Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กรกฎาคม 2559 กสทช. ที่เห็นชอบแนวทางกำกับดูแลค่าบริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz อัตราค่าบริการประเภทเสียงอัตราค่าบริการต้องไม่เกิน 0.82 บาทต่อนาที อัตราค่าบริการข้อมูลต้องไม่เกิน 0.28 บาทต่อ 1 เมกะไบท์ บริการเอสเอ็มเอสไม่เกิน 1.34 บาทต่อข้อความ เอ็มเอ็มเอสไม่เกิน 3.32 บาทต่อวินาที ฯลฯ

ประเด็นหลัก นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2559 สำนักงาน กสทช. จัดหารือกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่องแนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นความถี่ 900 MHz ตามมติคณะการโทรคมนาคม (กทค.) ที่เห็นชอบแนวทางกำกับดูแลค่าบริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz อัตราค่าบริการประเภทเสียงอัตราค่าบริการต้องไม่เกิน 0.82 บาทต่อนาที อัตราค่าบริการข้อมูลต้องไม่เกิน 0.28 บาทต่อ 1 เมกะไบท์ บริการเอสเอ็มเอสไม่เกิน 1.34 บาทต่อข้อความ เอ็มเอ็มเอสไม่เกิน 3.32 บาทต่อวินาที ฯลฯ _______________________________________ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2559 สำนักงาน กสทช. จัดหารือกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่องแนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นความถี่ 900 MHz ตามมติคณะการโทรคมนาคม (กทค.) ที่เห็นชอบแนวทางกำกับดูแลค่าบริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz อัตราค่าบริการประเภทเสียงอัตราค่าบริการต้องไม่เกิน 0.82 บาทต่อนาที อัตราค่าบริการข้อมูลต้องไม่เกิน 0.28 บาทต่อ 1 เมกะไบท์ บริการเอสเอ็มเอสไม่เกิน 1.34 บาทต่อข้อความ เอ็มเอ็มเอสไม่เกิน 3.32 บาทต่อวินาที ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงาน ความเห็นจากเวทีหารือทั้งผู้ให้บริการ และตัวแทนผู้บริโภคได้สะท้อนความเห็นว่า อัตราค่าบริการที่ผู้ให้บริการกำหนดเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราอ้างอิงที่กำหนดโดยกสทช.อยู่แล้ว อัตราอ้างอิงของกสทช.ยังไม่ได้สะท้อนต้นทุนในอนาคต การกำหนดอัตราอ้างอิงอาจเป็นเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะกลไกตลาดจะทำงานไม่เต็มที่ กสทช.ควรออกหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและควรทบทวนการกำหนดอัตราอ้างอิง ขณะที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่จะใช้งานโดยมีโอกาสเลือกตามโปรโมชั่น การมีอัตราอ้างอิงเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจมากำหนดทำให้ทางเลือกของผู้บริโภคมีน้อยลง

ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมหารือกลุ่มย่อย หากมีประเด็นใดเพิ่มเติมขึ้นมา สำนักงาน กสทช. ก็จะนำประเด็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม กทค. เพื่อออกเป็นมติที่ประชุม กทค. ต่อไป

นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ในแง่การกำกับดูแลที่ผ่านมาเหมือนจะมีความสับสนในเรื่องอัตราค่าบริการ เห็นได้จากปัญหาการคิดค่าบริการเกินที่เกิดขึ้นบ่อย อัตราอ้างอิงที่กำหนดขึ้นดูเป็นอัตราที่เข้าใจยากผู้บริโภคจะไม่เข้าใจ โดยเฉพาะคำว่าอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าแต่เฉลี่ยอยู่ในแพ็กเกจ ดังนั้นจึงควรมีคณะทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับดูแล โอเปอเรเตอร์และผู้บริโภค

ด้าน ตัวแทน ทรูมูฟ เอช มองว่าสำหรับเงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในการเลือกใช้บริการแพ็กเกจที่คุ้มค่าตามรูปแบบการใช้งานของตนเองอย่างแท้จริง ทั้งยังอาจไม่สอดคล้องต่อการแข่งขันเสรีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบกับลูกค้าจำนวนมากทั้งแบบรายเดือนและเติมเงิน

ขณะที่ตัวแทน บริษัทเอไอเอส แสดงความคิดเห็นว่าปัจจุบันสภาพการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง ทุกฝ่ายแข่งขันโดยเน้นด้านคุณภาพการให้บริการและราคาซึ่งอาศัยกลไกตลาด และบริษัทจัดทำรายการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงประโยชน์และความต้องการในการใช้บริการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก โดยได้จัดทำรายการส่งเสริมการขายที่หลากหลายให้ครอบคลุมต่อความต้องการของลูกค้าทุกประเภทเพื่อให้ผู้ใช้บริการ


http://www.naewna.com/business/223979

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.