23 ตุลาคม 2559 ED ระบุ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กลับไปตามแนวทางของคำพิพากษายังไม่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ต้องแก้ไขให้อินทัช เข้ามาถือหุ้น 51% ในไทยคม ตลอดจนสถานะของดาวเทียมไอพีสตาร์ รวมถึงส่วนของการกำกับดูแลดาวเทียมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช.
ประเด็นหลัก
"การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กลับไปตามแนวทางของคำพิพากษายังไม่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ต้องแก้ไขให้อินทัช เข้ามาถือหุ้น 51% ในไทยคม ตลอดจนสถานะของดาวเทียมไอพีสตาร์ รวมถึงส่วนของการกำกับดูแลดาวเทียมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. และการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของรัฐวิสาหกิจอย่างทีโอที และแคทที่หลายสัมปทานสิ้นสุดไปแล้ว แต่ปัญหาความถูกต้องในการแก้ไขสัญญาหลายครั้งที่คำพิพากษาศาลฎีกาคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีชี้ว่าเอื้อประโยชน์เอกชนทำให้รัฐเสียหายก็ยังไม่ได้มีการนำไปแก้ไขแต่อย่างใด"
________________________________________
กระทรวงดีอีใหม่ ปัญหาเก่า สางปมสัมปทาน-สานต่อดิจิทัลอีโคโนมี
"การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กลับไปตามแนวทางของคำพิพากษายังไม่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ต้องแก้ไขให้อินทัช เข้ามาถือหุ้น 51% ในไทยคม ตลอดจนสถานะของดาวเทียมไอพีสตาร์ รวมถึงส่วนของการกำกับดูแลดาวเทียมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. และการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของรัฐวิสาหกิจอย่างทีโอที และแคทที่หลายสัมปทานสิ้นสุดไปแล้ว แต่ปัญหาความถูกต้องในการแก้ไขสัญญาหลายครั้งที่คำพิพากษาศาลฎีกาคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีชี้ว่าเอื้อประโยชน์เอกชนทำให้รัฐเสียหายก็ยังไม่ได้มีการนำไปแก้ไขแต่อย่างใด"
________________________________________
กระทรวงดีอีใหม่ ปัญหาเก่า สางปมสัมปทาน-สานต่อดิจิทัลอีโคโนมี
แม้จะยังไม่มีเจ้ากระทรวงคนแรกมานั่งกุมบังเหียนกระทรวงใหม่เอี่ยมถอดด้าม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอี ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่รัฐบาลประกาศไว้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 2 ปีก่อน ต่อเนื่องมาถึงการปักธงไปสู่ "ไทยแลนด์ 4.0" หลังการลาออกของ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ก่อนที่จะพ้นตำแหน่งโดยปริยาย จากการที่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้งกระทรวงดีอีมีผลบังคับใช้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงนามแต่งตั้งให้ นายอุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีไอซีที เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการบริหารราชการในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 202/2559 เรื่องการแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมีเนื้อหาว่า เพื่อให้เป็นการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินการในด้านเศรษฐกิจ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัล มาใช้ในทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เท่ากับว่าอดีตรัฐมนตรีไอซีทีจะเข้ามารับผิดชอบในการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีซึ่งเป็นภารกิจของกระทรวงใหม่ต่อในฐานะ "ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี"
โดยกระทรวงดีอีจะเป็นทั้งผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในฐานะผู้ริเริ่มโครงการและในฐานะหน่วยงานที่จะสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะตั้งขึ้นหลังร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกาศใช้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.
แหล่งข่าวจากกระทรวงดีอีกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เรื่องสำคัญเร่งด่วนที่สุดในขณะนี้ คือการจัดโครงสร้างและอัตรากำลังใหม่ โดยอยู่ระหว่างรอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อนุมัติ
แม้อดีตปลัดกระทรวงไอซีทีจะกลายเป็นปลัดกระทรวงดีอีแล้ว และกำลังเตรียมมอบหมายงานให้แต่ละหน่วยราชการ โดยในวันที่ 20 ก.ย. "พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง" รองนายกรัฐมนตรี รักษาการแทนรัฐมนตรีกระทรวงดีอี มีคิวมอบนโยบายให้ผู้บริหารกระทรวงใหม่ ขณะที่การดำเนินงานในหลายส่วนจำเป็นต้องมีกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เพื่อให้มีกฎหมายรองรับ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการประกาศใช้
"ตั้งแต่สมัยรัฐมนตรีพรชัย (รุจิประภา) มีการเร่งรัดให้เตรียมการสำหรับการเปลี่ยนผ่านกระทรวงไอซีทีไปสู่กระทรวงดีอี ทั้งในส่วนของการเตรียมยกร่างกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง รวมถึงตั้งงบประมาณโครงการ Change Manage-ment เพื่อเตรียมความพร้อม แต่สุดท้ายโครงการจ้างที่ปรึกษาโครงการเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนกระทรวง ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภายใต้งบประมาณ 58.8 ล้านบาท เพิ่งประกาศราคากลางสำหรับการคัดเลือกผู้ดำเนินโครงการเมื่อ 12 ก.ย.นี้เอง"
ขณะที่โครงการนำร่องนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติไว้ตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ก็มีโครงการใหญ่ ๆ อีกหลายโครงการยังไม่ได้เริ่มเดินหน้า อาทิ โครงการติดตั้งอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มูลค่า 15,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารผู้ยื่นซองเสนอราคาติดตั้งโครงข่าย ซึ่งมี บมจ.ทีโอทียื่นเพียงรายเดียว รวมถึงโครงการยกระดับอินเทอร์เน็ตเกตเวย์เชื่อมต่อระหว่างประเทศมูลค่า 5,000 ล้านบาท ที่ยังไม่มีข้อสรุป
เนื่องจากโมเดลการลงทุนเดิมจะให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เป็นผู้ลงทุนโครงข่าย โดยยกระดับโครงข่ายเดิมของแคทให้มีประสิทธิภาพขึ้น แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีผู้ท้วงติงว่าขัดระเบียบการลงทุนภาครัฐ เนื่องจากเมื่อมีการใช้เงินงบประมาณรัฐในการลงทุนโครงข่ายต้องเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของแคท ดังนั้น ทางออกของโครงการนี้จึงมี 2 แนวทาง คือ 1.วางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำใหม่อีก 1 เส้นทาง ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 2 ปี เพราะจำเป็นต้องประสานกับหลายประเทศ และควรให้มีการลงทุนร่วมกันเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเกตเวย์ระหว่างประเทศ หรือ 2.โยกงบประมาณ 5,000 ล้านบาทไปใช้อย่างอื่น ซึ่งเริ่มมีการหารือในคณะทำงานแล้วบ้าง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการย่อยอีกหลายโครงการที่รวมอยู่ในโครงการนำร่องที่ได้รับอนุมัติงบประมาณมาแล้วแต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการอาทิส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็นต้น รวมไปถึงปัญหาเก่าระดับมหากาพย์ที่ต้องสะสาง โดยเฉพาะปมปัญหาสัญญาสัมปทานที่มีการทวงถามเป็นระยะ จากหลายหน่วยงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของกระทรวงไอซีทีในฐานะคู่สัญญาและหน่วยงานกำกับให้ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) อยู่ระหว่างการพิจารณาเอาผิดรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางกรณีมีคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯแล้ว อาทิ คดีแก้สัญญาดาวเทียมไทยคม ที่ตัดสินจำคุกอดีตรัฐมนตรีไอซีที (สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) และรอลงอาญา 2 อดีตปลัดไอซีที
"การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กลับไปตามแนวทางของคำพิพากษายังไม่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ต้องแก้ไขให้อินทัช เข้ามาถือหุ้น 51% ในไทยคม ตลอดจนสถานะของดาวเทียมไอพีสตาร์ รวมถึงส่วนของการกำกับดูแลดาวเทียมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. และการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของรัฐวิสาหกิจอย่างทีโอที และแคทที่หลายสัมปทานสิ้นสุดไปแล้ว แต่ปัญหาความถูกต้องในการแก้ไขสัญญาหลายครั้งที่คำพิพากษาศาลฎีกาคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีชี้ว่าเอื้อประโยชน์เอกชนทำให้รัฐเสียหายก็ยังไม่ได้มีการนำไปแก้ไขแต่อย่างใด"
เรียกว่ากระทรวงใหม่มีทั้งงานใหม่ และงานค้างจากกระทรวงไอซีทีเดิมให้สะสางเพียบ ไม่รู้ว่า "อุตตม" ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนในช่วงรอยต่อที่ยังไม่มีเจ้ากระทรวงดีอีตัวจริง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1474534725
ไม่มีความคิดเห็น: