Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กันยายน 2559 TOT เร่งเปิดคลื่น 2300 เปิดกว้างให้โอเปอเรเตอร์มาซื้อความจุโครงข่ายไปขายปลีกได้ มีผู้ประกอบการ 3-4 รายจากหลายประเทศสนใจเข้ามาทำ ตั้งใจว่าจะไม่ให้พาร์ตเนอร์เป็นค่ายมือถือในประเทศ

ประเด็นหลัก



นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ถึงสิ้นปีนี้ความหวังที่จะมีรายได้จากธุรกิจใหม่เข้ามายังต้องลุ้น เนื่องจากหลายโครงการต้องรอความชัดเจนที่อยู่นอกเหนืออำนาจทีโอที ทั้งการทำสัญญาเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายคลื่น 2100 MHz กับ "เอไอเอส" ที่ต้องรอคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าทำได้หรือไม่ หลังส่งให้พิจารณาตั้งแต่ปลาย มิ.ย.การเปิดประกวดราคาติดตั้งโครงข่ายบรอดแบนด์หมู่บ้านของกระทรวงไอซีที มูลค่า 15,000 ล้านบาท ที่ปรับเงื่อนไขให้เอกชนเสนอราคาได้

โครงการหาพันธมิตรเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายคลื่น 2300 MHz ยังอยู่ในขั้นตอนการจ้างที่ปรึกษาโครงการหลังจากเริ่มเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาทดสอบเทคนิคใน 2 พื้นที่คือ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และจังหวัดราชบุรี คาดว่าจะเปิดให้บริการเร็วที่สุดได้ต้นปีหน้า



"โมเดลที่ตั้งใจไว้คือ จะหาพาร์ตเนอร์ลงทุนติดตั้งโครงข่ายและทำตลาดขายส่งความจุให้ เปิดกว้างให้โอเปอเรเตอร์มาซื้อความจุโครงข่ายไปขายปลีกได้ มีผู้ประกอบการ 3-4 รายจากหลายประเทศสนใจเข้ามาทำ ตั้งใจว่าจะไม่ให้พาร์ตเนอร์เป็นค่ายมือถือในประเทศ เพื่อให้เป็นโอเพ่นเน็ตเวิร์กอย่างแท้จริง โครงการนี้ใช้เทคโนโลยีรับส่งข้อมูล TDD ซึ่งทางจีนเชี่ยวชาญมาก"




_______________________________





"ทีโอที"รับสภาพหลายโปรเจ็กต์ดีเลย์สิ้นปีขาดทุนหมื่นล้าน



"ทีโอที" ส่อวืดรายได้ใหม่สิ้นปีขาดทุนหมื่นล้านแน่ พันธมิตรเอไอเอส-คลื่น 2300 MHz-กองทุนท่อร้อยสาย-เน็ตหมู่บ้าน ไม่คืบ แถมต้องวิ่งหาที่ปรึกษาตั้งบริษัทร่วมทุนกับแคทตามกรอบ คนร.ด่วนจี๋ ติดสปีดเร่งหาลูกค้า FTTX เพิ่มพยุงฐานะ

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ถึงสิ้นปีนี้ความหวังที่จะมีรายได้จากธุรกิจใหม่เข้ามายังต้องลุ้น เนื่องจากหลายโครงการต้องรอความชัดเจนที่อยู่นอกเหนืออำนาจทีโอที ทั้งการทำสัญญาเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายคลื่น 2100 MHz กับ "เอไอเอส" ที่ต้องรอคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าทำได้หรือไม่ หลังส่งให้พิจารณาตั้งแต่ปลาย มิ.ย.การเปิดประกวดราคาติดตั้งโครงข่ายบรอดแบนด์หมู่บ้านของกระทรวงไอซีที มูลค่า 15,000 ล้านบาท ที่ปรับเงื่อนไขให้เอกชนเสนอราคาได้

โครงการหาพันธมิตรเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายคลื่น 2300 MHz ยังอยู่ในขั้นตอนการจ้างที่ปรึกษาโครงการหลังจากเริ่มเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาทดสอบเทคนิคใน 2 พื้นที่คือ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และจังหวัดราชบุรี คาดว่าจะเปิดให้บริการเร็วที่สุดได้ต้นปีหน้า

"โมเดลที่ตั้งใจไว้คือ จะหาพาร์ตเนอร์ลงทุนติดตั้งโครงข่ายและทำตลาดขายส่งความจุให้ เปิดกว้างให้โอเปอเรเตอร์มาซื้อความจุโครงข่ายไปขายปลีกได้ มีผู้ประกอบการ 3-4 รายจากหลายประเทศสนใจเข้ามาทำ ตั้งใจว่าจะไม่ให้พาร์ตเนอร์เป็นค่ายมือถือในประเทศ เพื่อให้เป็นโอเพ่นเน็ตเวิร์กอย่างแท้จริง โครงการนี้ใช้เทคโนโลยีรับส่งข้อมูล TDD ซึ่งทางจีนเชี่ยวชาญมาก"

ขณะที่การตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานท่อร้อยสายโทรคมนาคม ล่าช้าไปกว่าแผนเดิมที่วางไว้ 3-4 เดือน คาดว่าเร็วที่สุดจะเสนอโครงการให้ ครม.อนุมัติได้ปลายปีนี้ จากเดิมกำหนดว่าปลายปีจะระดมทุนได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อจัดตั้งกองทุน

ฉะนั้นสิ่งที่ทีโอทีต้องเร่งใน 4 เดือนจากนี้ คือหาลูกค้าใหม่จากบริการบรอดแบนด์ FTTX ที่วางโครงข่ายเสร็จแล้ว ตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากบรอดแบนด์ให้อยู่ที่ 27,000 ล้านบาท มากกว่าเดิม 5,000 ล้านบาท

ขณะที่ผลประกอบการสิ้นปีนี้ยังคงประเมินว่าจะขาดทุนกว่าหมื่นล้านบาท เนื่องจากยังไม่มีรายได้ใหม่แต่มีภาระค่าเสื่อมราคาจากทรัพย์สินตามสัมปทานที่ต้องตัดยอดทางบัญชีกว่าหมื่นล้านบาท รวมถึงค่าใช้จ่ายตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดอีก 2,000 ล้านบาท

"ต้องเร่งหาลูกค้า FTTX ยกระดับบริการลูกค้าให้ดีขึ้น เร่งเจรจาข้อพิพาทเสาตามสัมปทาน หาพันธมิตรใหม่ ปรับโครงสร้างองค์กรรวมถึงพฤติกรรมพนักงานให้พร้อมกับการพลิกฟื้น"

การยกระดับบริการลูกค้าของทีโอที โดยตั้งบริษัทค้าปลีกอินเทอร์เน็ต (Service CO) บริษัทลูกมาทำตลาดบรอดแบนด์ ตามมติของ คนร.นั้น ขณะนี้มีผู้ให้บริการจากต่างประเทศสนใจร่วมลงทุน

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า 3 บริษัทร่วมทุนตามมติ คนร.นั้น ทีโอทีจะเป็นแกนรับผิดชอบส่วนของการตั้งบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์ในประเทศ (NBN CO) ขณะที่แคทเป็นแกนในส่วนบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ (NGN CO) และบริษัทศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC CO) ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) ในการจ้างที่ปรึกษาทำแผนของ NBN CO และ Service CO โดยจะเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษา 3-4 รายมาเสนอราคา คาดว่าจะนำ TOR ให้ที่ประชุมบอร์ดทีโอที อนุมัติราว ก.ย.นี้ ก่อนอนุมัติการว่าจ้าง จากนั้นจะใช้เวลา 3 เดือนทำแผนธุรกิจ และอีก 6 เดือนประเมินมูลค่าทรัพย์สิน กำหนดสัดส่วนหุ้นและเงินลงทุนของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจัดโครงสร้างบุคลากรในบริษัทใหม่

"มติ คนร.ให้เวลา 1 ปีตั้ง 3 บริษัทซึ่งต้องเร่งให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ แต่ไม่ง่าย ทั้งทีโอทีและแคทต่างต้องจ้างที่ปรึกษาของตนเองมาวางแผนและประเมินมูลค่า ซึ่งสุดท้ายทั้งคู่ก็ต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบโมเดลที่ตนเองได้ประโยชน์สูงสุด"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1472115281

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.