Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 ITU พบว่า ความต้องการจำนวนคลื่นความถี่ของแต่ละประเทศในการใช้งานจะเพิ่มเป็นจำนวน 1340 MHz ถึง 1960 MHz ในปี พ.ศ.2563 ในขณะที่วันนี้ประเทศไทยมีจำนวนคลื่นความถี่ในการใช้งานเพียง 320 MHz เท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) เพื่อเอาคลื่นความถี่มาประมูลให้มากขึ้น

ประเด็นหลัก





โดยจากการศึกษาของ ITU พบว่า ความต้องการจำนวนคลื่นความถี่ของแต่ละประเทศในการใช้งานจะเพิ่มเป็นจำนวน 1340 MHz ถึง 1960 MHz ในปี พ.ศ.2563 ในขณะที่วันนี้ประเทศไทยมีจำนวนคลื่นความถี่ในการใช้งานเพียง 320 MHz เท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) เพื่อเอาคลื่นความถี่มาประมูลให้มากขึ้น โดยควรกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีและความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ
สำหรับคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ กสทช. ดีแทคสนับสนุนคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ กสทช. จะต้องมาจากการสรรหาด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรม ไม่ให้กฎหมายเปิดช่องให้แก่ผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เข้ามาเป็นคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลได้เพราะเกี่ยวข้องต่อผลประโยชน์มหาศาลของชาติ

"เป็นเวลาที่สำคัญยิ่งของประเทศและคนไทยทุกคน รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการ และสาธารณชนทั่วไป ที่จะรวมใจแสดงพลังให้ภาครัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลที่รับผิดชอบ ด้วยการผลักดันให้ร่วมกันทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อส่วนรวมไม่ใช่แค่เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผมหวังว่าคนไทยจะตื่นตัวมากขึ้น และแสดงความรับผิดชอบในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีจริยธรรม ประชาชนคือผู้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากแบรนด์ที่ทำธุรกิจบนความถูกต้อง แทนที่จะเลือกจากแบรนด์ที่ได้ผลประโยชน์จากความไม่ยุติธรรม ไม่มีจริยธรรม และการทำธุรกิจที่ไม่โปร่งใส"










________________________________________________




ดีแทคชี้ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ต้องระบุเนื้อหาการประมูลความถี่ล่วงหน้า

ดีแทค กระทุ้งแก้ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ควรระบุเนื้อหาให้จัดประมูลความถี่ล่วงหน้า และผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถดำเนินธุรกิจได้ทันทีที่สัญญาสัมปทานหมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยมาตรการเยียวยา และควรโอนใบอนุญาตได้เหมือนหลักสากล พร้อมทั้งควรมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชัดเจน ส่วนคุณสมบัติ กสทช.ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งทางตรง และทางอ้อม
นายภารไดย ธีระธาดา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ฉบับใหม่ ว่า ควรกำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า (Early Auction) ก่อนที่ใบอนุญาต หรือสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง โดยให้ใบอนุญาตใหม่มีผลเริ่มต้นในวันที่ใบอนุญาต หรือสัญญาสัมปทานเดิมสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจว่าจะสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดความกังวลเรื่องซิมดับ หากไม่มีการประมูลใบอนุญาตก่อนที่ใบอนุญาตเดิมจะสิ้นสุดลง การให้บริการลูกค้าที่ยังตกค้างในโครงข่ายจะเป็นการให้บริการตามมาตรการเยียวยาซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใด และก่อให้เกิดปัญหาด้านการจัดการคลื่นความถี่ โครงข่าย และเกิดการฟ้องร้องต่างๆ ตามมาดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต อีกทั้งหากมีการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า รัฐก็จะได้รับเงินจากการประมูลคลื่นความถี่เร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงรายได้ และดอกผลจำนวนมหาศาลที่รัฐจะได้รับจากเงินดังกล่าว
นอกจากนี้ ควรระบุชัดเจนว่าผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สามารถโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Trading) ได้เหมือนกับหลักเกณฑ์สากล เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ในขณะนี้กล่าวถึงเฉพาะการให้ร่วมใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Sharing) หรือให้เช่าใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Leasing) เท่านั้น การเพิ่มเรื่องการโอนใบอนุญาตจะทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาแข่งขันในตลาดสามารถเข้ามาได้ทันที ไม่ต้องรอให้มีการจัดประมูลที่นานๆ จะเกิดขึ้น และยังลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการรายใหม่ในการทดลองเข้ามาแข่งขัน เพราะหากไม่ประสบความสำเร็จก็ยังโอนขายใบอนุญาตได้ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และยังทำให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการอยู่ต้องให้บริการที่ดีในราคาที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มั่นใจว่าทำได้ดีกว่าเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การให้โอนใบอนุญาตก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขว่าเมื่อไหร่โอนได้โอนไม่ได้ โดยเงื่อนไขต้องรัดกุม เช่น ต้องกำหนดเงื่อนไขป้องกันไม่ให้เกิดการเข้ามาขอรับใบอนุญาตเพื่อนำไปโอนขายหากำไรโดยไม่มีเจตนาประกอบการจริง เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่สามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันได้โดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์สากล
นายภารไดย กล่าวว่า กฎหมายควรกำหนดให้ กสทช.ต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรคลื่นความถี่แต่ละคลื่น หรือที่เรียกว่าแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) โดยควรต้องประกาศใช้แผนดังกล่าวให้เร็วที่สุดภายหลังที่กฎหมายใหม่ประกาศใช้ เนื่องจากประเทศไทยยังมีความต้องการคลื่นความถี่อีกจำนวนมากเพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ นอกเหนือจากคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ในการประมูลที่ผ่านมา
โดยจากการศึกษาของ ITU พบว่า ความต้องการจำนวนคลื่นความถี่ของแต่ละประเทศในการใช้งานจะเพิ่มเป็นจำนวน 1340 MHz ถึง 1960 MHz ในปี พ.ศ.2563 ในขณะที่วันนี้ประเทศไทยมีจำนวนคลื่นความถี่ในการใช้งานเพียง 320 MHz เท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) เพื่อเอาคลื่นความถี่มาประมูลให้มากขึ้น โดยควรกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีและความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ
สำหรับคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ กสทช. ดีแทคสนับสนุนคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ กสทช. จะต้องมาจากการสรรหาด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรม ไม่ให้กฎหมายเปิดช่องให้แก่ผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เข้ามาเป็นคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลได้เพราะเกี่ยวข้องต่อผลประโยชน์มหาศาลของชาติ
"เป็นเวลาที่สำคัญยิ่งของประเทศและคนไทยทุกคน รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการ และสาธารณชนทั่วไป ที่จะรวมใจแสดงพลังให้ภาครัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลที่รับผิดชอบ ด้วยการผลักดันให้ร่วมกันทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อส่วนรวมไม่ใช่แค่เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผมหวังว่าคนไทยจะตื่นตัวมากขึ้น และแสดงความรับผิดชอบในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีจริยธรรม ประชาชนคือผู้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากแบรนด์ที่ทำธุรกิจบนความถูกต้อง แทนที่จะเลือกจากแบรนด์ที่ได้ผลประโยชน์จากความไม่ยุติธรรม ไม่มีจริยธรรม และการทำธุรกิจที่ไม่โปร่งใส"

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000095614&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+23-9-59&utm_campaign=20160922_m134446070_MGR+Morning+Brief+23-9-59&utm_term=_E0_B8_94_E0_B8_B5_E0_B9_81_E0_B8_97_E0_B8_84_E0_B8_8A_E0_B8_B5_E0_B9_89+_E0_B8_9E_E0_B8_A3_E0_B8_9A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.