Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กรกฎาคม 2559 รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หากต้องพาดสายผ่านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัทต่างๆ พาดสายกับเสาไฟฟ้า กว่า 20 บริษัท แต่ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทบางราย ลักลอบพาดสาย และตรวจสอบไม่ได้

ประเด็นหลัก
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หากต้องพาดสายผ่านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัทต่างๆ พาดสายกับเสาไฟฟ้า กว่า 20 บริษัท แต่ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทบางราย ลักลอบพาดสาย และตรวจสอบไม่ได้ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา คือ บริษัทที่จะพาดสาย จะต้องนำลงใต้ดิน แต่ถ้าจะพาดกับเสาไฟฟ้า จะต้องมีแนวทางอนุญาตให้ผู้ประกอบการพาดสาย ซึ่งจะต้องไม่เกิน 3 บริษัท ต่อเสา 1ต้น จากเดิมที่ กสทช.ไม่เคยกำหนดไว้ ขณะที่มีรายงานว่า เบื้องต้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงดิน อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาทต่อ 1 เส้น ต่อ 1กิโลเมตร
สำหรับขั้นตอนจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะสรุปความคิดเห็นทั้งหมด ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช. พิจารณา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2เดือน หรือมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในเดือนก.ย2559 นี้ ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงให้มีประกาศฉบับที่สมบูรณ์ขึ้น เพื่อการตั้งเสา และติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และมีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะนำข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสทช. ต่อไป
_______________________________________ ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย

ผู้ประกอบการพาดสายโทรคมนาคม เสนอ กสทช.ดึงงบจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) พร้อมลดค่าธรรมเนียมรายปี หนุนค่าใช้จ่าย
เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัสกรุ๊ป (Focus Group) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ของกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังจากกฎหมายฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลากว่า 6 ปีตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.2552
โดยบรรยากาศการประชุมคึกคักมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และ 3 หน่วยงานรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งประเด็นในร่างประกาศฉบับนี้ คือ หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามภายใต้บังคับแห่งมาตรา 39 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2554 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดระเบียบหรือบริหารจัดการเกี่ยวกับการเดินสายมิให้รก รุงรังทั้งสายที่ใช้งานและไม่ได้ใช้งาน ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย

อีกทั้งต้องจัดทำแผนปฏิบัติการในการตรวจสอบ แก้ไขการเดินสายที่ไม่เรียบร้อยให้เป็นไปตามมาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใดดำเนินการฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่งตามประกาศนี้ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม
นายพิบูลย์ จงเลิศวณิชกุล ตัวแทนบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า สำหรับบริษัทที่ต้องถอนการติดตั้ง การพาดสายเดิมที่มีอยู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร จึงต้องการให้สำนักงานใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มาสนับสนุนส่วนนี้ เพราะบริษัทต่างๆ ก็จ่ายค่าธรรมเนียมให้กองทุนอยู่แล้วทุกปี
ส่วนกรณีเกิดความผิดพลาดและเสียหายนั้น ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบ ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ตนมองว่าไม่สมควร อาจทำให้ไม่มีใครต้องการเข้าร่วม เนื่องจากสายโทรคมนาคมที่พาดอยู่เดิม มีมากกว่า 3 สาย ความสับสนในการรื้อถอนอาจเกิดขึ้นได้ กสทช.ต้องระบุวิธีการแก้ไขที่ชัดเจนในประกาศ
ด้านนางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถอนสายพาดเดิม ต้องการให้กสทช.มองถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย อาจเป็นการช่วยเหลือในรูปแบบการลดหย่อนอัตราค่าธรรมเนียมรายปีจากเดิมที่จ่ายอยู่แล้ว 2% ต่อปีลง เพราะการเข้าร่วมจัดระเบียบสายมีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย

ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หากต้องพาดสายผ่านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัทต่างๆ พาดสายกับเสาไฟฟ้า กว่า 20 บริษัท แต่ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทบางราย ลักลอบพาดสาย และตรวจสอบไม่ได้ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา คือ บริษัทที่จะพาดสาย จะต้องนำลงใต้ดิน แต่ถ้าจะพาดกับเสาไฟฟ้า จะต้องมีแนวทางอนุญาตให้ผู้ประกอบการพาดสาย ซึ่งจะต้องไม่เกิน 3 บริษัท ต่อเสา 1ต้น จากเดิมที่ กสทช.ไม่เคยกำหนดไว้ ขณะที่มีรายงานว่า เบื้องต้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงดิน อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาทต่อ 1 เส้น ต่อ 1กิโลเมตร
สำหรับขั้นตอนจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะสรุปความคิดเห็นทั้งหมด ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช. พิจารณา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2เดือน หรือมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในเดือนก.ย2559 นี้ ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงให้มีประกาศฉบับที่สมบูรณ์ขึ้น เพื่อการตั้งเสา และติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และมีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะนำข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสทช. ต่อไป

http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067773&Keyword=%a1%ca%b7%aa

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.