเสียดอกเบี้ยปีละ 10 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าเช่าสถานที่ และค่าโอเปอเรชั่น ขณะที่เอ็มวีเอ็นโอ ทั้ง บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็มคอนซัลท์ เอเชีย จำกัด ก็ขอชะลอการทำธุรกิจไปก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจนในการหาพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้ตอนนี้เหลือลูกค้าอยู่ประมาณ 2 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานทีโอที
“แม้ว่าที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ตอบกลับ มาแล้วว่า ทีโอที สามารถเป็นพันธมิตรร่วมกับ เอไอเอส ได้ โดยให้ยึดมาตรฐานเดียวกับกรณีการเป็นพันธมิตรระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบีเอฟเคที แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่ากฤษฎีกาจะมีคำตอบออกมา ทั้งๆที่สัญญาดังกล่าวเป็นการทดลองระบบไม่ใช่สัญญาผูกมัดใดๆที่จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ได้ ก็ตาม แต่เมื่อผู้ใหญ่เห็นว่าต้องสอบถามให้ครบ เราก็ต้องทำตาม” นายมนต์ชัย กล่าว
นายมนต์ชัย กล่าวต่อว่า ดังนั้นสิ่งที่ทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้จากการเป็นพันธมิตรกับเอไอเอส โดยเอไอเอสจะลงทุนขยายโครงข่าย และเสนอซื้อความจุที่ 80% โดย ทีโอที จะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งพันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าบำรุงรักษาโครงข่ายประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ ความจุที่เหลือ 20% ทีโอที จะทำตลาดเองโดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท นั้นต้องรอไปก่อน
ส่วนเรื่องความคืบหน้าในการเจรจายุติข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมกับเอไอเอสและแผนการให้เอไอเอสเช่าใช้เสาและอุปกรณ์ 2G คลื่น 900 MHz นั้น ทีโอทีและเอไอเอสต้องเจรจารูปแบบการทำธุรกิจร่วมกันให้เสร็จก่อนวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นวันสิ้นสุดการประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ 2G คลื่น 900 MHz ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ขยายระยะเวลาออกไปจากเดิม ไม่เช่นนั้น ทีโอที ต้องปิดระบบ 2G เนื่องจากทีโอทีไม่มีใบอนุญาตในการให้บริการ หากเอไอเอสตกลงเช่า ทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละกว่า 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปี ใน 10 ปีหลัง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการเจรจาในการใช้เสาและอุปกรณ์ 2G คลื่น 900 MHz ไม่คืบหน้า นั้น มาจากการที่เอไอเอสต้องการให้ทำในรูปแบบร่วมลงทุน (Joint Venture ) เหมือนกรณีที่ กสท โทรคมนาคม ทำกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ขณะที่ทีโอที ต้องการให้เอไอเอสมาเช่ามากกว่า เพราะเกรงว่ากระบวนการจะยุ่งยากและใช้เวลานานเหมือนที่ กสท กับ ดีแทค ทำ ต้องมีการจ้างบริษัทกลางมาตีมูลค่าทรัพย์สิน และสอบถามไปยัง สคร.และอัยการ หรือ หน่วยงานอื่นๆอีก แต่อย่างไรก็ตาม หากเอไอเอสต้องการทำเป็น การร่วมลงทุนจริง ทีโอที ก็เสนอให้ เอไอเอสมาเช่าเสาและอุปกรณ์ของทีโอทีไปก่อนเพื่อไม่ให้กระทบลูกค้า 2G จากนั้นค่อยเจรจาการทำธุรกิจในรูปแบบร่วมลงทุนกันไปด้วย ขณะที่คดีเสาโทรคมนาคมที่ติดอยู่ที่อนุญาโตตุลาการ ก็ต้องถอนคดีไปด้วย ซึ่งเอไอเอส ต้องเป็นคนถอนคดี
“ดังนั้นสิ่งที่ทีโอทีเคยคาดว่ารายได้จากธุรกิจโมบายของทีโอทีจะฟื้นจากรายได้ 400 ล้านบาท เป็นไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท จึงยากและคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้หรือไม่” นายมนต์ชัย กล่าว

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000063889&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+27-6-59&utm_campaign=20160626_m132356749_MGR+Morning+Brief+27-6-59&utm_term=_22_E0_B8_84_E0_B8_99_E0_B8_94_E0_B8_B6_E0_B8_87_E0_B9_80_E0_B8_A3_E0_B8_B7_E0_B9_88_E0_B8_AD_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.