Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 (บทความ) เปิดผลวิจัย สืบค้นต้นตอ แรงจูงใจคดีอาญาในโลกไซเบอร์ // แบ่งกลุ่มการกระทำความผิดเป็น 4 กลุ่ม 1.กลุ่มการกระทำอนาจารออนไลน์ 2.การหลอกลวงออนไลน์ 3.การบุกรุกออนไลน์ 4.การใช้ความรุนแรงออนไลน์

ประเด็นหลัก



การวิจัยแบ่งกลุ่มการกระทำความผิดเป็น 4 กลุ่ม ภายใต้การตีความของการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คู่กับประมวลกฎหมายอาญา (ปอ.) ในการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน ได้แก่ 1.กลุ่มการกระทำอนาจารออนไลน์ อาทิ การนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามก (พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 14 (4)) การเป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจาร (ปอ.มาตรา 283) ค้าสิ่งลามก (ปอ.มาตรา 287)

2.การหลอกลวงออนไลน์ อาทิ ฉ้อโกง (ปอ.341) ยักยอกทรัพย์ (ปอ.352) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (1)) 3.การบุกรุกออนไลน์ อาทิ การทำลาย-ปลอมเอกสาร ลักทรัพย์ เจาะระบบ-ทำลายข้อมูล-ขัดขวางการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อการกระทำผิด (พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 5, 7, 9-11, 13)


4.การใช้ความรุนแรงออนไลน์ อาทิ หมิ่นสถาบัน (ปอ.112) ยุยงปลุกปั่น (ปอ.116) หมิ่นประมาท (ปอ.326-328) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (1)) นำเข้าข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคง (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (2-3))





________________________________________


เปิดผลวิจัย สืบค้นต้นตอ แรงจูงใจคดีอาญาในโลกไซเบอร์


นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ "อินเทอร์เน็ต" กลายเป็นช่องทางในการกระทำความผิดมากมาย และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างด้วยคุณสมบัติที่ทลายข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา ล่าสุดสถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม และศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีโครงการวิจัย "แนวโน้มพฤติการณ์การกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ" เพื่อหวังค้นต้นตอที่มาและแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการกระทำผิด

"ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง" ผู้วิจัยในโครงการนี้ เปิดเผยว่า 2 ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.Routine Activity Theory ที่ไม่ได้มองว่าคนเลวเท่านั้นที่จะทำผิด แต่ทุกคนจะทำหากมีครบ 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกระทำผิดนั่นคือ ผู้มีแนวโน้มจะกระทำผิด มีเหยื่อที่เหมาะสม และไม่มีผู้ดูแลปกป้อง

2.Space Transition Theory ที่ระบุว่า บุคคลที่ไม่สามารถมีการกระทำผิดในโลกกายภาพได้ ด้วยเหตุเพราะสถานะทางสังคม หน้าที่การงาน มีแนวโน้มที่จะทำผิดในโลกไซเบอร์ เนื่องจากเป็นโลกที่ไม่ต้องเปิดเผยตนเอง ไม่มีปัจจัยห้ามปรามการทำผิด รวมถึงมีโอกาสหนีจากการจับกุมได้ง่าย มีความขัดแย้งกันระหว่างบรรทัดฐานและคุณค่าทางสังคมในโลกกายภาพและโลกไซเบอร์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพฤติกรรมของทั้งโลกกายภาพและโลกไซเบอร์จะมีการเลียนแบบซึ่งกันและกัน

"การวิจัยนี้ได้ข้อมูลจากหลายหน่วยงานแต่ข้อมูลคดีจากสำนักงานอัยการพิเศษเป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ลึกที่สุดที่ใช้วิเคราะห์และอธิบายลักษณะและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้จึงไม่ใช่การวิจัยที่เน้นที่จำนวนคดี โดยข้อมูลอยู่ในช่วงปี 2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เริ่มบังคับใช้จนถึงปี 2558 ทั้งท้องที่ที่ส่งคดีให้สำนักงานอัยการพิเศษทั้ง 10 เขตครอบคลุมกรุงเทพฯตอนบน ซึ่งเป็นเขตใจกลางเมืองสำคัญได้"

การวิจัยแบ่งกลุ่มการกระทำความผิดเป็น 4 กลุ่ม ภายใต้การตีความของการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คู่กับประมวลกฎหมายอาญา (ปอ.) ในการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน ได้แก่ 1.กลุ่มการกระทำอนาจารออนไลน์ อาทิ การนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามก (พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 14 (4)) การเป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจาร (ปอ.มาตรา 283) ค้าสิ่งลามก (ปอ.มาตรา 287)

2.การหลอกลวงออนไลน์ อาทิ ฉ้อโกง (ปอ.341) ยักยอกทรัพย์ (ปอ.352) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (1)) 3.การบุกรุกออนไลน์ อาทิ การทำลาย-ปลอมเอกสาร ลักทรัพย์ เจาะระบบ-ทำลายข้อมูล-ขัดขวางการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อการกระทำผิด (พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 5, 7, 9-11, 13)

4.การใช้ความรุนแรงออนไลน์ อาทิ หมิ่นสถาบัน (ปอ.112) ยุยงปลุกปั่น (ปอ.116) หมิ่นประมาท (ปอ.326-328) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (1)) นำเข้าข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคง (พ.ร.บ.คอมพ์ 14 (2-3))

กว่าครึ่งไม่ใช่ความผิดไซเบอร์

ตั้งแต่ปี 2550-2558 สำนักงานอัยการพิเศษได้รับแจ้งมา 587 คดี แต่สั่งดำเนินคดีได้ 206 คดี สาเหตุหลักคือไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดได้ (268 คดี) โดยเฉพาะเมื่อผู้เสียหายเป็นหน่วยงานภาครัฐ

สำหรับคดีที่สั่งดำเนินการได้ 20.87% คือกลุ่มความผิดจากการอนาจารออนไลน์ 16.99% เป็นการหลอกลวงออนไลน์ 10.68% เป็นการบุกรุกออนไลน์ และ 51.46% เป็นการใช้ความรุนแรงออนไลน์ โดย "หมิ่นประมาท" คือฐานความผิดที่ถูกสั่งคดีมากที่สุด (81 คดี) ไม่ใช่อาชญากรรมทางไซเบอร์โดยแท้ เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันกับจำนวนคดีที่ได้รับแจ้งเข้ามา

อายุต่ำ 29 โดนจับบุกรุกระบบ

เมื่อเจาะลึกไปถึงช่วงอายุของผู้กระทำความผิดพบว่า ในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 29 ปี จะกระทำความผิดในกลุ่มอนาจารออนไลน์ และบุกรุกออนไลน์มากที่สุด โดยในกลุ่มการอนาจารออนไลน์กว่า 60.41% มีอายุต่ำกว่า 29 ปี 31.25% อายุ 30-39 ปี 8.33% อายุ 40-49 ปี ขณะที่กลุ่มความผิดจากการบุกรุกออนไลน์ 52.63% อายุต่ำกว่า 29 ปี รองลงไปคืออายุ 30-39 ปี 31.57% อายุ 40-49 ปี 10.52% และอายุ 50 ปีขึ้นไป 5.26%

ส่วนกลุ่มความผิดจากการหลอกลวงออนไลน์ ผู้กระทำผิดที่อายุต่ำกว่า 29 ปี และอายุ 30-39 ปี มีสัดส่วนเท่ากันคือ 37.83% รองลงไป 13.51% อายุ 40-49 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป มี 10.81%

ขณะที่การใช้ความรุนแรงออนไลน์ ในทุกช่วงวัยมีการกระทำผิดใกล้เคียงกัน โดย 26.37% อายุต่ำกว่า 29 ปี 31.86% อายุ 30-39 ปี 28.57% อายุ 40-49 ปี 13.18% อายุ 50 ปีขึ้นไป

วัยทำงานเสี่ยงสูงที่จะทำผิด

"ผศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์" อีกหนึ่งในผู้วิจัยกล่าวว่า เมื่อใช้การสำรวจเชิงปริมาณด้วยการตอบแบบสอบถามประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงลึกทั้งจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทัศนคติ นำมาจำแนกกลุ่มผู้ที่มีแนวโน้มการกระทำผิด เพื่อหามาตรการยับยั้งต่อไปนั้นพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 487 คน มี 21% ที่มีแนวโน้มจะกระทำความผิดทางเทคโนโลยีได้ง่าย เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่า อินเทอร์เน็ตระบุตัวตนไม่ได้ ตามตัวเมื่อกระทำความผิดไม่ได้ และมีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้บนโลกไซเบอร์ เพราะไม่มีกฎทางสังคมมากดทับ ซึ่งกลุ่มที่มีทัศนคติเช่นนี้จากการวิจัยพบว่าเป็นหญิงหรือชายอายุ 35-45 ปี วุฒิปริญญาตรีหรือต่ำกว่า (มี 18% จากกลุ่มตัวอย่าง) รวมถึงกลุ่มชายอายุไม่เกิน 35 ปี วุฒิปริญญาตรีหรือต่ำกว่า (3% จากกลุ่มตัวอย่าง)

"ทั้ง 2 กลุ่มเป็นวัยทำงาน และมีการใช้อินเทอร์เน็ตเยอะมาก โดยเฉพาะชายอายุไม่เกิน 35 ปี วุฒิปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ที่ทัศนคติในการใช้อินเทอร์เน็ตแบบ Freedom Safe Anonymous เนื่องจากใช้อินเทอร์เน็ตแทบทั้งวันยกเว้นเวลานอน โดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือใช้มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน จึงง่ายที่จะกระทำผิด"

เข้าถึงเน็ตง่าย ไม่ยั้งคิด เสี่ยงคุก

สอดคล้องกับการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์ผู้กระทำผิดที่ถูกดำเนินคดี ที่พบว่าทำผิดลงไปโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากใช้อารมณ์ พลั้งเผลอไม่ได้ทันยั้ง และในขณะกระทำผิดไม่ได้ตระหนักถึงความสามารถในการระบุตัวตนของโลกออนไลน์

"กลุ่มผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ใช้มือถือเป็นเครื่องมือในการกระทำผิดด้วยความง่ายในการเข้าถึงจึงไม่มีเวลายับยั้งชั่งใจเมื่อเกิดอารมณ์ก็คิดว่าจะทำอะไรก็ได้ ก็ลงมือทำทันที ฉะนั้น ทางแก้คือต้องเปลี่ยนมุมมองต่อโลกออนไลน์ว่าทุกอย่างสามารถระบุตัวตนได้ เพราะคนที่ทำผิดมักยังหลงคิดว่าระบุตัวตนไม่ได้"

โดยเฉพาะในกลุ่มความผิดเกี่ยวกับความรุนแรงออนไลน์เช่นการหมิ่นประมาทผู้อื่นให้อับอายจากการสำรวจบุคคลทั่วไป มองว่าผลกระทบจากการกระทำผิดไม่สูงมาก แรงกดดันจากสังคมก็ไม่สูงมาก คือรู้ว่าไม่เห็นด้วย แต่ไม่คิดว่าจะมีบทลงโทษรุนแรง การยับยั้งชั่งใจที่จะเป็นปัจจัยทางสังคมไม่ให้กระทำผิดจึงไม่ได้มีสูงมากตามไปด้วย ความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทำผิดในกลุ่มนี้จึงมีมาก



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1474891144

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.