Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 TOT ระบุ เสนอแนวคิดในการเลือกสรรอุปกรณ์ได้ว่าจะใช้โครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก) ทั้งหมดหรือจะผสมผสานคลื่น 2300 MHz เข้าไปในพื้นที่ด้วยก็อาจมีความเป็นไปได้ ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของทีโอที

ประเด็นหลัก



16 พ.ย.59 นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน ว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย.59 ที่ผ่านมา ทีโอที ได้เข้าไปสรุปรายละเอียดของโครงการกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เบื้องต้นแล้ว สรุปว่าโครงการนี้ไม่มีทีโออาร์ เพราะกระทรวงประกาศล้มการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ต.ค. โดยทีโอทีทำหน้าที่เบิกจ่ายงบประมาณแทนกระทรวงดีอี เป็นเสมือน SI ( Systems Integrator : SI ) ซึ่งกระทรวงจะมีกรอบการทำงานว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายการติดตั้งทั้ง 24,700 แห่ง เสร็จตามเป้าหมายปลายปี 2560 ดังนั้นทีโอทีจึงสามารถเสนอแนวคิดในการเลือกสรรอุปกรณ์ได้ว่าจะใช้โครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก) ทั้งหมดหรือจะผสมผสานคลื่น 2300 MHz เข้าไปในพื้นที่ด้วยก็อาจมีความเป็นไปได้ ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของทีโอที





___________________________________________________________








ทีโอทีเคลียร์โปรเจคเน็ตหมู่บ้านกับกระทรวงดีอีฉลุย ชี้กระทรวงไม่จำกัดเทคโนโลยีแค่ไฟเบอร์ออปติกอย่างเดียว เปิดทางทีโอทีสามารถผสมผสานเทคโนโลยีคลื่น 2300 MHz เข้าไปได้ คาดมีผู้ร่วมประมูลมากกว่า 10 ราย โดยทีโอทีจะเปิดประมูลหลายล็อตเพื่อกระจายความเสี่ยง ย้ำทำโครงการเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงลบข้อครหาถูกมองเป็นองค์กรไม่โปร่งใส

16 พ.ย.59 นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน ว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย.59 ที่ผ่านมา ทีโอที ได้เข้าไปสรุปรายละเอียดของโครงการกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เบื้องต้นแล้ว สรุปว่าโครงการนี้ไม่มีทีโออาร์ เพราะกระทรวงประกาศล้มการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ต.ค. โดยทีโอทีทำหน้าที่เบิกจ่ายงบประมาณแทนกระทรวงดีอี เป็นเสมือน SI ( Systems Integrator : SI ) ซึ่งกระทรวงจะมีกรอบการทำงานว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายการติดตั้งทั้ง 24,700 แห่ง เสร็จตามเป้าหมายปลายปี 2560 ดังนั้นทีโอทีจึงสามารถเสนอแนวคิดในการเลือกสรรอุปกรณ์ได้ว่าจะใช้โครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก) ทั้งหมดหรือจะผสมผสานคลื่น 2300 MHz เข้าไปในพื้นที่ด้วยก็อาจมีความเป็นไปได้ ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของทีโอที

อย่างไรก็ตามการจัดซื้อจัดจ้างแบบประกวดราคาทีโอทีก็จะทำเป็นล็อตๆไป เช่น ไฟเบอร์ออปติก อาจต้องมีการจัดประมูล 4-5 ล็อต เพราะจำนวนไฟเบอร์ออปที่ใช้มีจำนวนเป็นแสนกว่ากิโลเมตร การที่ทีโอทีจะจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดแล้วค่อยเบิกเงินกับกระทรวงดูว่าจะมีมูลค่ามากเกินไปและเสี่ยงเกินไปที่จะใช้จากผู้ผลิตรายเดียว

ทั้งนี้ในวันที่ 16 พ.ย.ตนเองได้นำข้อเสนอต่างๆแจ้งให้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีดีอีทราบ และ นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ด้วย คาดว่าหลังจากโครงการนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในสัปดาห์หน้า และมีหนังสือแจ้งให้ทีโอทีทำอย่างเป็นทางการ โครงการก็จะเริ่มเดินหน้าได้ทันที

"ไอเดียของเรานี้ก็จะต้องแจ้งต่อคณะทำงาน 2 ชุดที่กระทรวงดีอีจะแต่งตั้งขึ้นด้วย ได้แก่ คณะกรอบการทำงาน และ คณะติดตามการทำงาน เพราะเราต้องการให้โครงการโปร่งใสมากที่สุด และคาดว่าจะมีคนร่วมประมูลหลายราย อย่างไฟเบอร์ออฟติกก็น่าจะประมาณ 10 ราย อุปกรณ์โหนดอีก 4-5 ราย ดังนั้นเราต้องเขียนเงื่อนไขการประมูลให้รัดกุมและไม่ให้เกิดปัญหาการฮั้วกัน เพื่อให้ผลงานของโครงการนี้เป็นโครงการชิ้นโบว์แดงของทีโอที เพื่อลบข้อครหาที่ทีโอทีถูกมองมาโดยตลอดด้วย"

ด้านนายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจขายและบริการลูกค้าองค์กร ทีโอที กล่าวว่า เมื่อจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์เสร็จผู้ผลิตต้องใช้เวลาอย่างน้อย 45 วัน ถึงจะส่งมอบอุปกรณ์ได้ ซึ่งต้องส่งมอบกระจายไปตามคลังสินค้าของทีโอทีที่อยู่ใกล้จุดที่จะวางระบบ จากนั้นคาดว่าจะใช้เวลาเพียง 6-8 เดือน ก็จะสามารถติดตั้งเสร็จ สิ่งที่ทีโอทีต้องระวังมากที่สุดคือความโปร่งใสในการประมูล



http://www.naewna.com/business/245072

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.