Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. ผู้รับผิดชอบโครงการ USO ฝั่งโทรคมนาคม เปิดเผย ทบทวนแผนการดำเนินการของโครงการ USO เตรียมไว้แล้วให้พร้อมดำเนินโครงการได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งปลดล็อกจาก คสช. จากเดิมจะเริ่มโครงการนำร่องตามแผน 5 ปีด้วย

ประเด็นหลัก


ด้านพลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. ผู้รับผิดชอบโครงการ USO ฝั่งโทรคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ทบทวนแผนการดำเนินการของโครงการ USO เตรียมไว้แล้วให้พร้อมดำเนินโครงการได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งปลดล็อกจาก คสช. จากเดิมจะเริ่มโครงการนำร่องตามแผน 5 ปีด้วยโครงการขยายบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และโทรคมนาคมในพื้นที่ห่างไกล 2 จังหวัดนำร่อง คือ พิษณุโลก และหนองคาย ซึ่ง กสทช.เปิดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมยื่นซองประมูลในการติดตั้งตั้งแต่ พ.ค. 2557 และ บมจ.ทีโอทีเป็นผู้ชนะประมูลด้วยงบประมาณราว 441 ล้านบาท ก็คงต้องยกเลิกไปก่อนเนื่องจากต้องหารือกับกระทรวงดีอีในการขยายโครงข่ายเพื่อไม่ให้ทับซ้อนกัน

ดังนั้นจะนำผลการศึกษาศักยภาพของแต่ละพื้นที่ของประเทศที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ มาเริ่มทำโครงการในพื้นที่ที่จัดเป็นโซน C3 คือพื้นที่ห่างไกลไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ และมีอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโครงข่ายสูงไม่เป็นที่สนใจของเอกชนในการขยายโครงข่าย เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ใช่พื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่จะหารายได้ได้ คาดว่าน่าจะเริ่มโครงการได้ใน 1-2 เดือนนี้

"ทีมงานเตรียมศึกษาทบทวนแผนในส่วนนี้แล้ว เน้นเลือกพื้นที่ที่ไม่สามารถลากสายไฟเบอร์ออปติกเข้าไปได้ และห่างไกล ซึ่งจะไม่ทับซ้อนกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านของดีอี เพื่อให้เริ่มโครงการได้เร็วที่สุดโดยกำลังเลือกพื้นที่ ส่วนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่จะใช้จะให้บริการผ่านดาวเทียมแทน ซึ่งโครงการของ กสทช.ยังเน้นที่การสร้างศูนย์กลางในการใช้อินเทอร์เน็ตให้ชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล"






_________________________________________






"กสทช."ปัดฝุ่นโครงการUSOลุ้นคสช.ปลดล็อกเงิน

"กสทช." เตรียมปัดฝุ่นโครงการ USO รอลุ้นคำสั่ง "คสช." ปลดล็อกให้ใช้เงินกองทุน 26,000 ล้านบาท พร้อมประสานความร่วมมือกระทรวงดิจิทัลฯ-เลี่ยงปัญหาลงทุนซ้ำซ้อน พร้อมนำร่องขยายบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชายขอบภายใน 1-2 เดือนนี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการอนุมัติให้ กสทช.ดำเนินการโครงการให้บริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณะโดยทั่วถึง (USO) หลังมีคำสั่ง คสช.ให้ระงับการดำเนินการไว้ตั้งแต่ 17 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา แต่เพื่อความชัดเจน สำนักงาน กสทช.ได้ทำหนังสือขอให้หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรียืนยันมาอีกครั้ง เนื่องจากตามหนังสือที่เลขาธิการ คสช.ชงขึ้นไปให้ลงนามเป็นการขอให้อนุมัติการปลดล็อกการระงับโครงการ แต่หัวหน้า คสช.ลงนามว่ารับทราบจึงจำเป็นต้องขอคำยืนยันอีกครั้งก่อนที่เริ่มดำเนินการ

สำหรับเงินที่มีคำสั่ง คสช.ล็อกไว้ เป็นเงินในกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เฉพาะในส่วนที่มาจากเงินค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.ในอัตรา 3.75% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และกันไว้สำหรับโครงการ USO ฝั่งโทรคมนาคมเท่านั้น เป็นเงินราว 26,000 ล้านบาท ไม่เกี่ยวกับเงินกองทุนส่วนอื่น ๆ

โดยในเบื้องต้นสำนักงาน กสทช.ได้เตรียมดำเนินการตามแผน USO ที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ คสช.ได้กำชับมา คือ ต้องไม่ทับซ้อนกับโครงการขยายโครงข่ายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งจากนี้ต้องมีการหารือและทำงานร่วมกันต่อไป และจะต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้มากจนอาจทำให้มีปัญหาในการจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียม USO จากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.ได้

"ตามกฎหมายระบุว่า กสทช.ต้องเก็บเงินค่าธรรมเนียม USO เพื่อนำมาใช้ตามแผน USO ที่วางไว้ ปัจจุบันอยู่ในแผน 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุด เม.ย.ปีหน้า แต่ยังไม่ได้มีการนำเงินที่จัดเก็บมาได้ลงทุนตามโครงการเลย ทำให้อาจมีปัญหาว่าจะเก็บเงิน USO จากเอกชนต่อไม่ได้ เพราะเอกชนโวยว่าเก็บไปแล้วไม่ได้ใช้ หาก คสช.ปลดล็อกเงินก้อนนี้ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ ส่วนที่เอกชนมองว่าเงินที่จัดเก็บมากเกินไปนั้น ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับลดค่าธรรมเนียม USO ลง เพราะในประเทศไทยังมีพื้นที่ที่ห่างไกลที่ต้องขยายบริการทั่วถึง และต่อให้ปรับลดค่าธรรมเนียมลงโอเปอเรเตอร์ก็ไม่ได้นำไปลดค่าบริการให้ผู้บริโภค การเรียกเก็บเงินมาเพื่อขยายบริการให้ผู้ด้อยโอกาสจึงเหมาะสมกว่า"

ด้านพลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. ผู้รับผิดชอบโครงการ USO ฝั่งโทรคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ทบทวนแผนการดำเนินการของโครงการ USO เตรียมไว้แล้วให้พร้อมดำเนินโครงการได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งปลดล็อกจาก คสช. จากเดิมจะเริ่มโครงการนำร่องตามแผน 5 ปีด้วยโครงการขยายบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และโทรคมนาคมในพื้นที่ห่างไกล 2 จังหวัดนำร่อง คือ พิษณุโลก และหนองคาย ซึ่ง กสทช.เปิดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมยื่นซองประมูลในการติดตั้งตั้งแต่ พ.ค. 2557 และ บมจ.ทีโอทีเป็นผู้ชนะประมูลด้วยงบประมาณราว 441 ล้านบาท ก็คงต้องยกเลิกไปก่อนเนื่องจากต้องหารือกับกระทรวงดีอีในการขยายโครงข่ายเพื่อไม่ให้ทับซ้อนกัน

ดังนั้นจะนำผลการศึกษาศักยภาพของแต่ละพื้นที่ของประเทศที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ มาเริ่มทำโครงการในพื้นที่ที่จัดเป็นโซน C3 คือพื้นที่ห่างไกลไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ และมีอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโครงข่ายสูงไม่เป็นที่สนใจของเอกชนในการขยายโครงข่าย เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ใช่พื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่จะหารายได้ได้ คาดว่าน่าจะเริ่มโครงการได้ใน 1-2 เดือนนี้

"ทีมงานเตรียมศึกษาทบทวนแผนในส่วนนี้แล้ว เน้นเลือกพื้นที่ที่ไม่สามารถลากสายไฟเบอร์ออปติกเข้าไปได้ และห่างไกล ซึ่งจะไม่ทับซ้อนกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านของดีอี เพื่อให้เริ่มโครงการได้เร็วที่สุดโดยกำลังเลือกพื้นที่ ส่วนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่จะใช้จะให้บริการผ่านดาวเทียมแทน ซึ่งโครงการของ กสทช.ยังเน้นที่การสร้างศูนย์กลางในการใช้อินเทอร์เน็ตให้ชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475738639

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.