Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 “อีริคสัน” ชี้ไทยพร้อมเป็น “Digital Thailand” ชี้ชัดว่า ผู้บริโภคไทยนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้กับทุกสถานการณ์ในชีวิต และพร้อมแล้วสำหรับ “อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” หรือ IoT (Internet of Thing) และประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค

ประเด็นหลัก


นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถเป็น Digital Thailand ได้ภายในปี 2563 สอดรับกับ รายงาน Digital Thailand ซึ่ง Ericsson’s ConsumerLab และการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศชี้ชัดว่า ผู้บริโภคไทยนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้กับทุกสถานการณ์ในชีวิต และพร้อมแล้วสำหรับ “อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” หรือ IoT (Internet of Thing) และประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค

ทั้งนี้ พบว่าผู้บริโภคไทยนำหน้า หรือเท่ากับผู้บริโภคจากทั่วโลกในเรื่องของการหลอมรวม หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น 45% ของผู้บริโภคไทย เทียบกับ 37% ของผู้บริโภคทั่วโลกเชื่อว่า การค้นพบผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากชุมชนออนไลน์ง่ายกว่าการค้นหาจากอินเทอร์เน็ต และ 33% ของผู้บริโภคที่สำรวจในไทยมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันบางอย่าง เช่น การแบ่งปันที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยานพาหนะ และ Wi-FI กับคนกลุ่มเดียวกันทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เทียบกับ 34% ทั่วโลก






________________________________________


“อีริคสัน” ชี้ไทยพร้อมเป็น “Digital Thailand”


อีริคสัน เปิดรายงานระดับโลก ชี้ไทยพร้อมเป็น “Digital Thailand” ได้ภายในปี 2563 หลังพบผลสำรวจผู้บริโภคไทยนำหน้า หรือเท่ากับผู้บริโภคจากทั่วโลกในเรื่องของการหลอมรวม หรือการใช้ไอที ชี้ IoT จะกลายเป็นประเภทของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด แซงหน้าโทรศัพท์มือถือในปี 2561
นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถเป็น Digital Thailand ได้ภายในปี 2563 สอดรับกับ รายงาน Digital Thailand ซึ่ง Ericsson’s ConsumerLab และการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศชี้ชัดว่า ผู้บริโภคไทยนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้กับทุกสถานการณ์ในชีวิต และพร้อมแล้วสำหรับ “อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” หรือ IoT (Internet of Thing) และประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค
ทั้งนี้ พบว่าผู้บริโภคไทยนำหน้า หรือเท่ากับผู้บริโภคจากทั่วโลกในเรื่องของการหลอมรวม หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น 45% ของผู้บริโภคไทย เทียบกับ 37% ของผู้บริโภคทั่วโลกเชื่อว่า การค้นพบผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากชุมชนออนไลน์ง่ายกว่าการค้นหาจากอินเทอร์เน็ต และ 33% ของผู้บริโภคที่สำรวจในไทยมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันบางอย่าง เช่น การแบ่งปันที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยานพาหนะ และ Wi-FI กับคนกลุ่มเดียวกันทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เทียบกับ 34% ทั่วโลก
เมื่อการรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้วิสัยทัศน์ประเทศดิจิตอลเกิดขึ้นได้จริง ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ 2 ของภูมิภาคในเรื่องอัตราความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูลจากสถานีแม่ข่ายไปยังสถานีลูกข่าย (Peak Downlink Speed) และอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล 1 แพกเกจจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (Latency) บนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ไทยอยู่ในอันดับ 5 สำหรับการส่งข้อมูลปริมาณต่ำสุด (Cell-edge Throughput) ซึ่งเหมาะสมกับการค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์ แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับ Video หรือ Music Streaming รวมทั้งการประชุมแบบทันทีผ่านระบบวิดีโอด้วย ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศดำเนินการเพิ่มความครอบคลุมขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนการให้บริการคอนเทนต์สื่อขนาดใหญ่ (Media Rich Content) ซึ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น ต้องจัดให้ประชาชนทั้งในเมือง และในชนบทสามารถรับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้บรอดแบนด์ได้ ต้องนำปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมาตั้งเป็นโจทย์ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นในประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจ และสังคมดิจิตอลเร็วขึ้น
“IoT จะกลายเป็นประเภทของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดแซงหน้าโทรศัพท์มือถือในปี 2561 และรายงาน Digital Thailand แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคไทยที่จะใช้ IoT โดย 43% ของผู้บริโภคในประเทศรู้สึกว่า การเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ต่างๆ และบริการทั้งหลายเข้ากับอินเทอร์เน็ต จะเป็นผลดีกับสังคม เปรียบเทียบกับผู้บริโภค 36% ทั่วโลก และ 84% ของผู้บริโภคไทยต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ อย่าง หรือสิ่งของหลายๆ ชิ้นเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เทียบกับ 81% ทั่วโลก โดยโทรทัศน์ รถยนต์ กล้องถ่ายภาพ และสัญญาณเตือนภัยในบ้านเป็นอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคไทยต้องการให้มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสูงสุด”
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจยังพบอีกว่า ยังมีกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เชื่อมต่อเครือข่าย 34% ในขณะที่ทั่วโลกมีตัวเลขเพียง 18% และคนไทยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปี ที่เป็นผู้ไม่เชื่อมต่อเครือข่าย ทั้งนี้ อาจมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม่นิยมใช้งานเชื่อมต่อเครือข่าย เพราะใช้งานไม่เป็น หรืออาจมาจากการขยายโครงข่ายไม่ทั่วถึง ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องเป็นผู้ให้ความรู้ และขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม เพื่อให้ตัวเลขนี้ลดลง เพื่อให้ประเทศไทยไปสู่ Digital Thailand


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000102765&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+13-10-59&utm_campaign=20161012_m134867754_MGR+Morning+Brief+13-10-59&utm_term=_E2_80_9C_E0_B8_AD_E0_B8_B5_E0_B8_A3_E0_B8_B4_E0_B8_84_E0_B8_AA_E0_B8_B1_E0_B8_99_E2_80_9D+_E0_B8_8A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.