Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ TOT ขาดทุนต่อเนื่องมาจากรายได้จากค่าสัมปทานหายไป หลังจากสัญญาสัมปทานของ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส สิ้นสุดลง

ประเด็นหลัก




มีรายงานแจ้งว่า สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ ทีโอที ขาดทุนต่อเนื่องมาจากรายได้จากค่าสัมปทานหายไป หลังจากสัญญาสัมปทานของ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส สิ้นสุดลง

น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำโครงการอินเตอร์เนตหมู่บ้านว่า ภายในต้นเดือน ธันวาคม 2559 จะนำเสนอแผนงานตามความรับผิดชอบของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มูลค่า 13,000 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อโดยเร็ว

โดยโครงการอินเตอร์เนตหมู่บ้านความเร็วสูงของ ทีโอที จะไม่ต้องทำร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) หลังจากก่อนหน้านี้ โครงการมีปัญหา ทำให้ กระทรวงดีอีประกาศล้มการจัดซื้อจัดจ้างไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559

ทั้งนี้ ทีโอที จะเบิกจ่ายงบประมาณที่ดำเนินการตามโครงการนี้แทน กระทรวงดีอีเป็นเสมือนSI (Systems Integrator : SI) โดยภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกระทรวงดีอีจะกำหนดกรอบการทำงานให้ทีโอที ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายการติดตั้งทั้ง 24,700 แห่งเสร็จตามเป้าหมายปลายปี 2560




___________________________________________________________







แย้มผลประกอบการ “ทีโอที” คาดปีนี้ขาดทุนสุทธิ 14,037 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้วอยู่ที่ระดับพันล้าน ขณะที่กระทรวงดิจิทัลฯเตรียมเสนอโครงการ “เนตหมู่บ้าน”ดันแผนเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า

นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจขายและบริการลูกค้าองค์กร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลดำเนินการ ทีโอที ว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2559ทีโอที จะมีกำไรก่อนหักภาษี เพิ่มเป็นบวกในเดือนแรกของปี 2559 พร้อมคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานในสิ้นปีนี้จะขาดทุนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจาก ทีโอที มีการลดต้นทุนลง

โดยผลการดำเนินการที่ผ่านมาช่วง 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย. 2559) มีรายได้รวมแล้ว 25,000 ล้านบาทขาดทุนราว 11,000 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ทีโอที ขาดทุน 1,293 ล้านบาท ส่วนทั้งปีทีโอทีคาดจะมีรายได้ 37,459 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 14,037 ล้านบาท

ส่วนการเพิ่มรายได้ ล่าสุด ทีโอที ได้ลงนามกับ บริษัท แอดวานซ์ เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น จำกัดซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรม และระบบสื่อสารร่วมกันพัฒนาระบบ “สกาด้า” ใช้ประมวลผลข้อมูลจากอุปกรณ์ปลายทางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ ทีโอที ขาดทุนต่อเนื่องมาจากรายได้จากค่าสัมปทานหายไป หลังจากสัญญาสัมปทานของ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส สิ้นสุดลง

น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำโครงการอินเตอร์เนตหมู่บ้านว่า ภายในต้นเดือน ธันวาคม 2559 จะนำเสนอแผนงานตามความรับผิดชอบของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มูลค่า 13,000 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อโดยเร็ว

โดยโครงการอินเตอร์เนตหมู่บ้านความเร็วสูงของ ทีโอที จะไม่ต้องทำร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) หลังจากก่อนหน้านี้ โครงการมีปัญหา ทำให้ กระทรวงดีอีประกาศล้มการจัดซื้อจัดจ้างไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559

ทั้งนี้ ทีโอที จะเบิกจ่ายงบประมาณที่ดำเนินการตามโครงการนี้แทน กระทรวงดีอีเป็นเสมือนSI (Systems Integrator : SI) โดยภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกระทรวงดีอีจะกำหนดกรอบการทำงานให้ทีโอที ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายการติดตั้งทั้ง 24,700 แห่งเสร็จตามเป้าหมายปลายปี 2560

อย่างไรก็ดี กระทรวงดีอี ได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบการทำงานที่กระทรวงดีอีกำหนด โดยมีนางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุลปลัดกระทรวงดีอี เป็นประธานซึ่งทีโอทีก็จะต้องดำเนินการตามกรอบซึ่งจะมีหน่วยงานที่ติดตามคอยตรวจสอบอยู่คู่ขนานกับคณะกรรมการตรวจสอบของกระทรวงดีอีด้วยเช่นกันทั้งในเรื่องของการใช้จ่ายซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาดูแลตรงจุดนี้ด้วย ทั้งนี้เชื่อว่าจะเริ่มดำเนินการได้ไม่เกินเดือนธ.ค.2559 และเริ่มเปิดบริการได้ต้นปีหน้าก่อนจะครอบคลุมทั้ง 24,700 แห่งภายในสิ้นปี



http://www.naewna.com/business/246996

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.