Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 กสทช.ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงานกำกับนโยบายพลังงาน โดยจะกำหนดเป็นแผนเร่งรัด ซึ่งจะลงพื้นที่ตรวจสอบว่าพื้นที่ใดต่อไปที่จะนำเอาสายโทรคมนาคมลงดิน และจะมีพื้นที่ใดที่มีการนำสายเคเบิ้ลทีวี สายอินเตอร์เนตที่ไม่ได้รับอนุญาตมาพาดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 เดือน ในการตรวจสอบทั้งหมดแล้วเสร็จ

ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ กสทช.ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงานกำกับนโยบายพลังงาน โดยจะกำหนดเป็นแผนเร่งรัด ซึ่งจะลงพื้นที่ตรวจสอบว่าพื้นที่ใดต่อไปที่จะนำเอาสายโทรคมนาคมลงดิน และจะมีพื้นที่ใดที่มีการนำสายเคเบิ้ลทีวี สายอินเตอร์เนตที่ไม่ได้รับอนุญาตมาพาดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 เดือน ในการตรวจสอบทั้งหมดแล้วเสร็จ

ในขณะเดียวกัน กสทช.จะทำการออกประกาศและกำหนดของ กสทช. เห็นชอบให้นำร่างประกาศ กสทช.เรื่องแนวทางปฏิบัติในการใช้ การลงทุน และการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินหรือกับโครงสร้างพื้นฐานหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ... และประกาศการกำหนดอัตราค่าบริการการเช่าใช้ท่อร้อยสาย ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับได้รับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมีนาคม 2560
____________________________________________ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559 ได้หารือร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เกี่ยวกับความคืบหน้าในการเอาสายโทรคมนาคมลงดิน โดยในปี 2560 มีแผนการนำสายโทรคมนาคมลงดินใน 5 เส้นทาง คือ 1.ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ถนนพระรามที่ 6 ถึงถนนบรรทัดทอง, 2.ถนนโยธี ตั้งแต่ถนนพระรามที่ 6 ถึงซอยเสนารักษ์, 3.ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ถนนพระรามที่ 6 ถึงถนนพญาไท, 4.ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงถนนศรีอยุธยา และ 5.ถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกปทุมวันถึงแยกกษัตริย์ศึก

โดยการหารือดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องหลังจากที่การนำเอาสายโทรคมนาคมลงดินประสบความสำเร็จแล้ว หลังจากสำนักงาน กสทช. และ 4 องค์กร คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน ดังนั้น จึงมีการดำเนินการหักเสาไฟฟ้าตั้งแต่แยกตึกชัยถึงราชวิถี 15 ซึ่งเป็นเส้นทางแรกจากทั้งหมด 6 เส้นทาง โดยได้ดำเนินการเสร็จแล้วในปี 2559

ทั้งนี้ กสทช.ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงานกำกับนโยบายพลังงาน โดยจะกำหนดเป็นแผนเร่งรัด ซึ่งจะลงพื้นที่ตรวจสอบว่าพื้นที่ใดต่อไปที่จะนำเอาสายโทรคมนาคมลงดิน และจะมีพื้นที่ใดที่มีการนำสายเคเบิ้ลทีวี สายอินเตอร์เนตที่ไม่ได้รับอนุญาตมาพาดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 เดือน ในการตรวจสอบทั้งหมดแล้วเสร็จ

ในขณะเดียวกัน กสทช.จะทำการออกประกาศและกำหนดของ กสทช. เห็นชอบให้นำร่างประกาศ กสทช.เรื่องแนวทางปฏิบัติในการใช้ การลงทุน และการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินหรือกับโครงสร้างพื้นฐานหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ... และประกาศการกำหนดอัตราค่าบริการการเช่าใช้ท่อร้อยสาย ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับได้รับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมีนาคม 2560

http://www.naewna.com/business/247547

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.