Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 TOT จัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(ยูโซ่)อีกจำนวน 15,732 แห่ง .มีความเป็นไปได้สูงที่กสทช.จะใช้ คลื่น 2300 MHz ของทีโอทีเพื่อให้บริการหมู่บ้านตามพื้นที่ชายขอบที่อยู่บนภูเขา จำนวน 3,920 แห่งซึ่งเรียกว่าเป็นพื้นที่รีโมท แอเลีย (โซน C)ที่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากว่าการลากสายไฟเบอร์ออฟติกและมีราคาถูกและคุ้มค่ากว่าการใช้ดาวเทียม

ประเด็นหลัก


นอกจากนี้โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(ยูโซ่)อีกจำนวน 15,732 แห่งโดยความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้นจากการหารือกับกสทช.มีความเป็นไปได้สูงที่กสทช.จะใช้ คลื่น 2300 MHz ของทีโอทีเพื่อให้บริการหมู่บ้านตามพื้นที่ชายขอบที่อยู่บนภูเขา จำนวน 3,920 แห่งซึ่งเรียกว่าเป็นพื้นที่รีโมท แอเลีย (โซน C)ที่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากว่าการลากสายไฟเบอร์ออฟติกและมีราคาถูกและคุ้มค่ากว่าการใช้ดาวเทียม




___________________________________________________________







"ดีอี" เข็นเน็ตหมู่บ้าน ดันแผนเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า พร้อมตั้งคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานให้ให้แล้วเสร็จตามกรอบดีอี ตั้งเป้าติดตั้ง 24,700 พร้อมให้บริการภายในปี’60 ฝาก 'ทีโอที' เตรียมดึงคลื่น 2.3 GHz ผสมไฟเบอร์ออฟติกใช้ในพื้นที่ห่างไกล

29 พ.ย.59 น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านว่า ภายในต้นเดือน ธ.ค.2559จะนำเสนอแผนงานตามความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มูลค่า 13,000 ล้านบาท เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อโดยเร็วโดยโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านความเร็วสูงของทีโอที จะไม่ต้องทำร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) และกระทรวงดีอีก็ได้ประกาศล้มการจัดซื้อจัดจ้างไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนต.ค.2559โดยทีโอทีจะเบิกจ่ายงบประมาณแทนกระทรวงดีอีเป็นเสมือน SI ( Systems Integrator : SI) โดยภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกระทรวงดีอีจะกำหนดกรอบการทำงานให้ทีโอท้ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายการติดตั้งทั้ง 24,700 แห่งเสร็จตามเป้าหมายปลายปี 2560

อย่างไรก็ตาม กระทรวงดีอี ได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบการทำงานที่กระทรวงดีอีกำหนด โดยมีนางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุลปลัดกระทรวงดีอี เป็นประธานซึ่งทีโอทีก็จะต้องดำเนินการตามกรอบซึ่งจะมีหน่วยงานที่ติดตามคอยตรวจสอบอยู่คู่ขนานกับคณะกรรมการตรวจสอบของกระทรวงดีอีด้วยเช่นกันทั้งในเรื่องของการใช้จ่ายซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาดูแลตรงจุดนี้ด้วย ทั้งนี้เชื่อว่าจะเริ่มดำเนินการได้ไม่เกินเดือนธ.ค.2559และเริ่มเปิดบริการได้ต้นปีหน้าก่อนจะครอบคลุมทั้ง 24,700 แห่งภายในสิ้นปี

ด้านนายมรกต เธียรมนตรีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจขายและบริการลูกค้าองค์กร ทีโอทีกล่วว่าทีโอทีนำเสนอแนวคิดในการเลือกอุปกรณ์ได้ว่าจะใช้ไฟเบอร์ออฟติกทั้งหมดหรือจะผสมผสานคลื่น 2300 เมกะเฮิร์ตซ (MHz) เข้าไปในพื้นที่ด้วยซึ่งมีความเป็นไปได้และทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของทีโอที ซึ่ง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรองนายกรัฐมนตรีและรักษาราชการแทนรัฐมนตรีกระทรวงดีอีท่านเป็นผู้ใหญ่และจะดูในภาพรวมซึ่งท่านจะไม่ลงลึกถึงขนาดในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีแต่ทุกอย่างจะต้องอยู่ในความเหมาะสมถูกต้องและโปร่งใสที่สุด

ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างแบบประกวดราคาทีโอทีก็จะทำเป็นล็อตๆ เช่น เคเบิลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก) อาจจัดประมูล 4-5 ล็อตเพราะจำนวนไฟเบอร์ออฟติดที่ใช้มีจำนวนเป็นแสนกว่ากิโลเมตรการที่ทีโอทีจะจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดแล้วค่อยเบิกเงินกับกระทรวงดีอีดูจะมีมูลค่ามากเกินไปและเสี่ยงเกินไปที่จะใช้จากผู้ผลิตรายเดียว

อย่างไรก็ตามเมื่อจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์เสร็จผู้ผลิตต้องใช้เวลาอย่างน้อย 45 วัน ถึงจะส่งมอบอุปกรณ์ได้โดยส่งมอบกระจายไปตามคลังสินค้าของทีโอทีที่อยู่ใกล้จุดที่จะวางระบบจากนั้นคาดว่าจะใช้เวลา 6-8 เดือนก็จะสามารถติดตั้งเสร็จสิ่งที่ทีโอทีต้องระวังมากที่สุดคือความโปร่งใสในการประมูล เพราะจะมีผู้ร่วมประมูลหลายรายอย่างไฟเบอร์ออฟติกก็น่าจะประมาณ 10 รายอุปกรณ์ชุมสาย (โหนด)อีก 4-5 รายดังนั้นต้องเขียนเงื่อนไขการประมูลให้รัดกุมและไม่ให้เกิดปัญหาการฮั้วกัน

นอกจากนี้โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(ยูโซ่)อีกจำนวน 15,732 แห่งโดยความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้นจากการหารือกับกสทช.มีความเป็นไปได้สูงที่กสทช.จะใช้ คลื่น 2300 MHz ของทีโอทีเพื่อให้บริการหมู่บ้านตามพื้นที่ชายขอบที่อยู่บนภูเขา จำนวน 3,920 แห่งซึ่งเรียกว่าเป็นพื้นที่รีโมท แอเลีย (โซน C)ที่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากว่าการลากสายไฟเบอร์ออฟติกและมีราคาถูกและคุ้มค่ากว่าการใช้ดาวเทียม

http://www.naewna.com/business/246971

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.