Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ตุลาคม 2559 กสทช. กำหนดกรอบเวลาไว้แล้วว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของดีแทคจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งสำนักงานกสทช.มีแผนจะเปิดประมูลล่วงหน้าก่อน 6 เดือน เริ่มตั้ง ราคาไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิมคือ 45,000 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาตในความถี่ 15 MHz

 ประเด็นหลัก

ทั้งนี้เบื้องต้นที่สำนักงานฯกสทช.กำหนดกรอบเวลาไว้แล้วว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของดีแทคจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งสำนักงานกสทช.มีแผนจะเปิดประมูลล่วงหน้าก่อน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 คาดว่าสามารถร่างเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูลได้ จากนั้นใช้เวลา 60 วันในการประกาศฯและคาดว่าจะเปิดประมูลเดือนมิถุนายน จากนั้นน่าจะสามารถออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลได้ราวเดือนสิงหาคม ส่วนราคาใบอนุญาตขั้นต่ำของคลื่น 1800 MHz นั้นในความเห็นส่วนตัวต้องการให้ราคาไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิมคือ 45,000 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาตในความถี่ 15 MHz





___________________________________________________






กสทช.เตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz ล่วงหน้า 6 เดือนก่อนดีแทคหมดสัมปทาน 30 กันยายน 61 เคาะราคาขั้นต่ำใบละ 4.5 หมื่นล้านบาท ยืนยันต้องการคุ้มครองผู้ที่ประมูลได้ก่อนหน้า ป้องกันพวกที่ไม่ยอมเคาะราคาสู้เข้ามาชุบมือเปิบ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ให้ความเห็นกรณีที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เสนอให้กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า (Early Auction) นั้นในความเห็นส่วนตัวไม่ขัดข้องและแม้จะไม่ได้ระบุอย่างแน่ชัดในถ้อยคำว่าจะมีการประมูลคลื่นล่วงหน้า ในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักงานกสทช.เตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ของดีแทคที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ กสท โทรคมนาคม ปี 2561 จำนวน 45 MHz แล้ว

ทั้งนี้เบื้องต้นที่สำนักงานฯกสทช.กำหนดกรอบเวลาไว้แล้วว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของดีแทคจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งสำนักงานกสทช.มีแผนจะเปิดประมูลล่วงหน้าก่อน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 คาดว่าสามารถร่างเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูลได้ จากนั้นใช้เวลา 60 วันในการประกาศฯและคาดว่าจะเปิดประมูลเดือนมิถุนายน จากนั้นน่าจะสามารถออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลได้ราวเดือนสิงหาคม ส่วนราคาใบอนุญาตขั้นต่ำของคลื่น 1800 MHz นั้นในความเห็นส่วนตัวต้องการให้ราคาไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิมคือ 45,000 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาตในความถี่ 15 MHz

อย่างไรก็ตามกสทช.ค่อนข้างมั่นใจว่าการประมูลในครั้งที่จะถึงนี้ จะได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการ เพราะอุตสาหกรรมยังคงต้องการคลื่นความถี่มาทำตลาดอีกมาก ปัจจุบันภาพรวมการใช้งานคลื่นความถี่ในประเทศไทยอยู่ที่ 400 เมกะเฮิรตซ์ แต่อุตสาหกรรมต้องการคลื่นความถี่อย่างต่ำ 700 MHz เพื่อให้บริการ 4จี ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเลขหมายให้บริการ 103 ล้านเลขหมาย เหลือเป็นระบบ 2จี เพียงแค่ 7 แสนราย ที่เหลือเป็นระบบ 3จี และ 4จี ทั้งหมด

“การที่เราจะตั้งราคาคลื่น 1800 MHz ไม่ให้น้อยกว่าค่าใบอนุญาตเดิมเพราะต้องการคุ้มครองผู้ที่ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว ไม่ให้คนที่ไม่ยอมประมูลไม่ยอมสู้ราคาครั้งแล้ว มาชุบมือเปิบได้ราคาที่ต่ำกว่าเดิม ซึ่งราคา 1800 เมกะเฮิรตซ์ เราคิดบนพื้นฐานว่าต้องไม่ต่ำกว่าราคาเดิม บวกกับอัตราเงินเฟ้อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ ซึ่งอาจจะ 3.5% บวกกับราคาสุดท้ายที่ผู้ชนะได้ไป จึงเป็นที่มาของราคาใบละ 45,000 ล้านบาทต่อใบอนุญาต” นายฐากร กล่าว

อนึ่งการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 มี 2 ใบอนุญาต 2 ชุดความถี่ 1710-1725/1805-1820 MHz และ 1725-1740/1820-1835 MHz จำนวนใบอนุญาตละ 15 MHz โดยรวมเป็นเงินทั้งหมดที่ได้จากการประมูล 80,778 ล้านบาท โดยในชุดที่ 1 บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ชนะการประมูลจากราคาใบอนุญาตที่ประมูลได้ 39,792 ล้านบาทขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ผู้ชนะการประมูลชุดช่วงความถี่ที่ 2 จากราคาใบอนุญาตที่ประมูลได้ 40,986 ล้านบาท

http://www.naewna.com/business/238374

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.