Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ตุลาคม 2559 คสช. ได้ลงนามคำสั่ง ให้ยกเลิกประกาศ คสช. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ที่ห้ามไม่ให้กสทช. นำเเงินใน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 23,000 ล้านบาทไปใช้

ประเด็นหลัก




นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการกิจการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงานฯได้รับหนังสือลงนามโดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการ รมว.ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) แจ้งว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงนามคำสั่ง ให้ยกเลิกประกาศ คสช. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ที่ห้ามไม่ให้กสทช. นำเเงินใน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 23,000 ล้านบาทไปใช้



___________________________________________________






“ฐากร” เผยนายกรัฐมนตรี สั่ง“ปลดล็อก” ให้ กสทช.นำเงิน “กองทุนกทปส.” 23,000 ล้าน ไปใช้พัฒนาประเทศตามแผน “ดิจิทัล-ไทยแลนด์ 4.0” พร้อมสานฝันขึ้นเป็น “ดิจิทัล ฮับอาเซียน” ใน 20 ปี

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการกิจการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงานฯได้รับหนังสือลงนามโดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการ รมว.ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) แจ้งว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงนามคำสั่ง ให้ยกเลิกประกาศ คสช. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ที่ห้ามไม่ให้กสทช. นำเเงินใน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 23,000 ล้านบาทไปใช้

โดยคำสั่งล่าสุดระบุว่า ให้ กสทช. ประสานกับกระทรวงดิจิทัลฯ ในการนำเงินกองทุนดังกล่าวไปใช้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและการพัฒนาประเทศ โดยให้การดำเนินการไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันในสองหน่วยงาน นำเงินดังกล่าวไปใช้ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และรองรับการพัฒนาประเทศ ของภูมิภาคหรือ ดิจิทัล ฮับภายใน 20 ปี โดยในลำดับต่ไป กสทช.และกระทรวงดิจิทัลจะตั้งคณะกรรมการวางแผนการใช้เงินกองทุน กทปส. และนำข้อสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป

ทั้งนี้การจัดสรรเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) (พ.ศ. 2555-2559) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่ากทปส. ได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางธรรมาภิบาลที่มีความโปร่งใสเป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ภายใต้แนวคิด “การทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะ” โดยมุ่งเน้นบริหารและจัดสรรเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร รวมทั้งความรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมการคุ้มครองผู้บริโภค และการสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา กทปส. ได้จัดสรรเงินตามมาตรา 52 ในด้านต่างๆ รวมวงเงินทั้งสิ้น 1,062.40 ล้านบาท โดยในปี 2556 ได้จัดสรรจำนวน 10 โครงการ รวมวงเงิน 32.53 ล้านบาท ปี 2557 จัดสรรจำนวน 33 โครงการ รวมวงเงิน 155.709 ล้านบาท และในปี 2558ได้ประกาศการเปิดรับข้อเสนอโครงการประเภทที่ 2 เพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ รวมวงเงิน 874.161 ล้านบาท

สำหรับสถานะเงินกองทุน กทปส. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2559 กทปส.มีเงินฝากธนาคารคงเหลือทั้งสิ้น 34,952.58 ล้านบาท

“แผนยุทธศาสตร์ของ กทปส. ฉบับใหม่ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) คาดว่าจะได้ประกาศใช้ในช่วงต้นปี 2560 ซึ่ง กทปส. ได้วางเป้าหมายและทิศทางการจัดสรรเงินโดยมุ่งเน้นให้เกิดนวัตกรรมด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่มีส่วนในการสร้างเสริมคุณภาพ ชีวิตที่ดีแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง โดยการเสริมสร้างฐานการวิจัยที่สร้างคุณค่าแก่อุตสาหกรรมด้านการเงิน (Finance)การเกษตร (Agriculture) สุขภาพ (Health) และเมืองอัจฉริยะ (Smart City)”

ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ตามที่มีการบังคับใช้กฎหมายโดยอาศัยมาตรา 44 (ม.44)ในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักบินนั้น จะเป็นการปลดล็อคนักบินในส่วนของสายการบินไทยและสายการบินไทยสมายล์ ขาดแคลน โดยจากเดิมเงื่อนไขตามกฎหมายคุณสมบัติพนักงานของรัฐวิสาหกิจที่มีการเกษียณอายุที่ 60 ปี แต่มีการใช้ ม.44 ขยายให้ถึงอายุ 65 ปี แต่ในทางปฏิบัติใช้ในช่วงเวลา 3 ปี โดยนับคนที่จะเกษียณอายุในปี 2560 โดยยืดไปอีก 3 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านการบิน ในส่วนทางภาคเอกชนไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของอายุของบุคลากรทางการบิน


http://www.naewna.com/business/239080

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.