Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2559 ICT ระบุ รายได้หลักของ CAT ทุกวันนี้คือการให้เอกชนเช่าใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่สุดท้ายแล้วต้องส่งคืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขณะที่ TOT มีรายได้หลักจากการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ซึ่งมีลูกค้าออกเดือนละ 2-3 แสนราย

ประเด็นหลัก
นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ สร.กสท และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ สร.ทีโอที ว่า ได้ชี้แจงที่มาของมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่ให้ กสท และทีโอที นำทรัพย์สินมารวมหน่วยธุรกิจและตั้งบริษัทลูกจำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ, บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศ และบริษัท ศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต เพราะต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และมีศักยภาพในการแข่งขันกับเอกชน เพราะหากยังทำงานแบบเดิมๆ ก็น่าจะรอวันเจ๊ง เพราะรายได้หลักของ กสท ทุกวันนี้คือการให้เอกชนเช่าใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่สุดท้ายแล้วต้องส่งคืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขณะที่ทีโอทีมีรายได้หลักจากการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ซึ่งมีลูกค้าออกเดือนละ 2-3 แสนราย
_______________________________________________ ไอซีทีชี้"กสท-ทีโอที"รอวันเจ๊ง หากเมินตั้งบ.ลูก-สร.เสียงแข็งล่าชื่อส่งอุตตม



นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ สร.กสท และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ สร.ทีโอที ว่า ได้ชี้แจงที่มาของมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่ให้ กสท และทีโอที นำทรัพย์สินมารวมหน่วยธุรกิจและตั้งบริษัทลูกจำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ, บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศ และบริษัท ศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต เพราะต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และมีศักยภาพในการแข่งขันกับเอกชน เพราะหากยังทำงานแบบเดิมๆ ก็น่าจะรอวันเจ๊ง เพราะรายได้หลักของ กสท ทุกวันนี้คือการให้เอกชนเช่าใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่สุดท้ายแล้วต้องส่งคืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขณะที่ทีโอทีมีรายได้หลักจากการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ซึ่งมีลูกค้าออกเดือนละ 2-3 แสนราย

"หาก กสท และทีโอทีไม่เห็นด้วย ก็ขอให้ทำแผนงานที่เป็นไปได้ทางธุรกิจมาเสนอ โดยในวันที่ 29 กรกฎาคม จะเชิญผู้บริหาร กสท และทีโอทีมาหารือกันอีกครั้ง ทั้งนี้ หลังจากนี้คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหา กสท และทีโอที จะประชุมสัปดาห์ละครั้ง เพื่อนำไปสู่การตั้งบริษัทลูกต่อไป" นายพันธ์ศักดิ์กล่าว

นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธาน สร.กสท กล่าวว่า จะเดินหน้าคัดค้านการนำทรัพย์สินของ กสท ไปจัดตั้งบริษัท 3 บริษัท ต่อไป เพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธาน สร.ทีโอที กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการรวมหน่วยธุรกิจของ 2 บริษัท เพราะอาจทำให้ความสำคัญของทีโอทีหมดลง และอาจเป็นข้ออ้างที่นำไปสู่การยุบองค์กรในอนาคตได้ อีกทั้งยังไม่ชัดเจนเรื่องการตั้งบริษัทลูก และจะไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ กลับมาเลยก็ได้ ดังนั้น สร.ทีโอทีจะล่ารายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยเพื่อเสนอต่อนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที พร้อมกับ กสท ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469803940

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.