Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 กสทช. ระบุ ทาง กสทช. จะไปตรวจสอบว่า เข้าข่ายขัดหลักเกณฑ์ที่ห้ามผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งถือครองทีวีดิจิตอลในหมวดเดียวกันมากกว่า 1 ช่อง ซึ่งในกรณีจึงต้องไปตรวจสอบดูว่าทั้งช่องวัน และช่องพีพีทีวี ที่อยู่ในหมวดช่องมาตรฐานความคมชัดสูง (เอชดี) เช่นเดียวกัน ขัดหลักเกณฑ์หรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้นทางช่องวันยังไม่ได้มีการแจ้งมายัง กสท. แต่อย่างใด

ประเด็นหลัก



1 ธ.ค.59 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ของกลุ่มปราสาททองโอสถ ซื้อหุ้นของ บริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่อง วัน 31 มูลค่า 1,905 ล้านบาท ส่งผลให้ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นช่องวันในอัตรา 50% โดยการดำเนินการดังกล่าว ตามข้อกำหนดของ กสทช. ช่องวันต้องส่งเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ของตนเองมาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ภายใน 30 วัน ขั้นจากนั้นทาง กสท. จึงมีการตรวจสอบว่า ทำได้หรือไม่ได้ โดยในกรณีของช่องวัน ที่มี บริษัท ประนันท์ภรณ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และช่องพีพีทีวี ที่มี บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ของกลุ่มปราสาททองโอสถ เป็นผู้หุ้นใหญ่เช่นเดียวกัน ทาง กสทช. จะไปตรวจสอบว่า เข้าข่ายขัดหลักเกณฑ์ที่ห้ามผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งถือครองทีวีดิจิตอลในหมวดเดียวกันมากกว่า 1 ช่อง ซึ่งในกรณีจึงต้องไปตรวจสอบดูว่าทั้งช่องวัน และช่องพีพีทีวี ที่อยู่ในหมวดช่องมาตรฐานความคมชัดสูง (เอชดี) เช่นเดียวกัน ขัดหลักเกณฑ์หรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้นทางช่องวันยังไม่ได้มีการแจ้งมายัง กสท. แต่อย่างใด





___________________________________________________________







1 ธ.ค.59 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ของกลุ่มปราสาททองโอสถ ซื้อหุ้นของ บริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่อง วัน 31 มูลค่า 1,905 ล้านบาท ส่งผลให้ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นช่องวันในอัตรา 50% โดยการดำเนินการดังกล่าว ตามข้อกำหนดของ กสทช. ช่องวันต้องส่งเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ของตนเองมาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ภายใน 30 วัน ขั้นจากนั้นทาง กสท. จึงมีการตรวจสอบว่า ทำได้หรือไม่ได้ โดยในกรณีของช่องวัน ที่มี บริษัท ประนันท์ภรณ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และช่องพีพีทีวี ที่มี บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ของกลุ่มปราสาททองโอสถ เป็นผู้หุ้นใหญ่เช่นเดียวกัน ทาง กสทช. จะไปตรวจสอบว่า เข้าข่ายขัดหลักเกณฑ์ที่ห้ามผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งถือครองทีวีดิจิตอลในหมวดเดียวกันมากกว่า 1 ช่อง ซึ่งในกรณีจึงต้องไปตรวจสอบดูว่าทั้งช่องวัน และช่องพีพีทีวี ที่อยู่ในหมวดช่องมาตรฐานความคมชัดสูง (เอชดี) เช่นเดียวกัน ขัดหลักเกณฑ์หรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้นทางช่องวันยังไม่ได้มีการแจ้งมายัง กสท. แต่อย่างใด

นายฐากร กล่าวว่า การซื้อหุ้นในครั้งนี้ คล้ายคลึงกับกรณีที่ บริษัท วัฒนภักดี จำกัด โดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี เข้าซื้อหุ้น บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) โดย กสทช. เห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทำ เพราะถือเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยจะได้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเพื่อผลิตเนื้อหาและดำเนินธุรกิจ ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นเป็นผลดีที่จะเกิดกับประชาชน นอกจากนี้เบื้องต้น กสทช. ยังเห็นว่า การซื้อหุ้นที่เกิดขึ้นทั้งสองกรณีไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์จึงสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ เชื่อว่า การหาพันธมิตรเพื่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มกิจการโทรทัศน์จะเกิดขึ้นอีกมาก

"เบื้องต้นผมเชื่อว่าการที่กลุ่มปราสาททองโอสถซื้อหุ้น เพื่อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ช่องวัน คงจะมีการศึกษาข้อกฎหมายมาดีแล้วว่าทำได้หรือไม่ได้ แต่ทาง กสทช. เองก็ต้องมีการตรวจสอบเพื่อความถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน" นายฐากร กล่าว



http://www.naewna.com/business/247188

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.